Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ความเรียงในวันที่นึกได้
•
ติดตาม
20 พ.ค. 2023 เวลา 05:34 • ความคิดเห็น
ใช้งานแล้วก็ต้องดูแลกันด้วยล่ะ
มีของก็ใช้งาน ถึงเวลาก็ต้องดูแลให้ดี จะได้ใช้งานกันนานๆ
อันนี้เป็นเรื่องปกติครับ
แต่บางทีเราก็มองข้ามเรื่องการซ่อมบำรุงไปเหมือนกัน จนทำให้ของที่เราจะใช้เกิดตวามเสียหาย ใช้งานไม่ได้ในยามที่ต้องการ
แล้วสุดท้ายมันก็ลงเอยด้วยการส่งซ่อมที่ตามมาด้วยค่าใช้จ่ายมากน้อยแล้วแต่ของ
ตัวอย่างใกล้ตัวที่ผมเจอกับตัวเองคือพวกปากกาลูกลื่น
แหม ปากกาลูกลื่นแค่นี้ก็ต้องซ่อมบำรุง ใข้ไม่ได้ก็ทิ้งไปสิ เสียเวลาซ่อม หาซื้อมาใช้ใหม่ง่ายกว่า
จริงครับ ถ้าราคาไม่เท่าไหร่ผมก็โยนทิ้งเหมือนกัน
แต่บังเอิญปากกาที่ว่ามันมีราคาอยู่บ้าง ใช้งานไม่มาก เห็นแล้วเสียดาย เลยต้องควานหาที่ซ่อมทั้งที่ตอนแรกก็ถอดใจ
ส่งไปเคาน์เตอร์ตามห้างก็ได้ซ่อมฟรีแต่มันไม่ค่อยเหมือนเดิม มีคลอนๆอยู่บ้างแต่ใช้งานได้ตามสมควร
ตอนนี้หยิบติดมือมาใช้งานเกือบทุกวัน เขียนอะไรเล่นเล็กๆน้อยๆกันหมึกแห้งคาปากกาเดี๋ยวต้องส่งซ่อมอีก
ช่วงที่ผ่านมาซื้อหาปากกาหมึกซึมมาใช้งานตามใจตัวเองระลึกถึงความหลังสมัยเรียนเมื่อครั้งละอ่อน
ตอนนั้นสูบหมึกมาใช้งานนานเข้า เพื่อนก็บอกว่าต้องล้างปากกาด้วยนะเว้ย ไม่งั้นเดี๋ยวปากกามันจะเสีย
จริงเหรอวะ
จริงดิ
การทำความสะอาดก็ไม่ยาก สูบน้ำเปล่าขึ้นมาแทนหมึกแล้วบีบไล่น้ำออกจนตัวหลอดหมึกสะอาดใสแจ๋ว รอแห้งแล้วสูบหมึกขึ้นมาใช้ก็เป็นอันเสร็จพิธี
ปากกาหมึกซึมด้ามที่หามาใหม่ก็ใช้วิธีนี้เหมือนกัน แต่ว่าชิ้นส่วนปากกาถอดออกมาเป็นชิ้นๆได้ ทำความสะอาดได้ดีขึ้น ตัวหลอดหมึกก็ทำความสะอาดทิ้งให้แห้งเหมือนกันแล้วค่อยเติมหมึกใส่หลอดเสียบกลับปากกาแล้วใช้งานได้
ก่อนและหลังทำความสะอาด
ตัวปากกากับลูกสูบก็ต้องทำความสะอาดเหมือนกัน ใช้พวกdropperหรือไซริงจ์ฉีดยาฉีดน้ำเปล่าล้างทำความสะอาดช่วยด้วยจะดีมาก หลังจากนั้นทิ้งไว้ให้แห้งสนิท อาจจะทิ้งไว้ให้แห้งเองหรือใส่ถุงซิบล๊อคร่วมกับซองกันซื้นด้วยจะดีมาก แห้งเร็ว
การทำความสะอาดแบบนี้ทำให้ตัวปากกาสะอาด หมึกไม่แห้งคาด้าม ใช้งานได้นานขึ้น แถมจะเปลี่ยนยี่ห้อหมึกหรือเปลี่ยนสีหมึกก็ทำได้ด้วยเพราะตัวปากกาสะอาดแล้ว
ว่าง มือคันก็งัดเอาไส้ปากกาเหลือๆออกมาดูว่าจะทำอะไรกับมันดี
บางอันก็ใช้ไม่ได้แล้วแต่เก็บไว้เพราะเรื่องขนาดความยาวสั้นของไส้ปากกาแต่ละแบบไม่เหมือนกัน
ไส้รีฟิลเท่าที่มีในมือจะแตกต่างกันตามแต่ละยี่ห้อและชนิดของปากกา
ถ้าเป็นลูกลื่นหรือballpoint penก็จะมีหลากหลายตั้งแต่แบบไม่กี่บาทที่ใช้กับปากกาลูกลื่นทั่วไปจนเป็นแบบมียี่ห้อราคาสูงอีกหน่อย มีตั้งแต่ผลิตในจีนยันญี่ปุ่นหรือของฝรั่งเองก็หลากหลายยี่ห้อ มีทั้งโนเนมกับยี่ห้อคุ้นหูอย่างPentelหรือSchneider
ขนาดมาตรฐานทั่วไปคือพวกG2หรือแบบParkerที่แพร่หลายที่สุดแบบหนึ่ง ใช้ได้กับทั้งปากกาแบบกดหรือแบบธรรมดา ไม่งั้นก็แบบCrossหรือWatermanที่เน้นไปที่ปากกาแบบหมุน หรือจะพวกLamyที่ตัวไส้ปากกาค่อนข้างเป็นแบบเฉพาะแต่โมดิฟายได้
ถ้าเป็นrollerball มีตั้งแต่แบบถูกยันแพงเหมือนกัน ส่วนขนาดนั้นก็หลากหลายตามแต่จะเลือกใช้งาน มาตรฐานส่วนใหญ่เท่าที่เห็นคือParkerเหมือนกัน แต่ที่นิยมจริงๆเป็นแบบPentelนัมเบอร์ต่างๆครับที่ใช้แทนกันได้เกือบทั้งหมดแทบทุกยี่ห้อ ส่วนของLamyก็มักจะออกแบบเฉพาะตัวไปเลยแต่พอจะโมดิฟายกันได้อยู่เช่นกัน
cr. google ไส้ปากกาแบบต่างๆ เบอร์3คือCross 4.คือWaterman 5.คือG2Parker ถ้าRollerballก็Parkerกัย Pentel สุดท้ายคือLamy
ไส้ปากกาที่มีเหลือใช้ผมมักจะเอามาใส่ปากกาด้ามที่หมดแล้วแต่แบบสวย เอาไว้ใช้งานต่อด้วยความเสียดายของ บางทีก็เอาพวกเศษปากกาเหลือๆมาประกอบตัดต่อเป็นด้ามใหม่ แต่ตอนนี้ยังไม่เรียบร้อยดี
ยังทำไม่เสร็จดี รอหาอะไหล่อยู่ ตัวไส้เป็นแบบCross
ดินสอชั่วนิรันดร์ก็ต้องมีการซ่อมบำรุงเหมือนกันครับ ไม่ใช่ว่าตะบี้ตะบันใช้งานอย่างเดียว
อ้าว ไหงงั้น
ผมใช้งานมันจนกุดสั้นลงไปนี่ล่ะครับ เส้นไม่คมเหมือนเดิม ใช้กระดาษทรายช่วยฝนก็ไม่ช่วยเท่าไหร่ เลยลองหาอะไหล่เฉพาะส่วนปลายดินสอมาใช้งาน ราคาพอประมาณ
อันที่กุดคือของเดิม อันใหม่ใส่เรียบร้อยแล้ว
ปรากฎว่าใช้แทนได้พอดีเหมือนเดิม เส้นสวยงาม ว่าจะหามาเพิ่มเหมือนกัน
ว่ากันมายืดยาวถึงตรงนี้บางคนคงว่ากระแดะหรือเปล่า มันจะอะไรกันนักหนากับอีแค่ปากกาหรือดินสอ
ครับ ไม่เถียง บางทีผมเองก็รู้สึกว่ามันเกินไปไหมวะเนี่ยแค่เครื่องเขียนเอง สู้ไปดูแลของอย่างอื่นดีกว่า
แต่พอเห็นไม่พร้อมใช้งานก็อดไม่ได้ที่ต้องลงไปดูแลเขาเหมือนกัน เขายังอยู่ช่วยงานเราได้ถ้าเขากลับมาเป็นปกติ
ของที่มีเหลือใช้ ดัดแปลงใช้งานกับของที่หมดสภาพแล้วใช้งานได้ก็ไม่เลว ดีกว่าทิ้งไว้เฉยๆ สนุกดี
ว่าแล้วกำลังใจก็มา
จัดการซ่อมบำรุงกับงัดเอาของเหลือใช้พวกนี้ขึ้นมาดีกว่าครับ
อิอิอิ
บันทึก
1
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
เห็น-คิด-เขียน
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย