Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
คลังประวัติศาสตร์ไทย
•
ติดตาม
14 มี.ค. 2023 เวลา 06:13 • ประวัติศาสตร์
นางร้องไห้ในงานพระศพ
ภาพด้านบน:มอญร้องไห้ ในงานพระบรมศพสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี ๒ ธันวาคม ๒๕๒๗ ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท พระบรมมหาราชวัง
ภาพด้านล่าง:มอญร้องไห้ในงานพระศพสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา
ในสมัยกรุงศรีอยุธยาปรากฏหลักฐานการมีนางร้องไห้ในคำให้การ “ขุนหลวงหาวัด” อธิบายถึงการจัดงานพระราชพิธีพระบรมศพของพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ว่าได้เกณฑ์นางสนมกำนัลมาเป็นนางร้องไห้ ซึ่งในการร้องไห้จะควบคู่การประโคมมโหรีปี่พาทย์ ดังนี้ ...
“แล้วจึงกะเกณฑ์ให้พระสนมกำนับทั้งปวงมานั่งห้อมล้อมพระบรมศพ แล้วก็ร้องไห้เปนเวลาหน้าที่เปนอันมาก แล้วมีนางขับรำเกณฑ์ทำมโหรี กำนัลนารีน้อยๆ งามๆ ดั่งกินนร กินนรี มานั่งห้อมล้อม ขับรำทำเพลงอยู่เปนอันมาก แล้วจึงให้ประโคมฆ้อง กลอง แตรสังข์ และมโหรีปี่พาทย์อยู่ทุกเวลา”
ธรรมเนียมการพระศพนี้ ทำสืบเนื่องมาถึงสมัยรัตนโกสินทร์ เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 โปรดเกล้าฯ ให้จัดงานพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 ซึ่งมีนางร้องไห้ และประโคมกลองชนะตามเวลา เหมือนอย่างพระมหากษัตริย์แต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา
วิธีการร้องไห้ต้องใช้คนจำนวนมาก ส่วนใหญจะใช้นางพระสนม นางพระกำนัล หรือผู้ที่ได้ถวายตัว มีต้นเสียง 4 คน และมีคู่ร้องรับประมาณ 80-100 คน
ครั้งสุดท้ายที่มี “นางร้องไห้” ตามราชประเพณี คืองานพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ผู้ที่ได้รับมอบหมายให้จัด “นางร้องไห้” คือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงทิพยรัตนกิริฏกุลินี โดยให้เจ้าจอมและพนักงานคอยร้องให้ตามบท ในเวลาประโคมย่ำยาม คือ ย่ำรุ่ง เที่ยง ย่ำค่ำ ยาม สองยาม สามยาม มีเจ้าจอมหม่อมราชวงศ์สดับ ลดาวัลย์ เจ้าจอมพระองค์สุดท้ายในรัชกาลที่ 5 เป็นต้นเสียงร้องนำ
ประวัติศาสตร์
1 บันทึก
6
1
6
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย