10 มี.ค. 2023 เวลา 13:00 • หนังสือ

กฎแห่งแรงสั่นสะเทือน

จักวาลตอบรับต่อแรงสั่นสะเทือนของคุณ
โดยจะย้อนพลังงานใดๆก็ตามที่ปล่อยออกมาคืนสู่ตัวคุณ
เว็กซ์ คิงส์
นอกเหนือจากกฎแห่งแรงดึงดูดแล้วยังมีกฎแห่งแรงสั่นสะเทือนด้วยซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญเพื่อการมีชีวิตที่ดีกว่า เมื่อคุณเรียนรู้และนำไอเดียของกฎนี้ไปใช้ ชีวิตจะเปลี่ยนไป อาจไม่ถึงขึ้นหลีกเลี่ยงความยากลำบากทั้งหมดได้ แต่ก็จะรู้จักค้นหาวิธีควบคุมและสร้างชีวิตที่ดีเท่าที่จะดีได้นั่นแหละ
นักเขียนหนังสือแนวพัฒนาตนเองรุ่นแรกๆ ก็คือ นโปเลียน ฮิลล์ผู้เขียนหนังสือ คิดแล้วรวย (Think and Grow Rich) ซึ่งตีพิมพ์ในปี 1937 และยังเป็นหนังสือขายดีตลอดกาลที่บรรดากูรูด้านธุรกิจต่างยกย่องเคล็ดลับที่นำไปสู่ผลสำเร็จของเขา ฮิลล์สัมภาษณ์คนที่ประสบความสำเร็จ 500 คนเกี่ยวกับวิธีการที่พวกเขาใช้เพื่อบรรลุผลลัพธ์ และยังถ่ายทอดภูมิปัญญาที่ได้จากคนเหล่านั้นลงในหนังสือเล่มนี้
บทสรุปหนึ่งที่เขาค้นพบคือ "เราเป็นอย่างที่เป็น เนื่องจากการสั่นสะเทือนของความคิดที่เราเลือกและบันทึกไว้ผ่านการกระตุ้นของสิ่งแวดล้อมในชีวิตประจำวัน" ฮิลล์อ้างอิงถึงกรอบความคิดเรื่อง "แรงสั่นสะเทือน"ไว้มากมายในหนังสือของเขา และคุณก็จะเห็นคำว่า "แรงสั่นสะเทือน"
(เดี๋ยวนี้มักเรียกกันว่า"ความรู้สึก" แทน) หลายหนในหนังสือของผมด้วย
อย่างไรก็ตาม หนังสือของฮิลล์ฉบับปรับปรุงครั้งหลังๆจำนวนมากก็ตัดคำว่า "สั่นสะเทือน" ออก บางทีผู้ตีพิมพ์อาจไม่เชื่อว่ากรอบความคิดของฮิลล์เหมาะกับโลกตอนนี้ แม้ปัจจุบันกฎของอภิปรัชญาเกี่ยวกับแรงสั่นสะเทือนยังเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ เพราะขาดหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ถึงกระนั้นก็ยังมีคนพยายามอธิบายกฎแห่งแรงสั่นสะเทือน ดร.บรูซ ลิปตัน นักวิทยาศาสตร์ และเกร็ก แบรเดน นักเขียน ก็เป็นกลุ่มแนวหน้าที่พยายามเชื่อมโยงช่องว่างระหว่างวิทยาศาสตร์และความเชื่อทางจิตวิญญาณ
มุมมองของพวกเขาที่ว่าความคิดส่งผลกระทบต่อชีวิตเราอย่างไรสนับสนุนมุมมองที่กฎแห่งแรงสั่นสะเทือนกล่าวไว้ แม้บางคนจะเชื่อมั่นมากว่านี่เป็นแค่วิทยาศาสตร์เทียมยุคใหม่ก็ตาม
อย่างไรก็ตาม ผมคนหนึ่งละที่พบว่ากฎแห่งแรงสั่นสะเทือนตอบรับอย่างลึกซึ้งต่อตัวผม และช่วยให้เข้าใจชีวิตดีขึ้น เชื่อว่าหลายคนก็ค้นพบเช่นเดียวกัน ผมได้เห็นความเปลี่ยนแปลงอันน่าอัศจรรย์ที่เกิดขึ้นจากการใช้กฎแห่งแรงสั่นสะเทือน และไม่ว่าคุณจะเชื่อกฎนี้หรือไม่ ก็จะได้เรียนรู้ กฎแห่งแรงสั่นสะเทือนไม่ได้เป็นพิษเป็นภัย บางครั้งประสบการณ์โดยตรงก็มีค่ายิ่งกว่าข้อมูลที่วัดได้ด้วยตัวเลขหรือกราฟเสียอีก
โฆษณา