13 มี.ค. 2023 เวลา 00:05 • สุขภาพ

Lewis B. Smedes (นักศาสนศาสตร์ชื่อดัง) เคยกล่าวไว้ว่า

“To forgive is to set a prisoner free and discover that the prisoner was you.”
“การให้อภัยคือการปลดปล่อยนักโทษให้เป็นอิสระ และค้นพบว่านักโทษคนนั้นคือตัวท่านเอง”
คำพูดของ Smedes ดูจะเป็นจริงในหลายๆกรณีเลยครับ
หลายคนพบว่า
เมื่อพวกเขาสามารถให้อภัยได้
ใจของพวกเขาก็รู้สึก “เบาขึ้น” อย่างเห็นได้ชัด
อย่างไรก็ตาม
นักจิตวิทยาพบว่า
การให้อภัยไม่ได้ช่วยให้ใจเรา “เบาขึ้น” เสมอไปครับ
ในกรณีที่เราให้อภัยใครสักคน
แต่คนๆนั้นกลับยังคงมีพฤติกรรมเดิมๆ
(เช่น นอกใจเหมือนเดิม โกหกเหมือนเดิม ทำร้ายร่างกายเหมือนเดิม)
แทนที่ใจของเราจะ “เบาขึ้น” ตามที่ Smedes กล่าวไว้
ใจของเรากลับมีแนวโน้มที่จะ “หนักลง” เสียมากกว่า!
สาเหตุ (ข้อหนึ่ง) ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่า
เวลาที่เราให้อภัยใครสักคน
แต่คนๆนั้นก็ยังคง “ทำร้าย” เราซ้ำๆๆๆๆๆๆอยู่นั้น
การให้อภัยของเรา…มันเริ่มจะรู้สึกไม่เหมือนกับการให้อภัยแล้ว
แต่การให้อภัยของเรา…
มันเริ่มจะรู้สึกเหมือนกับการปล่อยให้อีกฝ่ายย่ำยี
โดยที่ไม่ยอมปกป้องยืนหยัดเพื่อตัวเองมากกว่า!
นี่จึงเป็นสาเหตุ (ข้อหนึ่ง)
ที่ทำให้การให้อภัย (ในกรณีที่ถูก “ทำร้าย” ซ้ำๆๆๆๆๆ) ไม่ได้ช่วยให้ใจของเรา “เบาขึ้น”
แต่กลับส่งผลให้ใจของเรา “หนักลง” ครับ
แหล่งอ้างอิง
Luchies, L. B. et. Al. (2017) People feel worse about their forgiveness when mismatches between forgiveness and amends create adaptation risks. Journal of Social and Personal Relationships; 36(2): 681-705.
Hannon, P. A. et. Al. (2012) The soothing effects of forgiveness on victims’ and perpetrators’ blood pressure. Personal Relationships; 19: 279-289.
Luchies, L. B. et. Al. (2010) The doormat effect: When forgiving erodes self-respect and self-concept clarity. Journal of Personality and Social Psychology; 98: 734-749.
Bono, G. et. Al. (2008) Forgiveness, feeling connected to others, and well-being: Two longitudinal studies. Personality and Social Psychology Bulletin; 34: 182-195.
โฆษณา