Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
CMCap
•
ติดตาม
10 มี.ค. 2023 เวลา 04:29 • หุ้น & เศรษฐกิจ
ตอนที่ 3
1. Outperform - กองทุนมีผลตอบแทนมากกว่าดัชนีชี้วัด
2. P/BV Ratio - อัตราส่วนราคาตลาดต่อมูลค่าตามบัญชี เป็นอัตราส่วนเปรียบเทียบราคาตลาดของหุ้นสามัญกับมูลค่าตามบัญชีของหุ้นนั้น ค่าอัตราส่วนนี้บอกให้ทราบว่าราคาหุ้น ณ ขณะนั้นสูงเป็นกี่เท่าของมูลค่าในทางบัญชีของหุ้นดังกล่าว หากมีค่าสูง เป็นการแสดงว่าผู้ลงทุนทั่วไปในตลาดคาดหมายว่าบริษัทดังกล่าวมีศักยภาพที่จะเติบโตสูง แต่ขณะเดียวกันก็แสดงถึงระดับความเสี่ยงที่สูงด้วย
3. P/E Ratio - อัตราส่วนเปรียบเทียบระหว่างราคาตลาดกับกำไรสุทธิของหุ้นสามัญ อัตราส่วนนี้เป็นตัวสะท้อนความถูกความแพงของหุ้นตัวนั้นๆ หุ้นที่มีค่า P/E ระดับสูง แสดงว่าผู้ลงทุนในตลาดยินดีจะจ่ายเงินลงทุนซื้อหุ้นดังกล่าวในราคาสูง เนื่องจากคาดหมายว่าผลกำไรของบริษัทผู้ออกหุ้นดังกล่าวจะขยายตัวในอัตราที่สูง
หุ้นที่มีค่า P/E สูงมักเป็นหุ้นของบริษัทที่มีอัตราการเติบโตสูงสำหรับหุ้นที่มีค่า P/E ต่ำ อาจจะเป็นหุ้นของกิจการที่อยู่ในธุรกิจอุตสาหกรรมที่มีอัตราการขยายตัวต่ำและเติบโตเต็มที่แล้ว หรืออาจจะอยู่ในธุรกิจที่ไม่ได้รับความนิยมแล้ว (หากเป็นกองทุนหุ้นก็จะใช้เป็นค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของหุ้นแต่ละตัวที่กองทุนถือ)
4. Producer Price Index (PPI) - ดัชนีราคาผู้ผลิต เป็นดัชนีราคาที่คํานวณขึ้นเพื่อใช้วัดการเปลี่ยนแปลงราคาสินค้าโดยเฉลี่ยที่ผู้ผลิตได้รับช่วงเวลาหนึ่ง เปรียบเทียบกับช่วงเวลา ณ ปีฐาน หรือก็คือใช้วัดแรงกดดันเงินเฟ้อที่มาจากฝั่งผู้ผลิต ทั้งนี้ PPI ที่ไม่รวมพวกอาหารและพลังงานจะเรียกว่า Core PPI ซึ่งจะถูกจับตามองมากกว่าเพราะจะมีผลกับอัตราเงินเฟ้อ เนื่องจาก PPI จะเป็นตัวที่ออกมาก่อน CPI หาก PPI มีค่าสูงมักจะทำให้ CPI มีค่าที่สูงตามไปด้วย
5. Purchasing Managers Index (PMI) - ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ เป็นดัชนีสะท้อนถึงภาวะการณ์การขยายตัวหรือหดตัวของภาพรวมของภาคการผลิตและบริการ (Manufacturing PMI และ Service PMI) โดยการสำรวจผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อในบริษัทเอกชนเกี่ยวกับ ยอดสั่งซื้อใหม่ ปริมาณสินค้าคงคลัง สายการผลิต การส่งสินค้าซัพพลาย และการจ้างงาน เป็นต้น
โดยปัจจุบันมี 2 สถาบันหลักที่จัดทำดัชนี PMI โดยในสหรัฐฯ จัดทำโดย ISM (Institute for Supply Management) ขณะที่กว่า 30 ประเทศทั่วโลกจัดทำโดย IHS Markit Ltd ส่วนประเทศจีนมีการจัดทำจากทั้งภาครัฐ และเอกชนโดยสถาบัน Caixin (Caixin Media Company Ltd)
6. Quantitative Easing (QE) - มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ เป็น รูปแบบหนึ่งของ "นโยบายทางการเงิน" รับผิดชอบโดยธนาคารกลางของแต่ละประเทศ โดยใช้รับมือกับปัญหาการชะลอตัวลงของกิจกรรมทางเศรษฐกิจโดยเฉพาะ วิธีการก็คือ ธนาคารกลางจะเข้าไปซื้อ "สินทรัพย์ทางการเงิน" ในปริมาณมหาศาล
โดยทั่วไปจะเป็นการซื้อสินทรัพย์ทางการเงินที่สถาบันการเงินต่างๆ ได้ฝากไว้กับธนาคารกลาง มักเป็นสินทรัพย์ประเภทตราสารหนี้ชนิดต่างๆ เช่น พันธบัตรรัฐบาล, หุ้นกู้ของบริษัทใหญ่ๆ เป็นต้น เมื่อธนาคารกลางรับซื้อสินทรัพย์ทางการเงินของธนาคารเอกชน ก็จะทำให้สินทรัพย์ทางการเงินดังกล่าวนั้นเปลี่ยนสภาพเป็น "เงินสด" ซึ่งหมายถึงธนาคารเอกชนก็จะมีเงินสดเตรียมไว้ปล่อยสินเชื่อให้นักธุรกิจได้ทันที จึงทำให้มาตร QE มีลักษณะเหมือนการ "อัดฉีด" หรือ "แจกเงินสด" นั่นเอง
7. QT (Quantitative Tightening) - เป็นการดึงเงินออกจากระบบทำให้สภาพคล่องลดลง เหตุผลก็คือ ชะลอเศรษฐกิจลงและหยุดเงินเฟ้อส่วน QE (Quantitative Easing) เป็นการเพิ่มเงินเข้าระบบทำให้ระบบมีสภาพคล่องเพิ่ม เหตุผลก็คือ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ เรามองว่า QT รอบนี้ เหมาะสมเพราะว่าเป็นการขึ้นสู้กับเงินเฟ้อและลดเงินที่ฉีดเข้าระบบไปรอบก่อน
8. Recession - ระยะถดถอย เป็นช่วงที่เศรษฐกิจเริ่มชะลอการขยายตัว หลังจากเจริญรุ่งเรืองอย่างเต็มที่ เงินเฟ้ออยู่ในระดับสูง ทิศทางการลงทุนมีแนวโน้มเป็นขาลง เป็นช่วงที่กิจกรรมทางเศรษฐกิจ ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) การจ้างงาน และ ความต้องการสินค้าโดยรวมลดลง ธุรกิจเริ่มขาดแคลนเงินทุนหมุนเวียน
9. Reflation - ระยะที่เศรษฐกิจถูกกระตุ้นโดยการอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบ หรือการปรับลดภาษีลงเพื่อให้เศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจกลับเข้าไปสู่เส้นการเติบโตในระยะยาวได้ โดยการอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบทำให้เงินเฟ้อเริ่มปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น
10. Stagflation - ภาวะเศรษฐกิจชะงักงันและเงินเฟ้อ เป็นคำที่เกิดจากการรวมตัวกันของคำว่า Stagnant ซึ่งหมายถึงเศรษฐกิจชะงักงัน และ Inflation ซึ่งหมายถึงเงินเฟ้อ หรือก็คือแนวโน้มทางเศรษฐกิจที่เงินเฟ้อและการว่างงานเพิ่มขึ้นในขณะที่การเติบโตทางเศรษฐกิจโดยทั่วไปช้า
มันอาจเป็นเรื่องยากที่จะแก้ไขแนวโน้มนี้เพราะการมุ่งเน้นไปที่ปัญหาด้านใดด้านหนึ่งอาจทำให้รุนแรงขึ้นในแง่มุมอื่นๆ รัฐบาลหลายแห่งพยายามหลีกเลี่ยงการถูกขัดขวางจากนโยบายการคลังโดยส่งเสริมให้มีการเติบโตอย่างสม่ำเสมอและมีสุขภาพดีและพยายามป้องกันภาวะเงินเฟ้อ หากเงื่อนไขยังคงดำเนินต่อไปนานพอจะทำให้เกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยและการแก้ไขตนเองขั้นสุดท้าย
11. Underperform - กองทุนมีผลตอบแทนน้อยกว่าดัชนีชี้วัด
12. Yield Curve - เส้นอัตราผลตอบแทน คือ เส้นที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างอัตราผลตอบแทน (YTM) กับอายุคงเหลือของตราสารหนี้ (Time to Maturity) โดยทุกๆ จุดบน Yield Curve จะแสดงอัตราผลตอบแทนตามอายุที่เหลือของตราสารหนี้
13. YoY (Year over year) - การเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว
14. YTD (Year to date) - ยอดสะสมตั้งแต่ต้นปี
การลงทุน
หุ้น
2 บันทึก
4
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
คำศัพท์ นักลงทุน
2
4
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย