13 มี.ค. 2023 เวลา 04:41 • หุ้น & เศรษฐกิจ

สหรัฐ แมลงเม่าตรึม! ธนาคารล้ม 3 แห่งแล้ว พิษวิกฤติต้มยำกุ้งไฟลามทุ่งไม่หยุด

.....สหรัฐ นั้นรัฐบาลดำเนินนโยบายการเงินสุรุ่ยสุร่าย คือ ออกตราสารหนี้ เช่น พันธบัตร ตั๋วแลกเงิน ขอกู้จนหนี้สาธารณะเกิดเพดาน 133% ของ GDP รายรับต่อปี หมายความว่ารัฐบาลมี "รายรับน้อยกว่ารายจ่าย" หรือขาดทุนราว -33% ต่อปี
ซ้ำร้ายหนี้ส่วนใหญ่เป็น "หนี้ต่างประเทศ" จึงเกิดการไหลออกของเงินไม่หยุดจากดอกเบี้ยเงินกู้ ลองคิดง่ายๆ บริษัท ที้มีผลประกอบการขาดทุนจะเอาเงินที่ไหนมาจ่ายคืนปันผลให้ผู้ถือหุ้น
14
ประเทศสหรัฐ ก็คล้ายกัน ขาดทุนติดลบ -33% ของ GDP รายได้ จะเอาเงินที่ไหนมาจ่ายคืนให้ผู้ถือหุ้นคือเจ้าหนี้พันธบัตรนั่นเอง ก็ต้องผิดนัดชำระหนี้ ซึ่งตามกติกาสากลจะต้องประกาศล้มละลายคล้ายรัฐบาลศรีลังกาปีที่แล้ว
แต่รัฐบาลสหรัฐ ทำมึนดื้อแพ่งแหกกติกาสากล จนเกิดอัตราเงินเฟ้อในชาติสูง ธนาคารกลางสหรัฐ (FED) ก็แก้ปัญหาแบบกำปั้นทุบดินโดย "ขึ้นอัตราดอกเบี้ย" ไปเกิน 5% แล้ว เพื่อนำเงินกู้พันธบัตรชุดใหม่ไปโป๊ะจ่ายดอกเบี้ยพันธบัตรกู้ค้างเก่า ซึ่งก็ไม่ต่างอะไรกับระบบ "แชร์ลูกโซ่"
17
ส่วนรัฐบาลไบเดน ก็หวังทางการเมืองว่าจะกดดันฝ่ายค้านรีพลับบลิกันให้ยอมโหวตขยายเพดานหนี้เงินกู้เพิ่มอีก เพื่อเอาไปซื้ออาวุธทำสงครามในต่างประเทศต่อเนื่อง แต่ผลร้ายการบริหารล้มเหลวแบบนี้ได้เกิดขึ้นกับภาคเอกชน และประชาชนอเมริกันตาดำๆ
เมื่ออัตราดอกเบี้ยทะยานสูง บูมเบอแรงย้อนกลับคือ "มูลค่าพันธบัตรด้อยค่าลง" เอกชนที่เคยมีสถานะเป็นเจ้าหนี้พันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ ก็เกิดการ "ขาดทุนมหาศาล" เกิดฟองสบู่แตก
12
เริ่มหายนะจากแห่งแรก ธนาคาร Silicon Valley Bank (SVB) ขาดทุนพันธบัตรติดลบ 1,800 ล้านดอลลาร์ หุ้นร่วงดิ่งติดลบ -60% วิกฤติ "ต้มยำกุ้ง" ทางการเงินลามเข้าสู่ธนาคารอื่นๆ แค่ 48 ชม. ธนาคารสหรัฐสูญเสียมูลค่ากว่า 100,000 ล้านดอลลาร์ และธนาคารยุโรปพังไปอีก 50,000 ล้านดอลลาร์
ธนาคาร SVB ประกาศล้มละลาย "ไม่มี ไม่หนี ไม่จ่าย" รัฐบาลประกาศยึดกิจการธนาคาร และจ่ายเงินเยียวยาคืนให้ผู้ฝากเงินเริ่มวันที่ 13 มี.ค.2566 ปลายสัปดาห์ก่อนกำหนดคืนให้ไม่เกินรายละ 250,000 ดอลลาร์
13
มีบางบริษัทที่เชื่อเครดิตฝากเงินธนาคารนี้มากถึง 225 ล้านดอลลาร์ (7,753 ล้านบาท) ก็ได้เงินเยียวยาคืน 250,000 ดอลลาร์ (8.6 ล้านบาท) หรือได้เยียวยาคืนมาแค่ 0.11% เท่านั้น แต่สุดท้ายรัฐบาลต้องออกประกาศทุ่มเงินอุ้มเงินฝากธนาคาร SVB
ธนาคารรายที่ 2 ล้มละลายต่อมาคือ Silvergate Bank , ล่าสุดทางการ สหรัฐฯ ยังประกาศสั่งปิดและยึดกิจการธนาคารล้มรายที่ 3 คือ Signature Bank อ้างว่าเพื่อป้องกันไม่ให้วิกฤตธนาคารลุกลามออกไป
เป็นสถาบันการเงินในนิวยอร์กที่เน้นปล่อยกู้ให้แก่บริษัทคริปโตเคอร์เรนซี
11
นี่คือตัวอย่างของ "แมลงเม่าบินเข้ากองไฟ" เหยื่อหนี้สินสาธารณะของรัฐบาลสหรัฐ และจะมีแมลงเม่าธนาคาร บริษัทเอกชนแบบนี้อีกมากมายที่ไม่มีเงินจ่ายพนักงาน และหนี้สิน สุดท้ายก็ต้องยื่นล้มละลายเป็น "ซุปเปอร์โดมิโน"
ขณะนี้สินทรัพย์ธนาคารในสหรัฐฯ หลายแห่งด้อยค่ามีราคาถูกลงมาก ปีนี้จะเกิดการล้มละลายของสถาบันการเงิน และบริษัท มากนับไม่ถ้วน ในสหรัฐ อังกฤษ และสหภาพยุโรป เพราะระบบเงินตราพ่วงกันอยู่
9
ที่อาเซียนและไทย ทั้งภาครัฐบาล และธนาคาร ต้องคิดให้หนักในการยัง "ถือครองพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ ไว้มากจำนวนเท่าไร?" เพราะบัดนี้มูลค่ามันด้อยลงในข้ามคืน ไม่เท่ากับตอนซื้อมาแน่แล้ว ย่อมจะตีมูลค่าเท่าเดิมไม่ได้ นับวันมีแต่ขาดทุนบักโกรก
คำถามใหญ่ต่อไปคือ ผู้ถือครองพันธบัตรสหรัฐ "ขาดทุนไปแล้วมูลค่าเท่าไร" กี่พัน หมื่น หรือกี่แสนล้านบาท" นี่คือความจริงที่ว่ากระดาษพันธบัตรชาติที่มีหนี้สูงกว่า GDP ถึง 133% ผลประกอบการขาดทุนติดลบ
13
การถือกระดาษคำสัญญาลูกหนี้พันธบัตรสหรัฐ ที่มูลค่าขายออกลดลงทุกวันย่อม "โคตรเสี่ยงเป็นแมลงเม่า" และจะไม่มีวันมีคุณค่าเท่าทองคำ หรือพันธบัตรรัฐบาลชาติที่ซื้อตุนทองคำไว้ค้ำประกันสินทรัพย์ตนเองแน่นอน 😱😁😂
13
👇ชอบข่าวนี้กดรูปหัวใจด้านล่าง ⤵️
World News
13/ม.ค./2566
3
👇👇ชอบข่าวนี้กดรูปหัวใจหรือแชร์ ⤵️⤵️
1
โฆษณา