16 มี.ค. 2023 เวลา 08:00 • หุ้น & เศรษฐกิจ

กำเนิด Fed กว่าจะมาเป็น ‘ธนาคารกลางสหรัฐฯ’

รู้หรือไม่ว่า ธนาคารกลางแห่งแรกของโลก เกิดขึ้นครั้งแรกที่เนเธอร์แลนด์ (ดัสต์) ในปี 1609
จุดเริ่มต้นที่ทำให้ต้องมีธนาคารกลาง ต้องย้อนไปในช่วงศตวรรษที่ 7 ที่มหาอำนาจทางทะเลอย่างสเปน เริ่มอ่อนกำลังลง
เพราะพ่ายแพ้สงครามให้ British Empire
ดังนั้นพื้นที่ทางทะเลค่อนข้างโล่ง
ชาวดัสต์ซึ่งเป็นพ่อค้า นักเดินทาง และนักเดินเรือที่เก่ง ก็เริ่มเดินเรือไปหาอาณานิคมและหาสินค้ามาค้าขายให้กับประเทศในยุโรป
แต่การเดินทางจะเกิดขึ้นไม่ได้ ถ้าไม่มีระบบทางการเงินที่เข้มแข็ง
เลยคิดว่า จะต้องสถาปนา “ธนาคารกลาง” ขึ้นมา
พอ British Empire เห็นว่าดัซต์มีการสถาปนา ธนาคารกลาง ก็คิดว่าตัวเองก็ส่งเรือไปล่าอาณานิคมและทำการค้าขาย แต่ยังไม่มีระบบการเงินที่เข้มแข็ง
เลยคิดว่าจะเลียนแบบชาวดัตซ์
ด้วยการตั้งธนาคารกลางของอังกฤษ หรือ Central Bank of England ในปี 1694 ซึ่งถือเป็นกระดูกสันหลังของ British Empire จากวันนั้นถึงวันนี้
แล้วจากแนวคิดการตั้งธนาคารกลางของยุโรปมาถึงสหรัฐฯ ได้อย่างไร
เรื่องนี้ เริ่มจากอาณานิคมอเมริกา (American Colonies) ประกาศอิสรภาพจากจักรวรรดิอังกฤษ (British Empire) ในวันที่ 4 กรกฎาคม ค.ศ. 1776
หรือก่อนที่จะสถาปนากรุงเทพฯ 6 ปี
พออังกฤษจะถูกขับออกจากสหรัฐฯ
บรรดาบิดาผู้ให้กำเนิดสหรัฐฯ เห็นพ้องว่า สหรัฐฯ ต้องมีสกุลเงินของตัวเอง
และควรมีธนาคารกลาง
ในเวลานั้น สหรัฐฯ ยังใช้เงินปอนด์ พอมีไอเดียว่าต้องมีสกุลเงินของตัวเอง
กลายเป็นว่าได้เริ่มหันมาใช้สกุลเงินใหม่ คือ Continentals
แต่หลังจากเริ่มใช้ไปไม่กี่ปี​ พบว่า เงิน Continentals ไม่ได้รับความเชื่อถือจากใครเลย เพราะสินทรัพย์ที่อยู่เบื้องหลัง คือ จำนวนภาษีที่จะเก็บได้ในอนาคต
ดังนั้นเงินสกุลนี้เลยไม่ได้รับการยอมรับเท่าไหร่
จนปี 1792 สหรัฐฯ ได้สถาปนาสกุลเงินใหม่ โดย 1 สกุลเงินจะมีค่าเท่ากับ 1 เหรียญเงินของเม็กซิโก หรือ 1 เปโซเม็กซิกัน
เพราะตอนนั้นเม็กซิโก ใช้สกุลเงินเดียวกับสเปนซึ่งถือว่าเป็นมหาอำนาจ
เลยผูกค่าเงินไว้ด้วยกัน
โดยเรียกแบบเดียวกับคนเม็กซิกัน เรียกเงินว่า Pezo และ Dolar
หลังจากนั้นชาวอเมริกันก็เริ่มก่อตั้งธนาคาร สร้างระบบการเงินต่างๆ จนเติบโต
ต่อมาคนอเมริกันเริ่มมองว่าเศรษฐกิจในสหรัฐฯ ยังไม่ค่อยมีเสถียรภาพ
เลยเสนอว่าน่าจะมีการตั้งธนาคารกลาง
แต่บรรดานายธนาคารในสหรัฐฯ บอกว่า เราอย่าไปเลียนแบบเจ้าอาณานิคมเดิม อย่างอังกฤษ เราควรให้ธนาคารแต่ละแห่งมีอิสระ
เลยไม่ได้ตั้งอีก
โดยก่อนหน้านั้น ก็มีการพยายามจะตั้งธนาคารกลางมา 2 ครั้ง แต่ล้มเหลว
ครั้งแรกปี 1791 เรียกว่า First Bank of America
ครั้งที่สองปี 1816 เรียกว่า Second Bank of America
โดยเหตุผลหลักๆ เพราะคนอเมริกัน เห็นว่าไม่เห็นจำเป็นต้องมีธนาคารกลาง ในเมื่อทุกธนาคารก็เดินหน้าด้วยตัวเอง
จนปี 1906 เกิดเหตุการณ์ใหญ่ คือ แผ่นดินไหวที่ซานฟานซิสโก รัฐแคลิฟอเนีย
เป็นแผ่นดินไหวที่รุนแรงที่สุดของสหรัฐ
มูลค่าความเสียหายอยู่ที่ 400 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ถ้าคูณอัตราเงินเฟ้อเข้าไป จะเทียบเท่า 9,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปัจจุบัน
บริษัทที่มีการรับประกันในสหรัฐเวลานั้น เป็นสัญชาติอังกฤษ ซึ่งต้องมีการจ่ายสินไหมทดแทนให้ซานฟานซิสโก
แต่เพราะมีสภาพคล่องน้อย ไม่สามารถจ่ายเงินก้อน 400 ล้านได้
สิ่งที่ทำคือ ไหนๆ ตัวเองก็เป็นส่วนหนึ่งของระบบเศรษฐกิจสหรัฐ เพราะมีการทำการค้ากัน
เลยใช้วิธีดึงสภาพคล่องที่ให้คนสหรัฐฯกู้เงิน ออกมาจากระบบ
จะได้มีเงินมาจ่ายเป็นค่าสินไหม
การกระทำเช่นนั้น ส่งผลให้เศรษฐกิจสหรัฐขาดสภาพคล่องอย่างรุนแรง
ตลาดหุ้น Wall Street ปรับตัวลง 50% จากช่วงพีคในปี 1906
ประกอบกับในเวลานั้น หุ้นของบริษัท United Copper Company
ซึ่งเป็นบริษัทที่มีเหตุฉ้อฉลก่อนหน้าเกิดเหตุแผ่นดินไหว ทำให้ผู้คนเกิดสติแตกและวิ่งไปที่ธนาคาร เพื่อถอนเงินที่เหลิอในบัญชีออกมาให้หมด
พูดง่ายๆ ว่าเกิดปรากฏการณ์ Bank Run
ในเวลานั้นวุฒิสภาสหรัฐ ชื่อว่า Nelson Aldrich มองว่าสถานการณ์ปั่นป่วนแบบนี้
เพราะสหรัฐฯ ไม่มีธนาคารกลาง ในการสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ
ทำให้ผู้คนในระบบเศรษฐกิจไม่มีความเชื่อมั่นว่า ถ้าธนาคารนี้ ถูกถอนเงินจนหมดเกลี้ยง ใครจะเป็นผู้หันมารับประกัน
ในเวลา Nelson Aldrich เข้าไปหารือกับหนึ่งในมหาเศรษฐีชาวอเมริกัน ที่เป็นคนยิวเกิดที่เยอรมนี ชื่อว่า Paul Moritz Warburg
และช่วยกันตั้งธนาคารกลางสหรัฐ
ขณะที่บรรดานายธนาคารในนิวยอร์กรู้แล้วว่า ควรมีระบบที่เป็นถึงเงินสำรองของประเทศ
แต่ปัญหา คือ ใครจะลงเงินก้อนแรกให้ธนาคารกลาง
หนึ่งในคนที่เชื่อในไอเดียเรื่องการมีธนาคารกลางนี้และยอมควักเงินออกมา ชื่อว่า John Pierpont Morgan ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งธนาคาร JP Morgan
หลังจาก John Pierpont Morgan ลงเงินก้อนแรก นายธนาคารคนอื่นๆ ก็ทยอยเทเงินลงไป เพื่อเป็นเงินก้อนกลาง
เงินก้อนนี้ มีไว้ทำไม?
ต้องบอกก่อนว่า ธนาคารกลางเกิดจากความเชื่อว่า ประเทศต้องมีถุงเงินสำรอง
ไม่ว่าเกิดอะไรกับเศรษฐกิจประเทศ อย่างน้อยยังมีเงินกองกลาง มากู้ภัยระบบเศรษฐกิจกันได้
เลยตั้งชื่อว่า The Federal Reserve หรือ ธนาคารกลางสหรัฐ
ซึ่ง รัฐสภาผ่านรัฐบัญญัติระบบธนาคารกลาง และสถาปนาระบบธนาคารกลางสหรัฐ อย่างเป็นทางการในปี 1913
เท่ากับว่าตอนนี้ FED เป็นธนาคารกลางที่มีอายุ 110 ปี นั่นเอง
ที่มา : WEALTH HISTORY EP.5
โฆษณา