14 มี.ค. 2023 เวลา 06:07 • ประวัติศาสตร์

พบแล้ว! ราชนัดดาผู้สาบสูญไปจากหน้าประวัติศาสตร์ไทย

ต่อจาก หม่อมยิ่ง ราชนารีผู้ฝ่าฝืนกฏมณเฑียรบาลแห่งราชสำนัก
หลังจากที่พระองค์ถูกถอดออกจากฐานันดรศักดิ์และเรียกคือเครื่องราชอิสริยาภรณ์มหาจักรีบรมราชวงศ์แล้ว ก็ทรงออกมาอยู่กับพระญาติของท่านโดยถูกจำสนมด้วยโซ่(โซ่ทองคำเชิญไว้บนพานไม่ได้ล่าม) ท่านดำรงวรกายตามปกติแต่ส่วนพระหทัยของท่านก็ย่อมเต็มไปด้วยความโศกเศร้าเสียใจ จนขุนนางผู้ใหญ่ท่านหนึ่งมีจดหมายมาเปรยๆให้พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่5ฟังว่า "กระหม่อมทราบมาว่าท่านพระองศ์ใหญ่ยิ่งแลดูซูบโซมไปมาก" หม่อมยิ่งทรงตรอมพระทัยมากกับเรื่องที่เกิดขึ้นและสิ้นพระชนม์ในเวลาต่อมาด้วยพระชนม์35ปี.
ในส่วนของโอรสท่าน"จดหมายเหตุพระราชกิจรายวัน วันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2429 ลูกหม่อมยิ่งนั้นเอาออกไปไว้ที่วังกรมหลวงอดิศรอุดมเดช" หลวงเทววงศ์วโรประการ(แสน) รับเป็นบิดา เมื่อเติบโตจึงได้รับราชการเป็นนายพันตรี หลวงศักดาพลรักษ์(เสข) ตำแหน่งผู้อำนวยการโรงพยาบาลทหารบก ต่อมาได้รับพระราชทานนามสกุลในรัชกาลที่ 6 ว่า"ธรรมสโรช" พ.ศ. 2457อายุ 28 ปี
เมื่อพระศักดาพลรักษ์(เสข) ได้รับพระราชทานนามสกุลแล้ว ในวงญาติของพระสำราญหฤทัย(อ้าว) บิดาของเจ้าจอมมารดาแพ มารดาของพระองค์เจ้าหญิงยอดยิ่งเยาวลักษณ์อรรควรสุดา จึงใช้นามสกุลพระราชทานร่วมกันต่อมาทั้งตระกูล ตระกูลนี้จึงมีพระศักดาพลรักษ์(เสข) เป็นต้นตระกูล
หลังเกิดเรื่องฉาวของหม่อมยิ่งเป็นต้นมานั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงออกกฎมณเฑียรบาลใหม่เพิ่มขึ้นอีก 2 ข้อ เพื่อมิให้เกิดเหตุการณ์ดังกล่าวซ้ำรอยขึ้นอีก คือ พระที่จะมาเทศน์ที่วัดพระแก้วได้ต้องเป็นพระที่มีอายุเกิน 45 ปี และเจ้านายฝ่ายในต้องเป็นสตรีสูงอายุที่มีอายุมากกว่า 40
ซ้าย ภาพตัวอย่างรูปแบบวังที่ประทับที่กำลังเป็นที่นิยมในขณะนั้น
ขวา กรมหลวงอดิศรอุดมเดช ผู้รับโอรสออกไปเลี้ยง
โฆษณา