Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
MindStory
•
ติดตาม
15 มี.ค. 2023 เวลา 10:08 • ปรัชญา
เบปปุ
"คินสึงิ (金継ぎ)" ความสุขที่งดงาม ในความไม่สมบูรณ์แบบของชีวิต
เพื่อน ๆ เคยรู้สึกไม่พอใจในความไม่สมบูรณ์แบบของตัวเองกันบ้างไหม ?
ไม่พอใจที่ว่า… ทำไมเราถึงไม่สมบูรณ์แบบเหมือนกับคนอื่น ๆ ? (ที่เราเลือกเปรียบเทียบ)…
ทำไมเวลาที่ล้มเหลว เราถึงได้ลุกช้ากว่าคนอื่น ๆ … ?😖
ทั้ง ๆ ที่เราได้ทำในสิ่งตัวเองถนัดแล้วแท้ ๆ …
แต่ทำไมมันถึงยังออกมาไม่ได้ดั่งใจสักที ชักเริ่มท้อใจแล้วนะ… 😥😭
ถ้าเพื่อน ๆ เคยรู้สึกกันมาบ้าง
อยากจะบอกว่า เพื่อน ๆ ไม่ได้เดียวดายนะ
พวกเรา 2 คนเองก็เคยรู้สึกแบบนี้ (ในบางทีตอนนี้ก็อาจจะมีบ้าง)
บางทีแล้ว… แนวคิดแบบญี่ปุ่นที่สุดแสนจะเรียบง่ายอย่าง "คินสึงิ (金継ぎ)" อาจเป็นตัวช่วยที่ดีเพื่อให้เราเปลี่ยนมุมมองกับชีวิตให้ดีและมีความสุขกับปัจจุบันมากขึ้น
ว่าแต่ แนวคิดที่ว่านี้เป็นอย่างไร ?
ให้พวกเรา MindStory ค่อย ๆ พาเพื่อน ๆ ไปรู้จักกันนะ 🥰👋
คิน (Kin/金) แปลว่า “ทอง”🪙
สึงิ (Tsugi/継ぎ) แปลว่า “การเชื่อม/ผนึก” 🔧
นำ 2 คำ มารวม จะเป็นคำว่า “คินสึงิ (金継ぎ)” ที่แปลว่า “การผนึกด้วยทองคำ”
อ่านดูแล้วอาจจะงงกันไปบ้าง 😇
แต่ก็คงไม่แปลก เพราะว่า คินสึงิ (金継ぎ) มันเป็นวิธีซ่อมแซมถ้วยชามมาตั้งแต่สมัยโบราณของญี่ปุ่น
🎎🏯 ต้องเล่าย้อนกลับไปในช่วง ค.ศ. 1450 ในสมัยที่ โชกุน อาชิกางะ ส่งเครื่องชามปั้นดินเผาที่แตก ไปยังประเทศจีนที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องนี้ โดยหวังว่าจะได้รับการซ่อมแซมให้เหมือนใหม่อีกครั้ง
แต่ทว่า… เครื่องชามปั้นดินเผา (โดยเฉพาะถ้วยชา) ที่ถูกซ่อมเสร็จจากประเทศจีน กลับไม่เป็นที่พอใจของโชกุนอาชิกางะ สักเท่าไร.. 😞
เพราะหน้าตามันยังดูมีรอยเชื่อมของเหล็กและลวดเย็บ ที่ดูไม่สวยงาม
กระนั้นแล้ว โชกุน จึงได้ให้ช่างเชื่อมชาวญี่ปุ่นไปหาวิธีตกแต่งให้ถ้วยชามเหล่านี้ ดูสวยงาม
ช่างชาวญี่ปุ่นจึงนำยางรักไปผสมกับผงทองคำ เข้ามาเชื่อมตรงรอยบิ่นและรอยซ่อมจากลวดเย็บของเดิม
ด้วยตัวยางตัวนี้จะทำให้ถ้วยชามดินเผาที่ถูกซ่อม มีความคงทนมากขึ้น
ส่วนผงทอง ก็เพื่อทำให้รอยร้าวดูสวยงาม
ถึงจะสวยงามอย่างไร… ก็ยังคงมีรอยร้าวปรากฎให้เห็นอยู่ นั่นละนะ 🍵🤲
🤓 🍵 แล้วทำไมจู่ ๆ เขาถึงไปเปรียบเทียบวิธีการซ่อมถ้วยชามแบบนี้ เข้ากับการพัฒนาจิตใจตัวเองได้ละ ?
นั่นก็เพราะว่า… จิตใจที่แตกร้าวของเราเอง ก็สามารถซ่อมให้มันดีขึ้นได้นะ
💔 รอยแผลในใจของเรา บางทีมันก็เหมือนกับถ้วยชาดินเผาของโชกุน อาชิกางะ
มันยังคงมีแผลเป็น ยังคงเป็นรอยร้าวอยู่ แต่มันเป็นรอยร้าวที่ถูกซ่อมแซมจนกลับมาสวยงามได้อีกครั้ง
กว่าที่ถ้วยชามที่แตกกระจาย จะถูกนำแต่ละส่วนที่แตกประกอบกันให้เป็นถ้วยดังเดิม
มันก็ต้องเวลา ใช้ความพยายาม ใช้เทคนิคการซ่อม
ถ้วยชามมันยังจับต้องได้เนอะ เป็นการซ่อมที่เป็นรูปธรรม
แต่ว่า..จิตใจของมนุษย์ พวกเรามองว่ามันยากกว่านั้น.. มันจับต้องไม่ได้
แบบนี้ เรายิ่งต้องให้เวลาเพื่อเยียวยาบาดแผลทางจิตใจ ไม่ต้องไปรีบเร่งให้ตัวเองหายดี
ไม่งั้นเราก็อาจจะเป็นเหมือนกับ ถ้วยชามที่ถูกซ่อมแบบลวก ๆ
ต่อให้อนาคต เราอาจทำผิดพลาดในที่ที่เดิมอีกครั้ง (กระแทกแผลเก่า..)
มันไม่ได้ดูมีความสมบูรณ์หรอก.. แต่ว่านี่ละ ! คือความสวยงามแล้วของความไม่สมบูรณ์
เราแค่ต้องเรียนรู้จากมันมากขึ้น เพื่อที่จะได้รับมือกับอนาคตที่ไม่แน่นอนบนความไม่สมบูรณ์แบบให้ได้มากขึ้น
(ถ้าแน่นอนแปลว่า เราคงต้องทำนายอนาคตได้แล้ว ใช่ไหมละเนอะ ?)
หนึ่งในส่วนที่เราชอบจากแนวคิดนี้ คือ เค้าบอกให้เราโอบกอดคำตำหนิ ความผิดพลาด ความไม่สมบูรณ์(อาจจะขาดเกิน ๆ) ของตัวเรา
เพราะความสุขที่งดงาม มันจะต้องเริ่มจากที่ตัวเราก่อน
แล้วมันคงจะเริ่มจากตัวเราไม่ได้…หากเราไม่ยอมรับ และไม่พึงพอใจในสิ่งที่เป็นอยู่ปัจจุบัน
เพื่อน ๆ ว่าแนวคิดนี้ คล้าย ๆ กับหลักคิดอะไรกันบ้างไหมเอ่ย ?
สำหรับเรา คิดว่า มันจะไปมีความคล้ายคลึงกับ แนวคิด Wabi – Sabi (วาบิ ซาบิ) ที่ว่าด้วยการค้นหาความงามของความไม่สมบูรณ์แบบและความไม่สมมาตร และให้มองไปที่ความเรียบง่าย
Wabi – Sabi กลายเป็นหนึ่งในแนวคิดของการออกแบบและตกแต่งห้องจากความเรียบง่ายและความไม่สมบูรณ์แบบ
อันที่จริงแล้ว หลักของคินสึงิสามารถนำเข้าไปใช้กับหลักแนวคิดพัฒนาตัวเองในรูปแบบอื่น ๆ ของญี่ปุ่นได้ด้วยอีกเยอะเลย (เช่น Gaman, Yuimaru, SHŌ GA NAI, Ganbatte, Kansha)
ไว้พวกเราจะหยิบแนวคิดเหล่านี้มาเล่าให้เพื่อน ๆ อ่านกันอีกนะคร้าบ 🤗🙏
แหล่งอ้างอิงเพิ่มเติม
- บางส่วนจากหนังสือ KINTSUGI เขียนโดย Tomas Navarro
-
https://www.blockdit.com/posts/605967d3ddb7ec2f5828b843
-
https://www.marumura.com/kintsugi/
-
https://urbancreature.co/kintsugi/
พัฒนาตัวเอง
จิตวิทยา
แนวคิด
บันทึก
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย