Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
เคยคิด
•
ติดตาม
13 มี.ค. 2023 เวลา 15:52 • ความคิดเห็น
ทฤษฎีหลอกตัวเอง หรือคือเรื่องจริง?
Self-manifesto, lucky girl syndrome, พลังจักรวาล ทั้งหมดล้วนเป็นเรื่องเดียวกัน เป็นเรื่องเก่าเล่าใหม่ ที่อยู่ภายใต้คอนเซ็ปต์ของ "พลังจักรวาล" หรือ Law of Assumption ที่เคยอยู่ในหนังสือ The Secret
โดย "Law of Assumption" คือ การเชื่อว่าสิ่งที่เราต้องการจะเกิดขึ้นกับเรา แล้วจักรวาลจะดึงดูดสิ่งที่เราต้องการเข้ามาหาเราเอง "Self-Manifesto" (การเขียนแถลงการณ์ความต้องการของตัวเอง) คือการนำคอนเซ็ปต์เดียวกันมา take action เขียนคำประกาศสิ่งที่เราต้องการในชีวิต
และคอนเซ็ปต์ใหม่ล่าสุดที่โด่งดังจาก tiktok "Luckygirl Syndrome" คือการนำคอนเซ็ปต์เดียวกันมาประมวลผลทางจิตใจ และส่งออกมาทางความเชื่อ คนที่มีอาการนี้จะทำตัวราวกับว่าสิ่งที่เราใฝ่ฝัน ได้เกิดขึ้นจริง ณ วันนี้แล้ว เรากำลังรับบทนางในฝัน และจักรวาลจะให้รางวัลกับเราตามที่เราเชื่อในที่สุด
ถามว่าทั้ง 3 ทฤษฎี คือ ทฤษฎีหลอกตัวเอง ที่หลอกให้เราคิดหรือเชื่ออะไรแบบงมงายหรือไม่? ตามหลักทางจิตวิทยาแล้ว จริงๆ 3 สิ่งนี้ส่งผลดีต่อ mental health ของเราค่อนข้างมากเลยทีเดียว
1
อย่างการเขียน Self-Manifesto หลายคนบอกว่า นอกจากการเป็นแรงบันดาลใจที่ทำให้เราระลึกอยู่เสมอแล้ว มันยังช่วยให้เราโฟกัส และจัดลำดับความสำคัญถึงสิ่งที่เราต้องการจะบรรลุได้ดี ทำให้เราตัดสินใจได้ดีขึ้น (เพราะเป้าหมายชัดเจน) และคอมมิทกับสิ่งที่เราต้องการจะเป็น/ทำได้ดีขึ้น (เพราะมีเครื่องเตือนใจทุกวัน) และไม่ใช่การโลกสวยเกินจริง แต่มันคือการ remind ถึงเป้าหมายเป็นหลัก ถึงแม้สถานการณ์จริงจะไม่สวยนัก อย่างน้อยมันก็ทำให้เราไม่ไขว้เขวไปจากสิ่งที่เราต้องการ
1
Luckygirl Syndrome เชื่อในเรื่องความ "โลกสวย" ตามหลักแล้วก็คือ การเป็นคนมองโลกในแง่ดีนั่นเอง ซึ่งมีวิจัยออกมาจริงๆ ว่าการมองโลกในแง่ดี ทำให้เรา bounce back จากเหตุการณ์ร้ายๆ ในชีวิตได้ดีขึ้นและเร็วขึ้น มีความสามารถในการรับมือกับปัญหาในชีวิต ส่งผลต่อสุขภาพที่ดีขึ้น การพูดกับตัวเอง (Self talk) ก็เป็นการระบายความเครียดที่ดี ทำให้เราเหนื่อยน้อยลง และส่งผลคือ performance การทำงานดีขึ้น
1
จริงๆ แล้วการมีความ "เชื่อ" แบบนี้ดี เพราะเหมือนเรามี "ภาพเสมือนจริง" ฉายและรีรันอยู่ในหัวเรา เป็นภาพที่เรากำหนดสตอรี่ไลน์เอง เขียนบทเอง เป็นการ shift จาก reality ที่ค่อนข้างให้ผลเชิงบวกกับจิตใจคนเราด้วยซ้ำ
เพราะฉะนั้นจะว่า "หลอกตัวเอง" ก็ไม่ใช่ซะทีเดียว ในเมื่อความคิดเชิงบวก คือ thinking behind the ideas ในความเป็นจริงก็แทบไม่มีอะไรส่งผลเสียต่อเราเลย
1
แต่ในสิ่งดีๆ ที่เกิดขึ้น อาจจะไม่ได้เกิดจากสิ่งเร้นลับ พลังจักรวาล เหนือธรรมชาติ ในเชิงจิตวิทยา ความเชื่อเรื่อง "จักรวาลนำพา" มันค่อนข้างอธิบายได้ยาก เพราะมันอาจจะเป็นเรื่องของ "Ilusory Correlation" (สหสัมพันธ์ลวง) คือการเชื่อมสองเหตุการณ์เข้าด้วยกัน โดยสร้างความสัมพันธ์ที่ไม่มีจริง เพราะทั้งหมดอาจเป็นแค่ "เรื่องบังเอิญ"
ศาสตราจารย์ภาคคณะจิตวิทยา มหาวิทยาลัยนิวยอร์ค Gabriele Oettingen กล่าวไว้ว่า การสร้างจินตนาการหรือฝันกลางวัน สามารถทำให้เราอารมณ์ดีขึ้นได้ชั่วขณะ แต่มันไม่ได้ให้แรงกายแรงใจในการ take action ทำตามสิ่งที่เราใฝ่ฝันจริงๆ การคิดไปเองก็เหมือนพลาสเตอร์ปิดแผล ที่ปิดไว้ชั่วคราว ไม่นานมันก็หลุด แล้วเราก็ต้องเจอความจริงอยู่ดี
โดยมี study หนึ่งของมหาวิทยาลัย ลองให้เด็กที่เพิ่งเรียนจบ สร้างภาพในหัวถึงอาชีพที่ตัวเองใฝ่ฝัน และพบว่าเด็กที่ใช้เวลาฝันถึง "งานในฝัน" ส่งใบสมัครน้อยกว่าเด็กคนอื่น ได้รับ offer งานน้อยกว่า แล้วยังได้เงินเดือนน้อยกว่าอีกด้วย เป็นหนึ่งในตัวอย่างว่า นั่งฝัน ไม่เกิดผลแน่ ถ้าไม่มี action (หรือเด็กที่นั่งฝัน อาจจะคิดเยอะเกินไป เลือกเยอะเกินไป)
เพราะในความเป็นจริง มันมีเส้นแบ่งบางๆ ของความเชื่อว่าเราทำได้ จากประสบการณ์ที่เราเคยทำมา กับความเชื่อว่าเราทำได้ ทุกอย่างจะเป็นไปด้วยดีถ้าเรามี mindset และทัศนคติที่ดี
1
อย่างไรก็ดี อาจจะดีกว่าถ้าเราเชื่อว่ามีพลังเหนือธรรมชาติบางอย่าง ที่มันเกินตัวเราไปจริงๆ อยู่ เพื่อที่ว่าพอเกิดอะไรเลวร้ายขึ้น เราจะได้ไม่โทษตัวเองมากจนเกินไป ไม่หดหู่ซึมเศร้าจากทฤษฎีนี้มากจนเกินไป คนเราจะเริ่มหดหู่มากขึ้นเมื่อขาดสิ่งยึดเหนี่ยวในจิตใจ ไม่ว่าจะเป็นศาสนา พระเจ้า สิ่งลี้ลับ พลังเหนือธรรมชาติ
เพราะฉะนั้น ถ้าเราจะเชื่อเรื่องพลังจักรวาล?
การจะเชื่อใน "พลังจักรวาล" ก็น่าจะเป็นเรื่องส่วนบุคคล ในเมื่อมันเป็นความคิดของเรา พื้นที่ของเรา ไม่มีค่าใช้จ่าย ไม่ผิดกฎหมาย และไม่ทำให้ใครเดือดร้อน ที่สำคัญคือ "รู้ตัวตน" อยู่ตลอด และ take action อย่าลืมตัวกับฝันกลางวันมากเกินไป เพราะนั่นต่างหากที่จะทำให้เกิดผลเสียต่อเราจริงๆ
#เคยคิด
อ้างอิง
Theconversation.com
, The Washington Post, The
Cut.com
ความคิดเห็น
ข้อคิด
พัฒนาตัวเอง
3 บันทึก
5
3
3
5
3
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย