Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Bnomics
•
ติดตาม
17 มี.ค. 2023 เวลา 01:00 • หุ้น & เศรษฐกิจ
10 อันดับธนาคารสหรัฐฯ ใหญ่ที่สุดที่ล้มละลายในรอบ 20 ปีหลัง
การประกาศล้มละลายของ Silicon Valley Bank (SVB) และ Signature Bank กลายเป็นการล้มละลายของธนาคารสหรัฐฯ ที่ใหญ่ที่สุดอันดับ 2 และ 3 นับตั้งแต่มีการบันทึกข้อมูลในเดือนตุลาคมปี 2000
โดยมูลค่าความเสียหายที่เกิดขึ้นในกรณีของ SVB พวกเขามีเงินฝากมูลค่าสูงถึง 175.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และมีทรัพย์สินรวมกว่า 209 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งถือว่าเป็นมูลค่าที่ไม่น้อยทีเดียว
ทว่า การล้มลายของ SVB ก็ยังไม่ใช่การล้มลายของธนาคารสหรัฐฯ ที่ใหญ่ที่สุดตั้งแต่บันทึกมาตั้งแต่ปี 2000
โดย 10 อันดับธนาคารสหรัฐใหญ่ที่สุด (ในแง่จำนวนเงินฝาก) ซึ่งล้มละลายมีดังต่อไปนี้
1.Washington Mutual Bank ล้มละลายเมื่อ กันยายน 2008
เงินฝาก 188 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
ทรัพย์สิน 307 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
2.Silicon Valley Bank ล้มละลายเมื่อ มีนาคม 2023
เงินฝาก 175.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
ทรัพย์สิน 209 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
3.Signature Bank ล้มละลายเมื่อ มีนาคม 2023
เงินฝาก 88.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
ทรัพย์สิน 110.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
4.Colonial Bank ล้มละลายเมื่อ สิงหาคม 2009
เงินฝาก 20 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
ทรัพย์สิน 25 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
5.IndyMac Bank ล้มละลายเมื่อ กรกฎาคม 2008
เงินฝาก 19.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
ทรัพย์สิน 32 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
6.Guaranty Bank ล้มละลายเมื่อ สิงหาคม 2009
เงินฝาก 12 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
ทรัพย์สิน 13 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
7.Downey Saving and Loan Association ล้มละลายเมื่อ พฤศจิกายน 2008
เงินฝาก 9.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
ทรัพย์สิน 12.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
8.BankUnited ล้มละลายเมื่อ พฤษภาคม 2009
เงินฝาก 8.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
ทรัพย์สิน 12.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
9.AmTrust Bank ล้มละลายเมื่อ ธันวาคม 2009
เงินฝาก 8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
ทรัพย์สิน 12 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
10.Corus Bank ล้มละลายเมื่อ กันยายน 2009
เงินฝาก 7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
ทรัพย์สิน 7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
จะสังเกตเห็นได้ว่า อันดับหนึ่งของธนาคารใหญ่ที่สุดที่ล้มละลาย คือ Washington Mutual Bank ด้วยมูลค่าเงินฝากตอนล้มละลายกว่า 188.0 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งต้องไม่ลืมด้วยว่า มูลค่านี้เกิดขึ้นตั้งแต่เมื่อประมาณเกือบ 15 ปีที่แล้ว
นอกจากนี้ ใน 10 อันดับแรก ยังมีถึง 8 อันดับที่เกิดขึ้นในช่วงวิกฤติการเงินปี 2008-2009 ส่วนอีก 2 อันดับพึ่งจะเกิดขึ้นในช่วงเดือนมีนาคม 2023 อย่างที่เรารู้กัน
อย่างไรก็ดี ในตอนที่เริ่มเกิดปัญหาที่ SVB และ Signature Bank นั้น ผู้คนต่างก็เริ่มไม่แน่ใจ และเริ่มแห่ไปถอนเงินออกจากสถาบันการเงินอื่นๆ เพราะกลัวว่า ปัญหาจะลุกลาม และทำให้ธนาคารอื่นๆ ล้มละลายตามไป เหมือนตอนวิกฤติการเงินโลกปี 2008 ที่ธนาคารล้มตามกัน
ซึ่งรัฐบาลสหรัฐฯ ก็เข้าใจถึงปัญหาและเข้ามาจัดการอย่างรวดเร็วผ่านการรับประกันเงินฝากส่วนที่ไม่ได้รับการรับประกันจากกองทุนประกันเงินฝากของสหรัฐฯ เลยทำให้สถานการณ์นิ่งขึ้นระดับหนึ่ง
แต่ตอนนี้ สายตาของตลาดไม่ได้จับจ้องไปที่ธนาคารในสหรัฐฯ อย่างเดียวแล้ว เพราะ ข่าวล่าสุดจากฝั่งทางภาคพื้นทวีปยุโรปสร้างความหนักใจให้กับพวกเขามากกว่า
โดยในขณะนี้ Credit Suisse ธนาคารสัญชาติสวิสซึ่งเป็นหนึ่งในธนาคารที่สำคัญในระบบการเงินโลก พึ่งขอกู้เงินจากธนาคารกลางสวิสเป็นมูลค่าราว 1.8 ล้านล้านบาท (Nominal GDP ของไทยประมาณ 17 ล้านล้านบาท เงินกู้ครั้งนี้มากกว่า 10% ของ GDP ไทยเสียอีก) เพื่อให้รอดจากปัญหาสภาพคล่อง และการขาดทุนสะสมการดำเนินธุรกิจในช่วงไม่กี่ปีหลัง
ที่ทางการของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ยอมให้เงินกู้ยืมแบบนี้ ก็ทำให้นึกถึงว่า Credit Suisse เป็นอีกหนึ่งบริษัทที่ใหญ่เกินกว่าจะปล่อยให้ล้มได้ (Too Big to Fail) แต่การที่ภาครัฐเข้ามาช่วยเหลือธนาคารแบบนี้ก็จะสร้างความไม่พอใจกับประชาชนบางส่วนที่อาจจะมองว่า ทำไมต้องนำเงินภาษีมาช่วยเหลือธุรกิจที่ดำเนินการอย่างไม่ระมัดระวังด้วย
ต้องติดตามกันต่อไปว่าเรื่องนี้จะไปจบลงที่ใด ความเสียหายจะมากขนาดไหน กฎเกณฑ์ภาคการเงินในอนาคตจะเข้มงวดขึ้นหรือไม่ และจะมีใครต้องออกมารับผิดชอบกับสิ่งที่เกิดขึ้นกันบ้างครับ
เขียน : ณัฐนันท์ รำเพย Economist, Bnomics
ภาพประกอบ : จินดาวรรณ อรรถมานะ Graphic Designer, Bnomics
Bnomics - Bangkok Bank Economics
'Be an Economist for Everyone'
วิเคราะห์ เจาะทุกประเด็นเศรษฐกิจ ให้เป็นเรื่องง่ายสำหรับคุณ
References:
●
https://www.dw.com/en/credit-suisse-to-borrow-54-billion-from-swiss-central-bank/a-65003479
●
https://www.fdic.gov/resources/resolutions/bank-failures/failed-bank-list/
●
https://www.visualcapitalist.com/largest-bank-failures-modern-history/
ธนาคาร
ธนาคารกลาง
สหรัฐอเมริกา
4 บันทึก
15
1
11
4
15
1
11
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย