12 มี.ค. 2023 เวลา 09:30 • หุ้น & เศรษฐกิจ

ระวัง! ปัญหารากฐานของธนาคารสหรัฐฯ ที่มิใช่แค่ SVB

1. “เงินฝาก” ณ ธนาคารพาณิชย์ในสหรัฐฯ ต่ำลง
เหตุจากตอน “QE” เพื่อกู้วิกฤติปี 2020-2021 ทำให้เงินท่วมท้น คนจึงฝากเงินมาก (ช่วงนั้นสถานการณ์เลวร้าย คนไม่กล้านำงินไปทำอะไร ฝากไว้ปลอดภัย เผื่อฉุกเฉิน)
ถัดจากนั้น สถานการณ์คลี่คลาย คนก็เริ่มถอนออก
ประกอบกับ “ดอกเบี้ยเงินฝาก” ค่อนข้างต่ำ ขณะที่สินทรัพย์อื่นๆ เริ่มฟื้นตัว จึงถอนไปลงทุนดีกว่า
5
ส่วนที่ว่า “เฟด” แบงก์ชาติสหรัฐฯ ขึ้นดอก … นั่นมันดอกเบี้ยนโยบาย --- แบงก์พาณิชย์จะค่อยๆ ปรับตาม “เทรนด์” ของดอกเบี้ยนโยบาย แต่ทั่วไปแล้ว จะใส่ที่ “ดอกเบี้ยเงินกู้” ก่อน
(รายได้ของแบงก์ คือ ดอกเงินกู้ / รายจ่ายของแบงก์ คือ ดอกเงินฝาก)
8
ล่าสุด ดอกเบี้ยนโยบายของ “เฟด” อยู่ในช่วง 4.5-4.75% ขณะที่ดอกเบี้ยเงินฝากเฉลี่ยของแบงก์พาณิชย์ในอเมริกา อยู่ที่ 0.2% ต่อปี --- ต่างกันลิบลับ)
ในเวลาราว 1 ปี เงินฝากในแบงก์สหรัฐฯ พร่องลงไป 5 แสนล้านดอลลาร์! --- ปัจจุบัน เหลืออยู่ 17.65 ล้านล้านดอลลาร์
เงินฝากน้อย ก็คือมีเงินติดตัวแบงก์น้อย เท่ากับ “สภาพคล่อง” เหือดน่ะเอง
2. เงินฝากข้อ 1. คือ เงินที่คนฝากกับแบงก์
ส่วนเงินฝากที่แบงก์พาณิชย์ไปฝากกับ “เฟด” แบงก์ชาติก็ร่อยหรอลง
ซึ่งถ้าตรงนี้มีน้อย หากแบงก์เผชิญภาวะชักหน้าไม่ถึงหลัง ก็จบ เพราะ “ตัวช่วย” ที่สำรองไว้ไม่พอ
เงินฝากตรงนี้ ใช้เวลาปีเศษๆ หายไป 1.3 ล้านล้านดอลลาร์!!! --- ปัจจุบัน เหลืออยู่ 3.0 ล้านล้านดอลลาร์
ซึ่งเป็นไปตาม QT ของ "เฟด"
3
3. ผลสืบเนื่อง จากรัฐบาลสหรัฐฯ เพดานหนี้ 31.4 ล้านล้านดอลลาร์ แล้วกู้เพิ่มไม่ได้ (สภาคองเกรสยังไม่บรรลุข้อตกลงเพื่อขยายเพดานหนี้)
ขณะที่ "เฟด" ยังดำเนิน reverse repo ประมาณว่า “เฟด” ถ่ายพันธบัตรที่ถือไว้ ออกสู่ระบบได้ โดยที่แบงก์ก็เอาเงินมาแลก
ซึ่งถ้าเงินจากแบงก์ไหลมาเข้ากลไกนี้มากเข้า ก็จะทำให้เงินฝากในข้อ 2. ยิ่งหดลงเข้าไปอีก
โดยรวมๆ ของแบงก์พาณิชย์สหรัฐฯ ขณะนี้ คือ ไม่มีตัวช่วยมา “รับแรงกระแทก” เท่าไรนัก
“SVB” ที่เพิ่งล้ม ไม่ใช่ “too-big-too-fail”
ไม่ใหญ่พอจะทำให้เป็นโดมิโนรุนแรง
ถ้าจะกระทบ คือ ตลาดหุ้นที่ปั่นป่วนจากความหวาดผวาซะมากกว่า ซึ่งก็คงไม่นานนัก
แต่ 3 ข้อที่ว่ามา คือ “รากฐาน” ที่เห็นว่าชักโคลงเคลงเหมือนกัน
ไอ้ที่ใหญ่กว่า “SVB” ไม่ใช่จะเป็นไปไม่ได้
1
โฆษณา