15 มี.ค. 2023 เวลา 13:44 • ความคิดเห็น

วิเคราะห์ "ทำไมชุดนักเรียนไทย ถึงโดนใจชาวจีน"

ทำไมกระแส "ชุดนักเรียนไทย" ถึงจุดติดในกลุ่มนักท่องเที่ยวจีนขนาดนี้?
2
นอกจากเรื่องที่ดาราใส่แล้ว มีประเด็นอื่นๆเช่น ปัจจัยด้านสังคม วัฒนธรรม อะไรพวกนี้หรือไม่?
นี่คือคำถามที่ผมได้รับมา และผมขอวิเคราะห์ในบทความนี้ครับ
ต้องยอมรับว่า ในช่วงสิบกว่าปีที่ผ่านมา คนจีนไม่น้อยมีโอกาสได้รับรู้เรื่องราวของไทยเป็นอย่างมาก ทั้งผ่านสื่อบันเทิงพวกภาพยนตร์ละครที่เข้าไปตีตลาดในจีน โดยเฉพาะภาพยนตร์ละครซีรีย์วัยรุ่น
1
โดยถ้ายุคบุกเบิกเลย ก็อย่างเช่น รักแห่งสยาม สิ่งเล็กเล็กที่เรียกว่ารัก ซึ่งล้วนแต่ปรากฎชุดนักเรียนไทยอยู่ในเรื่อง
1
โดยเฉพาะเรื่องสิ่งเล็กเล็กที่เรียกว่ารัก ที่ในสื่อและโลกออนไลน์จีน เมื่อนำเสนอกระแสชุดนักเรียนไทย ก็จะมีการอ้างอิงถึงภาพยนตร์เรื่องนี้
บันเทิงไทยในยุคหลังจากยุคบุกเบิกในจีน ตามที่ผมระบุไปข้างต้น ๆก็มีอีกหลายเรื่องที่มีตัวละครหลักเป็นวัยเรียน วัยมัธยม อย่างเช่น ฉลาดเกมส์โกง
และต้องยอมรับว่าซีรีย์วายหลายเรื่องที่เป็นที่นิยมในจีน ณ ปัจจุบัน ก็เป็นเรื่องราวของวัยรุ่น ทั้งระดับมัธยมปลายและมหาวิทยาลัย ซึ่งปรากฎชุดนักเรียน ชุดนักศึกษา ทำให้คนจีนได้เห็นและรับรู้ว่า นี่คือชุดนักเรียน นักศึกษาของในไทยนะ
1
โดยชุดนักเรียนไทย มีความแตกต่างจากในจีนพอสมควร เนื่องจากถ้าในระดับโรงเรียนประถมและมัธยมจีนจะเป็นลักษณะของชุดวอร์ม ภายในชุดวอร์มนั้นจะใส่เป็นเสื้ออะไรก็ได้ทั่วๆไป
2
ส่วนถ้าเป็นมหาวิทยาลัย จะใส่ชุดอะไรก็ได้แบบที่บ้านเราเรียกว่า ไปรเวท ความแตกต่างตรงนี้จึงทำให้เกิดความสนใจ และกลายเป็นภาพจำไปแล้วว่า นั่นคือเครื่องแต่งกายของนักเรียนนักศึกษาไทย
นอกจากนี้ หากดูแคปชั่น และความคิดเห็นของคนจีนที่โพสต์เรื่องราวชุดนักเรียนไทย ในแพลตฟอร์มโซเชียลจีนหลักๆที่เป็นกระแส ก็คือ โต่วอิน (Douyin เป็นชื่อ TikTok เวอร์ชันจีน)
และรวมถึงใน Xiaohongshu (เทียบเคียงได้กับ Instagram) อีกหนึ่งโซเชียลที่คนจีนนิยม ซึ่งเป็นโซเชียลไลฟ์สไตล์ คนจีนชอบโพสต์แชร์ โดยเฉพาะเกี่ยวข้องกับต่างประเทศ ชีวิตไปเที่ยว อะไรต่างๆ
แคปชั่นไม่น้อย ขจะมีอ้างถึงคำว่า JK ซึ่งมาจาก Joshi Kousei ภาษาญี่ปุ่น อันหมายถึง นักเรียนหญิงมัธยมปลาย ซึ่งคำนี้ว่ากันตามตรง ก็ใช้ได้ทั้งแบบกลางๆ และด้านมืด
2
JK ในความหมายที่คนจีนใช้คู่กับประเด็นชุดนักเรียนไทย ก็คือ เป็นJKเวอร์ชั่นไทย หมายถึง ชุดนักเรียนไทย นั่นเอง
1
นี่จึงสื่อให้เห็นว่า ความเป็นจริงแล้ว คนจีนรับรู้เกี่ยวกับชุดนักเรียนของประเทศอื่น โดยให้ความสนใจของชุดนักเรียนญี่ปุ่นมาก ในลักษณะของเอามาใส่เป็นชุดทั่วไป ชุดใส่เที่ยว ชุดแฟชั่น หรือชุดคอสเพลย์ (Cosplay) แม้แต่ในไทยเอง ทำให้พอชุดนักเรียนไทยเป็นกระแส ก็อยากจะใส่ตาม ซึ่งคิดว่าใส่ได้ เหมือนกับชุดนักเรียนญี่ปุ่น
อ้ายจงยังได้วิเคราะห์ข้อมูลจากปริมาณการค้นหาคำที่เกี่ยวข้องบน Baidu ซึ่งยังคงเป็นแพลตฟอร์มค้นหาข้อมูล (ลักษณะเดียวกับ Google) ที่คนจีนยังนิยมใช้เป็นหลัก ก็พบว่า
เมื่อเทียบเวลาเดียวกัน คนจีนค้นหาคำว่า ชุดนักเรียนญี่ปุ่น มากกว่า ชุดนักเรียนไทย ประมาณเท่าตัว
และถ้าเทียบกับคำว่า JK制服 ซึ่งหมายถึง ชุดยูนิฟอร์มนักเรียนหญิงมปลายญี่ปุ่น ที่มีขายทั่วไปบนโลกออนไลน์จีน พบว่าต่างกันหลายสิบเท่า โดยชุดนักเรียนไทย จะค้นหาเพียงหลักร้อยต่อวัน ในขณะที่ JK制服 ค้นหาหลายพันต่อวัน
เมื่อวิเคราะห์เพิ่มเติมไปอีก ทำให้พบอีกว่า จริงๆแล้วคำว่า ชุดนักเรียนไทย มีปริมาณการค้นหาใน Baidu ในหลักหลายพันใน1วัน ในช่วงปลายเดือนตุลาคมปี 2555 (2012) ซึ่งมากที่สุด นับตั้งแต่มีการค้นหาคำนี้ใน Baidu และ มากกว่า ณ ตอนนี้ที่กำลังเป็นกระแสเสียอีก
เมื่อไล่ตามไปดูข้อมูลที่ปรากฎบนBaiduในช่วงเวลาดังกล่าว ปี 2555 พบว่า มีคอนเท้นที่รีวิวเกี่ยวกับชุดนักเรียนประเทศต่างๆ และระบุว่า ชุดนักเรียนชุดนักศึกษาไทยเป็นหนึ่งในชุดที่มีความน่าสนใจที่สุด และยังเป็นช่วงที่หนัง LOST IN THAILAND หนังที่มีการถ่ายทำในไทย ถ่ายทอดเรื่องราวในไทย ที่ดังเป็นพลุแตกในจีน จนเกิดการเที่ยวตามรอยของคนจีนในประเทศไทย
ที่น่าสนใจอีกอันคือ ผมได้สัมภาษณ์คนจีน เพื่อนของผมเอง และนักศึกษาจีน
1
จำนวนไม่น้อย รู้สึกว่าเป็นกระแสในโลกออนไลน์เท่านั้น ยังไม่เห็นคนใกล้ตัว หมายถึงในประเทศจีนเอง ในเมืองของที่พวกเขาอยู่มีการเอามาใส่จริงจัง ถ้าเทียบกับชุดนักเรียนหญิงญี่ปุ่น
2
โดยชุดนักเรียนไทย พวกเขาบอกว่า เห็นแต่ในโลกโซเชียล ที่คนจีนไปไทยแล้วไปใส่
2
อย่างไรก็ตาม อ้ายจงได้ตรวจสอบบน E-commerce ภายใต้คำถามที่ว่า "ในจีนมีการขายและเริ่มมีการใส่ชุดนักเรียนไทยในจีนบ้างหรือไม่? หรือเกิดขึ้นแค่ในไทย ในกลุ่มนักท่องเที่ยวจีนที่ไปไทย"
1
เมื่อค้นหาคำว่า 泰国 (ไทย)ใน Taobao (เถาเป่า) E-commerce จีน และเลือกเรียงลำดับตามจำนวนยอดขาย
1
สินค้าชุดนักเรียนไทยของร้านหนึ่ง อยู่ในอันดับต้นๆ โดยบางร้านที่ขายระบุว่ามียอดขายรายเดือน มากกว่า8000ออร์เดอร์และเริ่มมีรีวิวบนเถาเป่า ว่าซื้อแล้วนำไปใส่ถ่ายรูปตามสถานที่ต่างๆซึ่งอยู่ในจีน แต่ก็ยังไม่ถือกับเป็นกระแสหลักวงกว้าง สำหรับกรณีใส่ในจีนนะครับ
ในมุมมองของอ้ายจงต่อกระแสชุดนักเรียนไทยในกลุ่มนักท่องเที่ยวจีน ผมมองว่า ถือเป็นโอกาสที่ดีที่ทางไทยเรา จะใช้เป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยว การค้าและการรับรู้เกี่ยวกับไทย โดยควรจะมีการให้ข้อมูลอย่างถูกต้อง หากมีข้อกังวลเรื่องกฎหมาย แต่โดยรวม ผมมองว่าเป็นมุมบวกนะครับ
เขียนโดย ภากร กัทชลี อาจารย์ประจำภาควิชาการตลาด คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และเจ้าของเพจอ้ายจง
2
#อ้ายจง #เล่าเรื่องเมืองจีน #ชีวิตในจีน #ไทย #จีน #กระแสสังคม #กระแสโซเชียล
1
โฆษณา