11 มี.ค. 2023 เวลา 10:32 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี

ประเภทน้ำยาแอร์กับระบบปรับอากาศรถยนต์

อีกไม่ถึงเดือนประเทศไทยของเรา กำลังจะเข้าสู่หน้าร้อนอย่างเต็มตัวแล้วนะคะ อย่างที่เราทุกคนทราบกันดีว่าความร้อน และแสงแดดนั้นส่งผลต่อระบบปรับอากาศอย่างหนัก
การเดินทางด้วยรถยนต์ในระยะทางไกล จำเป็นต้องตรวจเช็คหลายส่วนเพื่อความปลอดภัย รวมไปถึงส่วนของระบบปรับอากาศ และน้ำยาแอร์ในรถยนต์อีกด้วย เพราะหากไม่มีระบบนี้ อากาศจะไม่สามารถหมุนเวียนอากาศเย็นได้ทั่วห้องโดยสารรถของคุณ
ตั้งแต่มีการกำเนิดเครื่องปรับอากาศขึ้น และมีการเผยแพร่ไปอย่างรวดเร็ว ก็ได้เริ่มมีการพัฒนานำไปใช้ในงานด้านอื่นๆ จนกระทั่งเมื่อปีค.ศ. 1933 ระบบปรับอากาศได้ถูกนำมาประยุกต์ใช้ภายในรถยนต์ โดยฝีมือของกลุ่มนักพัฒนาจากบริษัท Packard โดยเริ่มจากรูปแบบของการติดตั้งเพิ่มเข้าไปในภายหลัง หลังจากที่รถยนต์ถูกผลิตออกมาแล้ว
• เครื่องปรับอากาศในรถยนต์ของคุณทำงานอย่างไร ?
ระบบปรับอากาศในรถยนต์ประกอบด้วยอุปกรณ์ดังต่อไปนี้
• คอมเพรสเซอร์ (Compressor)
• คอนเด็นเซอร์ (Condenser)
• รีซีพเวอร์ดรายเออร์ (Receiver Drier)
• เอ็กซ์แพนชั่นวาล์ว (Expansion Valve)
• อีวาโพเรเตอร์ (Evarporator)
และยังประกอบด้วยท่อฝั่งทางดูด (Suction Line) ท่อทางอัด (Discharge Line) และท่อน้ำยา (Liquid Line) อีกด้วย
• หลักการทำงานของระบบปรับอากาศรถยนต์
อุปกรณ์ระบบทำความเย็นที่กล่าวไป ทุกส่วนมีการทำงานที่เชื่อมต่อกัน ตั้งแต่ คอมเพรสเซอร์ (Compressor) จะรับแรงส่งจากเครื่องยนต์ ไปปั่นก๊าซที่เป็นสารทำความเย็นด้วยความดันสูงทำให้เกิดการควบแน่นขึ้น
หลังจากนั้นจึงจะนำไปทำให้กลับมาในสภาพของเหลวอีกครั้งด้วยการระบายความร้อนออกที่คอยล์ร้อน ก่อนนำมากำจัดสิ่งสกปรกพร้อมปรับอุณหภูมิที่ถังพักน้ำยาแอร์และวาลว์ปรับความดันตามลำดับ
จนถึงขั้นตอนสุดท้ายท้ายที่ส่งน้ำยาแอร์ที่มีอุณหภูมิต่ำไปยังคอยล์เย็น ที่จะนำส่งความเย็นไปยังพัดลมและเปลี่ยนเป็นลมเย็นภายในห้องโดยสาร ส่วนความร้อนในห้องโดยสารที่ถูกดูด และตีกลับมาเพื่อนำไปผลิตน้ำยาแอร์ในวงจรซ้ำอีกครั้ง
• สัญญาณสารทำความเย็นอยู่ในระดับต่ำ
1. เครื่องปรับอากาศกำลังเป่าลมอุ่น หรือลมร้อน : เกิดจากระดับสารทำความเย็น หรือน้ำยาแอร์อยู่ในเกณฑ์ต่ำ ระบบปรับอากาศในรถยนต์ของคุณทำงานโดยการหมุนเวียนสารทำความเย็นที่มีแรงดันนี้ เมื่อปริมาณลดลงต่ำเกินไป ก็จะส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงาน
2. ฟังเสียงคลัตช์ระบบปรับอากาศ : ปกติแล้วหากเริ่มเปิดเครื่องปรับอากาศรถยนต์ คุณจะได้ยินเสียง 'คลิก' เบาๆ ซึ่งแสดงว่าคลัตช์ทำงานปกติ หากระดับสารทำความเย็นต่ำเกินไป คลัตช์จะไม่ทำงาน ซึ่งหมายความว่ามีสารทำความเย็นไม่เพียงพอให้คอมเพรสเซอร์สร้างแรงดัน
3. การรั่วไหลของสารทำความเย็นที่มองเห็นได้ : การรั่วที่มองเห็นได้ของสารทำความเย็น มักปรากฏใต้ฝากระโปรงหน้ารอบๆ คอมเพรสเซอร์ ภายในห้องโดยสาร หรือใต้ท้องรถของคุณ
ช่างเทคนิคผู้เชี่ยวชาญจะทำการตรวจสอบแรงดันของระบบด้วยมาตรวัด หากพบรอยรั่ว ช่างจะซ่อมแซมรอยรั่วก่อนที่จะเติมสารทำความเย็นใหม่ นอกจากนี้ หากชิ้นส่วนเครื่องปรับอากาศในรถยนต์ของคุณถูกแยกส่วนหรือปรับเปลี่ยน เพื่อให้เครื่องปรับอากาศมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน
ช่างเทคนิคจะตรวจสอบให้แน่ใจว่าระบบไม่มีอากาศและความชื้นในบรรยากาศทั้งหมดก่อนที่จะทำการชาร์จใหม่
ข้อเสียของสารทำความเย็นในรถยนต์เป็นสารเคมีที่ระเหยง่าย จำเป็นต้องมีเครื่องมือพิเศษในการบริการระบบปรับอากาศของรถยนต์ เพื่อให้สามารถดักจับและรีไซเคิลสารทำความเย็นเก่าได้ เพื่อไม่ให้เกิดการทำลายชั้นโอโซน ที่มีส่วนทำให้โลกร้อน
หากต้องการตรวจเช็คระบบปรับอากาศในรถยนต์ของคุณในหน้าร้อนนี้ หรือสงสัยว่าระบบปรับอากาศรถยนต์กำลังมีปัญหาในการทำงาน ซึ่งอาจจำเป็นต้องเติมน้ำยาแอร์รถยนต์ แต่เนื่องจากสารทำความเย็นของระบบปรับอากาศรถยนต์มี 3 ประเภทที่แตกต่างกัน และไม่สามารถผสม หรือใช้สลับกันได้
เจ้าของรถจำเป็นต้องอ่านคู่มือเพื่อดูว่ารถของคุณใช้สารทำความเย็นชนิดใด ก่อนที่จะนำระบบเข้ารับบริการ แล้วรถยนต์ของคุณใช้สารทำความเย็นแบบไหน ?
• 3 ประเภทน้ำยาแอร์สำหรับรถยนต์
𝗥-𝟭𝟮 : สำหรับรถยนต์ที่ผลิตก่อนปี 1995
แม้จะมีรถรุ่นเก่าบางรุ่นที่ยังใช้น้ำยา R-12 อยู่ แต่ในปัจจุบันได้รับการสนับสนุนให้ติดตั้งเครื่องปรับอากาศด้วยระบบ R134a แทนที่ เนื่องจากสารทำความเย็น R-12 ถูกระบุว่าเป็นสาเหตุของปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เพิ่มขึ้น ในช่วงทศวรรษที่ 1980
R12
เพราะส่วนประกอบของ R-12 เป็นประเภทคลอโรฟลูออโรคาร์บอน (CFCs) ที่สร้างความเสียหายให้กับชั้นโอโซน ในพิธีสารมอนทรีออลปี 1987 ได้กำหนดยุติการใช้อย่างเป็นทางการในปี 1993 สำหรับผู้ผลิตยานยนต์ยุติการการผลิตรถยนต์ที่ใช้สารทำความเย็น R-12 ภายในปี 1994
𝗥𝟭𝟯𝟰𝗮 : สำหรับรถยนต์ที่ผลิตระหว่างปี 1995-2021
ในปี 1990 R134a หรือ HFC-134A ถูกนำมาเป็นทางเลือกแทนน้ำยา R-12 ดังนั้นยานพาหนะส่วนใหญ่ที่พบเห็นบนท้องถนนในปัจจุบันใช้ R134a ในระบบปรับอากาศรถยนต์
น้ำยา R134a
รถยนต์เกือบทุกคันที่ผลิตตั้งแต่ปี 1994 ติดตั้งสารทำความเย็น R134 ซึ่งได้รับเลือกเนื่องจากมีการติดไฟต่ำและปลอดภัย รวมทั้งเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
𝗥𝟭𝟯𝟰𝗮 เป็นสารทำความเย็น HFC (ไฮโดรฟลูออโรคาร์บอน) แม้ว่าจะไม่ก่อให้เกิดการเสื่อมสภาพของโอโซนเช่นเดียวกับ R-12 แต่ก็เป็นสารทำความเย็นที่มีความเสี่ยงต่อสิ่งแวดล้อมในส่วนของ ค่าศักยภาพในการทำให้เกิดภาวะโลกร้อน (Global Warming Potential: GWP) มากกว่า 1300
เมื่อไม่นานมานี้มีสารทำความเย็นรุ่นใหม่อย่าง R1234YF ที่มีค่า GWP <1 ที่ถูกพัฒนาเพื่อมาแทนที่สารทำความเย็น 𝗥𝟭𝟯𝟰𝗮 ดังนั้นสารทำความเย็น R134a จะถูกยุติการใช้โดยสิ้นเชิง โดยเริ่มจากรถยนต์ยุโรปที่ผลิตหลังปี 2016 ที่ผ่านมา และรถยนต์ในสหรัฐอเมริกาทุกคันที่ผลิตหลังปี 2021
More Info 𝗢𝗥𝗔𝗙𝗢𝗡 𝗥-𝟭𝟯𝟰𝗮 : https://www.coldersolution.co.th/products/air-liquid/orafon-r-134
𝗥𝟭𝟮𝟯𝟰𝗬𝗙 : รถยนต์ที่ผลิตตั้งแต่ปี 2021
𝗥𝟭𝟮𝟯𝟰𝗬𝗙 เป็นสารทำความเย็นประเภท Hydrofluoroolefins (HFO) ซึ่งเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่าสารทำความเย็นทั้ง 2 รุ่นก่อนหน้านี้อย่างมาก
R1234yf
ตามที่กล่าวไว้ข้างต้น สารทำความเย็นนี้ถูกเริ่มใช้ในระบบปรับอากาศของรถยนต์ในยุโรปและสหรัฐอเมริกาเรียบร้อยแล้ว แต่มีผู้ผลิตรถยนต์หลายรายเปลี่ยนเร็วกว่าที่กำหนด เราอาจจะได้พบอาจ R-1234YF ในรถยนต์ตั้งแต่รุ่นปี 2014 ด้วยซ้ำ
More Info 𝗖𝗵𝗲𝗺𝗼𝘂𝗿𝘀 𝗥-𝟭𝟮𝟯𝟰𝗬𝗙 : https://www.coldersolution.co.th/products/air-liquid/orafon-r-1234-yf
ในปัจจุบันยานพาหนะรุ่นใหม่ๆ แทบไม่ต้องเติมสารทำความเย็น เพราะระบบทำความเย็นในรถยนต์ถูกออกแบบมาในรูปแบบระบบปิด แต่อาจจะต้องมีการเติมเพิ่มในกรณีที่พบการรั่วไหลในระบบ HVAC ของรถ ซึ่งเกิดได้จากอุบัติเหตุที่ทำให้ระบบปรับอากาศเสียหาย หรือใช้งานหลายปี
เนื่องจากระบบแอร์รถยนต์มีส่วนประกอบมากชิ้น รวมไปถึงข้อต่อ ที่มีเยอะกว่าระบบแอร์บ้านเป็นอย่างมาก การทำงานของแอร์รถยนต์มีการเคลื่อนไหว หรือเขย่าตลอดเวลา นานวันเข้า ข้อต่อเหล่านี้จึงมีโอกาสรั่วซึมได้มากกว่าระบบปรับอากาศในอาคาร
หากเรารักษาความสะอาดระบบปรับอากาศเป็นอย่างดี จะช่วยให้แอร์รถยนต์ไม่มีการอุดตัน ก็เป็นตัวช่วยให้ระบบปรับอากาศของคุณมีประสิทธิภาพด้านความเย็น และการใช้งานอย่างยาวนานค่ะ
ไม่เฉพาะระดับสารทำความเย็นต่ำ หรือรั่วเท่านั้น ที่ทำให้แอร์รถยนต์ของคุณไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอในหน้าร้อนนี้ แต่อาจจะเกิดจากสาเหตุอื่นๆ เช่น คอมเพรสเซอร์หรือพัดลมไม่ทำงาน ฯลฯ
ดังนั้นทุกท่านอย่าลืมพารถเข้าศูนย์ เช็คระบบกันสักนิด เพื่อความปลอดภัย และความสะดวกสบายกับความเย็นในหน้าร้อนนี้ ขับขี่ปลอดภัยทุกท่านค่ะ ❤
ในอนาคตปี 2039 การใช้สารทำความเย็นที่กล่าวมาอาจจะเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง การค้นพบและพัฒนาสารทำความเย็นที่จะมาแทนที่รุ่นใหม่ล่าสุดอย่าง R1234yf อาจจะเปลี่ยนไป และมีสารเคมีที่ใหม่กว่าและปลอดภัยกว่าจะมาแทนที่ในรถของคุณ เพราะการทำความเย็นถูกพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง เพื่อโลก เพื่อธุรกิจ และเพื่อคุณ
ก้าวสำคัญเพื่ออนาคตที่ดีกว่าของสารทำความเย็น ก้าวไปด้วยกันในโลกที่ดีกว่า
𝗖𝗼𝗹𝗱𝗲𝗿 𝗦𝗼𝗹𝘂𝘁𝗶𝗼𝗻 ผู้นำด้านการนำเข้าสารทำความเย็นคุณภาพทุกยี่ห้อ 𝗢𝗿𝗮𝗳𝗼𝗻,𝗛𝗼𝗻𝗲𝘆𝘄𝗲𝗹𝗹,𝗞𝗹𝗲𝗮,𝗖𝗵𝗲𝗺𝗼𝘂𝗿𝘀,𝗗𝗮𝗶𝗸𝗶𝗻 ฯลฯ คอมเพรสเซอร์ รวมถึงอะไหล่คอมเพรสเซอร์ และอื่นๆ อาทิเช่นน้ำมันหล่อลื่นเกรดคุณภาพ
ปรึกษาเราได้ที่ Line id : @Colder หรือคลิก : https://lin.ee/VEnKS4M
.
#สารทำความเย็น #น้ำยาแอร์ #Refrigerant
โฆษณา