15 มี.ค. 2023 เวลา 00:57 • หุ้น & เศรษฐกิจ

BID OFFER (2)

Case 4.1 ส่งคำสั่งซื้อฝั่ง Offer (จำนวนน้อยกว่า Offer) : จำนวนที่นักลงทุนต้องการซื้อจะไปลดที่ Volume ที่ราคานั้น (ดูจากภาพหน้าปก)
Case 4.2 ส่งคำสั่งซื้อฝั่ง Offer (จำนวนมากกว่า Offer) : จำนวนที่นักลงทุนซื้อจะไปลดที่ Volume ที่ราคานั้น โดยส่วนที่เหลือจะเปลี่ยนไปฝั่ง Bid
ความหนา - บางของ Bid Offer
1.พิจารณาจาก Volume ของ Bid Offer ในแต่ละแถว โดยจะให้ความสำคัญกับ 3 แถวบนเป็นหลัก
2.โดยทั่วไป Volume ของ Bid Offer ที่มีค่าตั้งแต่หลักแสนขึ้นไปจะถือว่า "หนา" และถ้าน้อยกว่าหลักแสนลงมาจะถือว่า "บาง"
3.ในหุ้นบางตัวเราจะใช้การเปรียบเทียบ Volume ระหว่าง Bid Offer เพื่อเปรียบเทียบความหนา-บาง ดังนั้น ถึงแม้ Volume น้อยกว่าหลักแสนก็อาจจะพิจารณาว่าหนา หรือมีค่าอยู่หลักแสนก็อาจจะพิจารณาว่าบางได้
กลไกการเกิด Bid Offer
- ฝั่ง Bid จะเป็นฝั่งเงิน ส่วนฝั่ง Offer จะเป็นฝั่งหุ้น
- Offer หนา Bid บาง เป็นสัญญานที่ดี : ต้องดูแนวรับ-ต้าน ประกอบ
รายใหญ่เอาเงินมาขวางไว้ที่ ฿50 - ถ้ารายใหญ่ต้องการให้ลงมากกว่านี้ มันก็จะเอาเงินลงมาวางในจุดที่ต่ำกว่า
ฝั่ง Bid เราใช้เงินในการวาง ฝั่ง Offer ใช้หุ้น... Offer หนา ถึงจะดี
- รายใหญ่ต้องการทุบราคา เค้าจะปล่อยหุ้นออกมาขายให้รายย่อย
- รายใหญ่ต้องการให้รายย่อยออกมารับของแทน
กลไกในการพาราคาขึ้น = ปล่อยของออกมาขวางไว้เยอะๆ ทำให้รายย่อยคิดว่าขึ้นยาก
** รอเอาของคืน **
รายใหญ่ก็จะทำการกวาดซื้อหมด จนทำให้ราคาขึ้น - สุดท้ายรายย่อยก็จะมาซื้อที่ราคาแพง
ประโยชน์ในการวิเคราะห์ Bid Offer
1. กำหนด Position Size ที่เหมาะสม
- นักลงทุนควรสังเกตุ Volume ในฝั่ง Bid เพื่อกำหนดจำนวนหุ้นที่จะทำการซื้อ โดยไม่ควรซื้อหุ้นเป็นจำนวนมากกว่า Volume ในฝั่ง Bid เพราะนักลงทุนจะสามารถขายหุ้นได้ทั้งหมดที่ราคา Bid แถวบนสุด
2.กำหนดความหนัก-เบาของหุ้น
- ความหนัก-เบาของหุ้น : ความแรงในการปรับตัวขึ้น-ลงของราคาหุ้น (วันที่หุ้นวิ่งจะวิ่งแรงทั้งขาขึ้นและลง)
- หุ้นที่มี Volume น้อยมักจะเบากว่าหุ้นที่มี Volume เยอะ : การพิจารณาความหนัก-เบาจาก Bid Offer เป็นเพียงองค์ประกอบหนึ่งเท่านั้น และหุ้นบางตัวถึงแม้จะมี Bid Offer หนา ก็จัดเป็นหุ้นเบา เพราะมีความผันผวนสูง
3.เป็นแนวรับแนวต้าน
4.บอกถึงความสนใจของนักลงทุน (การพักตัวหรือพร้อมจะวิ่ง) : ถ้าพักตัว Bid จะบาง
ข้อระวังในการใช้ Bid Offer
1. การวิเคราะห์ Bid Offer ควรใช้กระกอบกับองค์ประกอบอื่นๆด้วย เช่น เทรนของหุ้น แนวรับ-ต้าน รูปแบบแท่งเทียน เป็นต้น
2. การวิเคราะห์ Bid Offer เป็นเพียงความน่าจะเป็น และไม่สามารถใช้ได้ในทุกกรณี
3. การวิเคราะห์ Bid Offer เป็นการจับอารมณ์การซื้อขายของผู้เล่นในตลาดระยะสั้น ดังนั้นจึงเหมาะกับการเก็งกำไรระยะสั้นมากกว่า
4.การที่นักลงทุนให้ความสำคัญกับ Bid Offer มากเกินไป มีโอกาสที่จะทำให้นักลงทุนขายหุ้นเร็วเกินไป
5.นักลงทุนสามารถเลือกใช้เพียงแค่กราฟเพื่อประกอบการลงทุนโดยไม่ต้องใช้ Bid Offer (การใช้ Bid Offer เป็นเพียงองค์ประกอบเสริมเท่านั้น)
6.หุ้นขนาดเล็ก (MAI) ในช่วงที่เป็นเทรนขาลง หรืออยู่ในระยะสะสม ( Accumulation ) มักจะมี Volume Bid Offer น้อยผิดปกติ หรือไม่มีสภาพคล่อง

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา