11 มี.ค. 2023 เวลา 21:19 • ข่าว

การปฎิรูปบำนาญในฝรั่งเศส

ระบบบำนาญในประะเทศฝรั่งเศสมีบันทัดฐานอยู่บน​ Pay​ as go scheme โดยผู้ทำงานที่ต้องการบำนาญจะต้องหักเงินเดือนส่งให้กับกองทุน​ของรัฐฯตามข้อกำหนดของกองทุน​ อายุเกษียนอยู่ที่​ 60​ ปี​ เหมือนกับประเทศไทย​ และจะได้รับเงินเกษียนคิดเป็น​ 37.5​ % ของค่าเฉลี่ยของรายได้​ ระบบบำนาญมีหลายโปรแกรมครอบคลุมเกือบทุกอาชีพ ครู​ พนักงานรถไฟ​ ถึงอาชีพบัลเล่ย์เลยที่เดียว แต่ละโปรแกรมมีเงื่อนใขต่างๆกันไป
ปัจจุบัน คนฝรั่งเศสที่อยู่ในวัยเกษียณจะได้รับเงินบำนาญจากรัฐ เฉลี่ยอยู่ที่ 1,400 ยูโรต่อเดือน (ประมาณ 50,200 บาท) เงินจำนวนนี้มาจากเงินสมทบของแรงงานในระบบ ดังนั้น เมื่อประชากรผู้สูงอายุมีจำนวนมากขึ้น จึงส่งผลต่อเสถียรภาพของเงินกองทุนบำนาญ
นั่นเองเป็นที่มาของการปฏิรูประบบบำฯาญ​
เอลิซาเบธ บอร์น (Elisabeth Borne) นายกรัฐมนตรีฝรั่งเศส เสนอร่างกฎหมายปฏิรูประบบเงินบำนาญในสภาขยายอายุสำหรับผู้เบิกเงินบำนาญจาก 60 ปี เป็น 64 ปี และขยายอายุผู้ที่ต้องจ่ายเงินเข้าสู่ระบบบำนาญเต็มจำนวนจาก 42 ปี เป็น 43 ปี มีเป้าหมายที่จะลดการให้เงินบำนาญขั้นต่ำเหลือ 1,200 ยูโรต่อเดือน (ประมาณ 43,000 บาท) นั่นคือยื้อเวลา ให้ทำงานมากขึ้น จ่ายเงินเข้ากองทุนมากขึ้น แต่สุดท้ายได้รับบำนาญน้อยลง
การเดินขบวนประท้วงการปฏิรูประบบบำนาญ
เรื่องนี้เป็นที่ไม่พอใจของสหพันธ์แรงงานอย่างมาก มีการต่อต้านขนานใหญ่ทั่วประเทศ ทว่า เอ็มมานูเอล มาครง (Emmanuel Macron) ประธานาธิบดีฝรั่งเศส ยังคงยืนกรานที่จะผลักดันแผนปฏิรูประบบบำนาญต่อไป
ประเทศไทยเองก็กำลังย่างเข้าสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุ​ จำนวนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ระบบบำนาญของเราเป็นระบบสนับสนุนรายได้แบบเป็นทางการ ขาดความครอบคลุมกลุ่มประชากร​ทุกกลุ่มในสังคม แรงงานนอกระบบมีเพียงเบี้ยยังชีพซึ่งไม่เพียงพอต่อการดำรง​ชีวิต
จากการจัดอันดับระบบบำนาญ ของ Mercer CFA Institute Global Pension Index ระบุว่าระบบบำนาญของไทยรั้งท้ายอยู่ในลำดับที่ 39 โดยมีคะแนน 40.8 จากคะแนนเต็ม 100 จัดอยู่ในเกรด D ขณะที่เนเธอร์แลนด์เป็นประเทศที่มีคะแนนสูงสุด 82.6 และอันดับสองคือเดนมาร์ก ซึ่งเป็นสองประเทศที่ถูกจัดอยู่ในเกรด A
ref :

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา