15 มี.ค. 2023 เวลา 06:33 • หุ้น & เศรษฐกิจ

วิกฤติ Bank run

ล่าสุดที่เป็นข่าวร้อนระดับโลกในวงการการเงิน ที่ธนาคารหลายแห่งถูกปิดตัวลง ไล่มาตั้งแต่ Silvergate, Silicon Valley Bank (SVB), First Republic และ Signature Bank ซึ่งอาจมีรายต่อๆไปไล่ตามมาอีก
อย่างไรก็ตาม วิกฤติครั้งนี้ ไม่ใช่วิกฤติที่เหมือนอย่างซับไฟรม์ (Subprime Mortgage crisis) หรือ Humberger crisis ช่วง 2008 ซึ่งเกิดมาจากความล้มเหลวในการปล่อยสินเชื่อและสินทรัพย์อสังหาริมทรัพย์
ครั้งนี้เกิดจากวิกฤติความเชื่อมั่นในธนาคารซึ่งทำให้เกิด “Bank Run”
Bank Run เป็นคำที่ใช้เรียกสถานการณ์ที่ผู้ฝากเงินแห่เข้าไปถอนเงินที่ธนาคารในช่วงเวลาพร้อมๆกัน ทำให้ธนาคารขาดสภาพคล่องและอาจไม่สามารถมีเงินเพียงพอให้กับผู้ฝากทุกรายได้
ซึ่งในโลกนี้ ไม่ว่าธนาคารไหนก็ตาม ถ้าหากผู้ฝากเงินทุกรายเข้าไปถอนเงินออกมาพร้อมๆกัน ไม่มีธนาคารไหนสามารถจ่ายเงินออกให้ได้กับทุกคน เพราะรูปแบบธุรกิจของธนาคาร คือ เอาเงินฝากมาหมุนปล่อยกู้/ลงทุน
ซึ่งไม่ใช่ว่าเอาเงินเข้ามา 100 บาท แล้วจะปล่อยกู้ออกไปแค่ 100 บาท อาจเป็น 5-6 เท่าของยอดเงินฝาก รับฝากมา 100 บาท อาจปล่อยออก 500 บาท ขึ้นอยู่กับนโยบายสัดส่วนที่แต่ละธนาคารหรือประเทศนั้นๆกำหนด
ซึ่งในกรณีของ Silicon Valley Bank (SVB) ซึ่งเป็นธนาคารใหญ่ธนาคารหนึ่ง ดำเนินการมากว่า 40 ปี เกิดวิกฤติศรัทธาหลังจากผู้บริหารออกมากล่าวถึงการขายพันธบัตรระยะยาวออกส่วนหนึ่ง ด้วยมูลค่าที่ลดลงเนื่องจากการเพิ่มขึ้นของดอกเบี้ยอย่างรุนแรงของFED และด้วยต้นทุนเงินฝากที่สูงขึ้น รวมถึงผลดำเนินการของกลุ่มลูกค้าที่เป็น Start up ซึ่งถือเป็นลูกค้ากลุ่มหลักกลุ่มหนึ่งที่ดำเนินธีกิจในลักษณะ raise fund และ cash burn (ลงทุนจำนวนมาก โดยไม่หวังกำไรในช่วงแรกๆ เหมือน อย่าง Grab, Lazada, Shopee)
ดังนั้น SVB จึงต้องมีการระดมเพิ่มทุน ซึ่งจุดฉนวนให้กับวิกฤติความเชื่อมั่นนี้ และเกิด Bank Run ในที่สุด ก่อนที่รัฐบาลจะเข้ามาควบคุมดูแล
ในยุคปัจจุบัน Bank Run เป็นเหตุการณ์ที่น่าตะหนกมากกว่าในอดีต เพราะมีเทคโนโลยีสื่อสารกระจายข่าวได้อย่างรวดเร็ว ไม่เหมือนสมัย the Great Depression 1931 ที่ Bank Run จะลุกลามอย่างช้าๆ
โฆษณา