11 มี.ค. 2023 เวลา 01:57 • การเมือง

จับตามอง “สมัย 3 สี จิ้นผิง” ความสัมพันธ์ระหว่าง “รัสเซีย” “อเมริกา”

10 มีนาคม พ.ศ. 2566: “เป็นไปตามคาดหมาย” สี จิ้นผิง ได้รับเลือกดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีจีนสมัยที่ 3 เป็นที่เรียบร้อย หลังสมาชิกสภาประชาชนแห่งชาติ (NPC) [รัฐสภาของจีน] ทั้งหมด 2,952 คน ลงคะแนนเสียงเป็นเอกฉันท์ให้เขาได้ไปต่อ ทำให้ “สี จิ้นผิง” จะดำรงตำแหน่งผู้นำของจีนต่อไปอีก 5 ปี และอาจนานกว่านั้นหากในอนาคตไม่มีคู่แข่งปรากฏตัว
ทำให้ “สี จิ้นผิง” กลายเป็นประธานาธิบดีที่ดำรงตำแหน่งยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์จีนสมัยใหม่ หลังจากมีการเปลี่ยนบทบัญญัติการปกครองจีนเมื่อห้าปีก่อน เพื่อยกเลิกข้อจำกัดที่ว่าประธานาธิบดีจีนสามารถดำรงตำแหน่งได้เพียง 2 สมัยเท่านั้น
เครดิตภาพ: Xinhua
  • ท่าทีของ “รัสเซีย”
เครดิตภาพ: Illustration: Craig Stephens/SCMP
  • 10 มีนาคม พ.ศ. 2566 เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา หลัง “สี จิ้นผิง” ได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีจีนสมัย 3 ตามคาด ประธานาธิบดีรัสเซีย “วลาดิเมียร์ ปูติน” ได้ส่งข้อความแสดงความยินดีกับ สี จิ้นผิง ในการนี้ พร้อมชื่นชมความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นขึ้นระหว่างสองประเทศ โดยออกเป็นคำถ้อยแถลงอย่างทางการ เผยแพร่โดยเครมลิน ใจความดังนี้
...
เรียน สหายที่รัก
โปรดรับการแสดงความยินดีอย่างจริงใจในโอกาสที่คุณได้รับเลือกเข้ารับตำแหน่ง [ประธานาธิบดีของจีน] อีกครั้ง
“รัสเซียให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมส่วนตัวของคุณในการเสริมสร้างความสัมพันธ์… และความร่วมมือเชิงกลยุทธ์ระหว่างประเทศของเรา”
“ผมมั่นใจว่าการทำงานร่วมกันระหว่างเรา จะรับประกันการพัฒนาความร่วมมือ รัสเซีย-จีน ซึ่งประสบผลสำเร็จในด้านต่างๆ ทุกด้าน เราจะยังคงประสานงานการทำงานร่วมกันในประเด็นระดับภูมิภาคและระหว่างประเทศที่สำคัญที่สุด”
อ้างอิงคำถ้อยแถลงของ “ปูติน” ถึง “สี จิ้นผิง” เผยแพร่โดยเครมลิน ตามลิงก์ด้านล่าง
“จีน” ได้กลายเป็นพันธมิตรทางการเมืองและเศรษฐกิจที่สำคัญของ “รัสเซีย” หลังจากเริ่มสงครามในยูเครน ทำให้รัสเซียถูกคว่ำบาตรและโดดเดี่ยวจากชาติตะวันตก
ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา “ปูติน” และ ”สี จิ้นผิง” ได้กล่าวถึงความเป็นหุ้นส่วนแบบ “ไร้ขีดจำกัด” ระหว่างประเทศของตน จุดประสงค์เพื่อเป็นการถ่วงดุลอำนาจเหนือโลกของสหรัฐฯ ฟังเกี่ยวกับเรื่องราวของความสัมพันธ์นี้ผ่านทางรายการพอดแคสต์ The Take ของ Al Jazeera ได้ที่ลิงก์ด้านล่างนี้
ในขณะเดียวกัน จีนกำลังกระชับความสัมพันธ์กับรัสเซีย ผ่านขั้วอำนาจใหม่หรือกลุ่มประเทศที่เรียกว่า BRICS และ Global South
1
เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2023 “วลาดิเมียร์ ปูติน” ยกย่องเรื่อง “พรมแดนใหม่” ในความสัมพันธ์กับปักกิ่ง ระหว่างการเยือนกรุงมอสโกของนักการทูตระดับสูงของจีน “หวัง อี้” และส่งสัญญาณว่าเขาคาดว่า “สี จิ้นผิง” จะมาเยือนรัสเซียเร็วๆ นี้ ถ้อยแถลงของประธานาธิบดีรัสเซียกระตุ้นให้กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ไม่พอใจในสิ่งที่เรียกว่าแนวร่วมที่มากขึ้นระหว่างจีนและรัสเซีย
  • ท่าทีของ “อเมริกา”
เครดิตภาพ: Illustration: Craig Stephens/SCMP
แม้จะยังคงมีความสัมพันธ์กันทางเศรษฐกิจกันอยู่ แต่ “อเมริกา” และ “จีน” ก็มีความขัดแย้งกันในหลายๆ ประเด็น โดยวอชิงตันยั่วยุปักกิ่งอย่างเปิดเผยด้วยการยกระดับความช่วยเหลือทางทหารแก่ไต้หวันและแทรกแซงกิจการภายในอื่นๆ ของจีน ไม่ว่าเป็น “ฮ่องกง” “ซินเซียง” และ “ทะเลจีนใต้”
หรือล่าสุดเมื่อเดือนที่แล้ว “อเมริกา” (บลิงเคน) เตือน “จีน” ว่าอย่าส่งอาวุธไปช่วย “รัสเซีย” ในสงครามยูเครนเป็นอันขาด อ้างอิง: https://apnews.com/article/russia-ukraine-putin-politics-antony-blinken-xi-jinping-4501b49359d73b6efbac87b2af54f189
เมื่อปีก่อน “ไบเดน” ยังได้เพิ่มแรงกดดันต่ออุตสาหกรรมไฮเทคของจีน เช่น การแบน TikTok บนอุปกรณ์ที่มอบให้เจ้าหน้าที่รัฐของอเมริกา หรือความพยายามที่จะแยกจีนออกจากเทคโนโลยีเซมิคอนดักเตอร์ที่ล้ำสมัย
อุตสาหกรรมของจีนและอเมริกา มีความเกี่ยวพันกันมานานแล้ว โดยจีนได้ประโยชน์จากห่วงโซ่อุปทานทางเทคโนโลยีอย่างมหาศาล เนื่องจากมีปริมาณแร่ Rare earth จำนวนมาก
  • “จีน” ไม่เพียงแต่มีแหล่งแร่สำรองที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งเท่านั้น แต่ยังเป็นแหล่งผลิตแร่ Rare earth ประมาณ 85% ของโลกอีกด้วย จากการสำรวจทางธรณีวิทยาของอเมริกาในปี 2022 โดยข้อมูลที่บันทึกระหว่างปี 2017 ถึง 2020 อเมริกานำเข้า rare earth จากจีนมากถึง 78% ตามมาด้วยเอสโตเนีย (6%) มาเลเซีย (5%) และญี่ปุ่น (4%) นอกจากนี้แผงวงจรราคาถูกที่ผลิตในจีนยังถูกใช้ในอุปกรณ์ไฮเทคต่างๆของอเมริกา
2
ซึ่งหาก “อเมริกา” ต้องการทำจริงเพื่อหวังกีดกันจีน เพื่อลดการพึ่งพิงห่วงโซ่อุปทานสำหรับอุปกรณ์ไฮเทคของอเมริกาเอง ก็เท่ากับว่า “ทำร้ายตัวเอง” แม้แต่บริษัทเซมิคอนดักเตอร์ของไต้หวัน TSMC ก็มีความกังวลเกี่ยวกับการลงทุนในโรงงานหล่อโลหะในรัฐแอริโซนา เพราะการลงทุนส่วนใหญ่ของพวกเขาอยู่ในจีนแผ่นดินใหญ่
1
อ้างอิง:
ล่าสุดเมื่อ 9 มีนาคม ที่ผ่านมา “ไบเดน” ได้เสนอให้มีการเพิ่มงบประมาณด้านกลาโหมของปี 2024 เพิ่มขึ้นจากปี 2023 มากกว่า 3% [จาก 7.73 แสนล้านดอลลาร์ ในปี 2023 เป็น 8.42 แสนล้านดอลลาร์ในปี 2024] เพื่อรับมือการความตึงเครียดที่เพิ่มขึ้นจาก “จีน” “รัสเซีย”
อย่างไรก็ตามผู้เชี่ยวชาญบางคนไม่เชื่อว่า อเมริกากำลังจะใช้กำลังทหารกดดันจีน
Thomas W. Pauken II ผู้เขียนหนังสือชื่อ US vs China: From Trade War to Reciprocal Deal ที่ปรึกษาด้านกิจการเอเชีย-แปซิฟิก และนักวิจารณ์ด้านภูมิรัฐศาสตร์ กล่าวกับ Sputnik ว่า
  • “อาจเป็นแรงกดดันอย่างท่วมท้นทางการเมืองมากกว่า แต่ผมไม่คิดว่ากองทัพจะเข้ากดดันจีน ผมไม่เห็นว่า “ไบเดน” เป็นประธานาธิบดีที่แข็งแกร่ง เขาจะเสริมกำลังทางทหารมากกว่าในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก แต่ผมไม่คิดว่าเขากำลังพยายามยุยงให้เกิดสงครามกับจีน”
  • “ดังนั้นการกีดกันจีนส่วนใหญ่จะเป็นไปในเชิงเศรษฐกิจ การทูต และการเมือง แต่ในขณะเดียวกัน นี่อาจเป็นปีที่เลวร้ายยิ่งกว่าสำหรับความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองประเทศ เพราะดูเหมือนว่าทั้งสองฝ่ายจะหยุดดูท่าทีอยู่ในขณะนี้ และไม่แสดงความรู้สึกของการประนีประนอมหรือเต็มใจที่จะแสดงการผ่อนปรนใดๆ”
  • ผู้เชี่ยวชาญของปักกิ่งกล่าวว่า ชาวจีนยังไม่กังวลเกี่ยวกับความมุ่งมั่นทางทหารของไบเดนในจีน แม้ว่าพวกเขาจะต่อต้านการขยายกำลังทางทหารของวอชิงตันในเอเชียแปซิฟิกอย่างเห็นได้ชัดก็ตาม ถึงกระนั้นเมื่อพิจารณาจากการจัดการวิกฤตยูเครนของอเมริกาแล้ว วอชิงตันยังไม่พร้อมสำหรับความขัดแย้งทั่วไปในวงกว้าง
  • “ถ้าคุณมองอย่างใกล้ชิด เช่น คลังอาวุธและกระสุนที่เพนตากอนเข้าถึงได้ และความสามารถของบริษัทอาวุธของอเมริกา ในการผลิตอาวุธและกระสุนจำนวนมากขึ้น นั่นไม่ใช่เรื่องง่ายเลยที่จะทำในตอนนี้ พวกเขาได้ส่งอาวุธและคลังเหล่านี้จำนวนมากส่งไปยังยูเครน และจากที่ผมได้ยินมา คลังอาวุธเหล่านี้ในอเมริกาเองเริ่มจะหมดลง เป็นเรื่องยากสำหรับพวกเขาที่จะเร่งผลิตให้ทันตามความต้องการ”
  • “ลองดูสงครามตัวแทนในยูเครนและวิธีที่พวกเขาส่งเงินกว่า 1 แสนล้านดอลลาร์ไปให้ยูเครน พวกเขาจะไม่แม้แต่จะตรวจสอบเส้นทางการเงินที่เข้าไปที่นั่น เพราะกลัวคนจะรู้ว่าเงินไปอยู่ที่ไหน ขณะเดียวกันอาวุธจำนวนมากก็ถูกส่งไปยังยูเครน ดังนั้นสิ่งที่ผมยกประเด็นก็คือ อเมริกาและตะวันตกนั้นดุดันมาก แต่พวกเขาไม่ได้ดุดันอย่างฉลาด”
2
  • ดังนั้น “จีน” ไม่ต้องทำอะไรในสถานการณ์ดังกล่าว ดั่งมีคำกล่าวโบราณที่ผมเคยได้ยินจากคนจีนที่กล่าวว่า “เมื่อศัตรูของคุณทำตัวโง่เขลา อย่าพูดอะไรเพื่อหยุดเขา” เมื่อพิจารณาเช่นนี้ ไม่น่าเป็นไปได้ที่ปักกิ่งจะใช้การตอบโต้ทางทหารต่อการยั่วยุของวอชิงตันในเร็วๆนี้
4
เรียบเรียงโดย Right SaRa
11th Mar 2023
  • เครดิตภาพปก:
บน - Sputnik / Sergey Guneev
กลาง - Saul Loeb/AFP via Getty Images; Mikhail Svetlov/Getty Images; Rebecca Zisser/Insider
ล่าง - Paul J Richards/AFP/Getty Images
โฆษณา