17 มี.ค. 2023 เวลา 03:00 • สิ่งแวดล้อม

ภาวะโลกรวน ส่งผลกระทบอะไรบ้าง?

ทุกคนสังเกตกันมั้ยว่า ช่วงที่ผ่านมาอยู่ ๆ อากาศก็หนาวเย็นขึ้น ทั้ง ๆ ที่ไม่ใช่ฤดูหนาว หรือก่อนหน้านี้ “ฝุ่น PM 2.5” ก็กลับมาระบาดทั่วประเทศอีกครั้ง
ความแปรปรวนทั้งหมดนี้คือสัญญาณเตือนจาก “ภาวะโลกรวน” ที่กำลังส่งผลร้ายกับโลกของเรา ทำให้ทุกสิ่งมีชีวิตได้รับผลกระทบอย่างมหาศาล
ประเทศไทยถูกจัดอยู่ใน “อันดับที่ 9” ของโลก ที่มีความเสี่ยงต่อการได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศ เนื่องจากประสบปัญหาน้ำท่วมและน้ำแล้งสลับกันมาตลอด ซึ่งเป็นผลกระทบจากปรากฏการณ์เอลนีโญ (El Niño) และลานีญา (La Niña) จากรายงานของ Global Climate Risk Index (CRI) 2021
ปี 2554
เหตุการณ์น้ำท่วมครั้งใหญ่ในประวัติศาสตร์ไทย เกิดจากปรากฏการณ์ของ “ลานีญา” ทำให้ฝนตกเร็วและมากกว่าปกติ และมีพายุอีก 5 ลูกที่เข้ามาพร้อม ๆ กัน
ปี 2556
เกิดเหตุการณ์ “ภัยแล้งรุนแรง” ซึ่งเกิดจากปรากฏการณ์ “เอลนีโญ” ที่ก่อทำให้เกิดความเสียหายกว่า 3,000 ล้านบาทจากเหตุการณ์นี้
ปี 2563
เป็นปีที่แล้งเป็นอันดับ 2 ในรอบ 40 ปีของประวัติศาสตร์ไทย โดยสร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจมากถึง 10,000 ล้านบาท ไม่เพียงแค่นี้ ยังพบว่าพื้นที่ป่าไม้ที่ช่วยดูดซับก๊าซเรือนกระจกเพื่อชะลอการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกลับมีแนวโน้มลดลงเรื่อย ๆ เนื่องจากการบุกรุกป่าอย่างต่อเนื่อง
สถานการณ์ที่เกิดขึ้นในประเทศไทยเป็นเพียงส่วนหนึ่งของ “ภาวะโลกรวน” เท่านั้น ในประเทศอื่น ๆ ทั่วโลกก็ได้รับผลกระทบกับความแปรปรวนเหล่านี้เช่นกัน
3
✔️ ปลาในทะเลสาบตายจำนวนมากจากคลื่นความร้อนสูงรุนแรงในประเทศอินเดียและปากีสถาน ที่ร้อนสูงสุดถึง 49℃
✔️ การระบาดของโรคฝีดาษลิง ที่เกิดจากอุณหภูมิที่สูงขึ้น ทำให้เกิดพาหะนำโรคใหม่ ๆ
✔️ คนประมาณ 4-7.8 พันล้านคน มีน้ำไม่พอใช้อย่างน้อย 1 เดือน/ปี จากการเปลี่ยนแปลงในวัฏจักรของน้ำ
✔️ เขื่อนในรัฐอุตตราขันฑ์ ถูกทำลายด้วยการทะลักของก้อนน้ำแข็งที่ละลายอย่างต่อเนื่อง
จากสถานการณ์ความแปรปรวนที่เกิดขึ้นทั่วโลก สาเหตุหลักมาจากผลกระทบจากสภาพภูมิอากาศและภาวะโลกร้อน อาจจะถึงเวลาแล้วที่เราต้องเริ่มตระหนักถึงปัญหา มาร่วมกันปรับเปลี่ยนพฤติกรรมใหม่ ไปด้วยกันกับเรา โดยเอไอเอได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง พร้อมเดินหน้าเป็นผู้นำด้าน ESG (Environment, Social and Governance)
เพื่อสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล ผ่านนโยบายและโครงการต่าง ๆ เช่น นโยบายส่งเสริมการลงทุนในธุรกิจที่มั่นใจว่าจะสนับสนุนการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net - Zero Commitment)
1
การพัฒนาและก่อสร้างอาคารตามมาตรฐานอาคารสีเขียว (Green Building) การรณรงค์เพื่อลดการใช้กระดาษ (Paperless) รวมถึงโครงการ "เอไอเอ แชร์ริ่ง อะไลฟ์" ครั้งที่ 9 ภายใต้แนวคิด "แชร์ริ่ง กรีน สเปซ" เพื่อมอบพื้นที่สีเขียว ผ่านการปลูกต้นไม้ตามสวนสาธารณะและพื้นที่ต่าง ๆ พร้อมกันทั่วประเทศเมื่อปีที่ผ่านมา เพราะเราเชื่อมั่นว่าด้วยพลังเล็ก ๆ ของทุกคน จะร่วมกันเปลี่ยนแปลงเพื่อให้โลกยังคงน่าอยู่สำหรับพวกเราตลอดไป
ขอบคุณข้อมูล สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
ติดตาม Community AIA Thailand ได้ที่ https://www.blockdit.com/topics/6322a4b8ae66c7433c8d5007
โฆษณา