16 มี.ค. 2023 เวลา 16:40 • ข่าวรอบโลก

“มาครง” ใช้อำนาจพิเศษผ่าน “ร่างกฎหมายบำนาญฉบับใหม่” โดยไม่ต้องลงมติในสภา

ขยายอายุเกษียณในฝรั่งเศสเป็น 64 ปี
  • #พิษสังคมผู้สูงอายุในฝรั่งเศส เกิดอะไรขึ้นใน “ฝรั่งเศส” มาทำความเข้าใจกันก่อนอ่านข่าวต่อ
ปัจจุบันคนฝรั่งเศสที่อยู่ในวัยเกษียณจะได้รับเงินบำนาญจากรัฐ เฉลี่ยอยู่ที่ 1,400 ยูโรต่อเดือน (ประมาณ 51,000 บาท) เงินจำนวนนี้มาจากเงินสมทบของแรงงานในระบบ
ดังนั้นเมื่อประชากรผู้สูงอายุมีจำนวนมากขึ้น จึงส่งผลต่อเสถียรภาพของเงินกองทุนบำนาญในปัจจุบัน นำมาสู่การขยายอายุเกษียณและการกำหนดอัตราการจ่ายเงินบำนาญใหม่ ที่เรียกว่า “แผนปฏิรูประบบบำนาญ”
กระทรวงแรงงานของฝรั่งเศสประมาณการว่า การเลื่อนอายุเกษียณออกไปอีก 2 ปี จะช่วยให้รัฐสามารถยืดระยะเวลาในการจ่ายเงินคืนได้ และจะทำให้มีเงินสมทบในกองทุนบำนาญเพิ่มขึ้น 17.7 พันล้านยูโร โดยระบบบำนาญแบบใหม่จะมีจุดคุ้มทุนภายในปี 2027
2
ตาม “แผนปฏิรูประบบบำนาญ” ของรัฐบาลฝรั่งเศส คือ การขยายอายุสำหรับผู้เบิกเงินบำนาญจาก 62 เป็น 64 ปี ภายในปี 2030 และขยายอายุผู้ที่ต้องจ่ายเงินเข้าสู่ระบบบำนาญเต็มจำนวนจาก 42 เป็น 43 ปี และมีเป้าหมายที่จะลดการให้เงินบำนาญขั้นต่ำเหลือ 1,200 ยูโรต่อเดือน (ประมาณ 43,750 บาท) [จากเดิม 1,400 ยูโรต่อเดือน]
  • ทั้งหมดทั้งมวลก็เพราะเกิดจาก “สังคมผู้สูงอายุ” ทำให้รัฐบาลฝรั่งเศสเริ่มมีปัญหาในการบริหารเงินกองทุนบำนาญนั่นเอง
ดังนั้นแล้วประชาชนฝรั่งเศสจึงมองว่า รัฐบาลกำลังยื้อเวลาจ่ายเงินพวกเขาคืน? และจ่ายน้อยลงอีกต่างหาก
สังคมผู้สูงอายุในฝรั่งเศส เครดิตภาพ: News in France
ในปี 2019 “มาครง” แสดงความพยายามปรับปรุงระบบบำนาญของฝรั่งเศสเป็นครั้งแรกในสมัยของเขา นำไปสู่การนัดหยุดงานทั่วประเทศ ประกอบกับการแพร่ระบาดของโควิด-19 วาระนี้จึงถูกปัดตกไป
  • หลังโควิด-19 การประท้วงนอกสภาระลอกแรก เกิดขึ้นในวันที่ 19 มกราคม 2023 ประชาชนกว่า 1.1 ล้านคน ร่วมหยุดงานและเดินขบวนประท้วง นับเป็นการเคลื่อนไหวครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่การประท้วงประธานาธิบดี “นีกอลา ซาร์กอซี” ผู้นำฝ่ายขวาในปี 2010 ที่มีนโยบายเพิ่มอายุเกษียณจาก 60 เป็น 62 ปี
หลังจากนั้นก็มีการประท้วงเป็นระลอกเป็นต้นมา โดยมีสหภาพแรงงานต่างๆในฝรั่งเศสนัดหยุดงาน ไม่ว่าจะเป็นการรถไฟ บริการสาธารณะต่างๆ แม้แต่กลุ่มครูก็นัดหยุดสอน ถึงแม้จะมีการต่อต้านขนานใหญ่ทั่วประเทศ แต่ทว่า “เอ็มมานูเอล มาครง” ประธานาธิบดีฝรั่งเศส ก็ยังคงยืนกรานที่จะผลักดันแผนปฏิรูประบบบำนาญต่อไป
เครดิตภาพ: Joel Saget/AFP
  • 16 มีนาคม 2023: จนได้ข้อสรุปแล้วยังไงก็ต้องไปต่อ เมื่อวันพฤหัสบดี “รัฐบาลฝรั่งเศส” ใช้อำนาจพิเศษตามรัฐธรรมนูญในการผ่านร่างกฎหมายบำเหน็จบำนาญที่ถกเถียงกันโดย “ไม่มีการลงมติในรัฐสภา” ซึ่งถือว่าอันตรายมากในการบริหารภายใต้ของประธานาธิบดีเอ็มมานูเอล มาครง
1
วุฒิสภารับรองร่างกฎหมายเพื่อเพิ่มอายุเกษียณเป็น 64 ปี ในช่วงเช้าวันพฤหัสบดี แต่การลงคะแนนเสียงในสภาล่างหรือสภาแห่งชาติที่กำหนดไว้ในช่วงบ่ายถูกมองว่าเข้มข้นมาก
1
การตัดสินใจนี้มีขึ้นเพียงไม่กี่นาทีก่อนกำหนดการลงคะแนนเสียง เนื่องจากรัฐบาลฝรั่งเศสไม่มั่นใจที่จะสามารถรับประกันได้ว่าจะควบคุมเสียงข้างมากสำหรับการผ่านร่างนี้ในสภาแห่งชาติได้หรือไม่ ซึ่งเป็นสภาล่างของฝรั่งเศส
  • สุดท้ายแล้วร่างนี้ก็ผ่านจนได้ จะมีการเพิ่มอายุเกษียณจาก 62 เป็น 64 ปี โดยเป็นกฎหมายหลักในวาระที่สองของมาครง
  • ความเคลื่อนไหวดังกล่าวคาดว่าจะจุดชนวนความไม่ไว้วางใจอย่างรวดเร็ว และสร้างความสั่นคลอนให้กับรัฐบาลของ “มาครง” โดยเห็นได้จากผลสำรวจความคิดเห็นภายในประเทศ ชี้ว่าชาวฝรั่งเศส 2 ใน 3 คัดค้านการปฏิรูปเงินบำนาญและสนับสนุนกลุ่มผู้ประท้วง
ภาพวิดีโอเหตุการณ์ความวุ่นวายในสภาล่างของฝรั่งเศส หลังมาครงตัดสินใจใช้อำนาจพิเศษตามรัฐธรรมนูญผ่านร่างกฎหมายบำนาญฉบับใหม่ โดยไม่ต้องมีการลงมติ ตามลิงก์ด้านล่าง
  • “ฝรั่งเศส” ใช้งบประมาณเกือบ 14% ของ GDP ไปกับเงินบำนาญของรัฐ ซึ่งคิดเป็นอัตราที่สูงที่สุดในกลุ่มประเทศองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD)
ถึงแม้ว่าแผนการขยายอายุเกษียณเป็น 64 ปี สำเร็จ ฝรั่งเศสก็ยังมีเกณฑ์อายุเกษียณที่ต่ำกว่าประเทศยุโรปหรือในประเทศพัฒนาแล้วอื่นๆ ซึ่งมักมีอายุขั้นต่ำเพื่อรับเงินบำนาญเต็มจำนวนที่ 65 ปี และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
สหภาพแรงงานในฝรั่งเศสเคยเสนอรัฐบาลว่า ยังมีวิธีอื่นๆ ที่จะทำให้ระบบบำนาญดำเนินต่อไปได้อย่างราบรื่น เช่น การเก็บภาษีเพิ่มขึ้นจากคนรวยระดับอภิมหาเศรษฐี หรือการขอให้นายจ้างรวมถึงผู้รับบำนาญที่ได้รับสิทธิพิเศษบางประการบริจาคเงินเข้ากองทุนให้มากขึ้น เป็นต้น
เครดิตภาพ: Pixabay
เรียบเรียงโดย Right SaRa
16th Mar 2023
  • แหล่งข่าวอ้างอิง:
  • เครดิตภาพปก:
พื้นหลัง - STEPHANE MAHE / AFP
ในกรอบสี่เหลี่ยม - AP Photo/Michel Euler
โฆษณา