20 มี.ค. 2023 เวลา 03:00

คน GEN ใหม่ รับมือกับความคาดหวังจากผู้ใหญ่ อย่างไร เมื่อความคิดไม่ตรงกัน

ความแตกต่างระหว่างวัยนั้นเป็นปัญหาที่เป็นที่ถกเถียงเรื่อยมา ไม่ว่าจะเป็นประเด็นเรื่องความต่างวัย ระหว่างพ่อ แม่ ลูก ไปจนถึงความต่างระหว่างวัยในสถานที่ทำงาน ผู้ปกครองเป็นผู้มีอิทธิพลสำคัญ ในการพัฒนาอาชีพและการตัดสินใจด้านอาชีพของคนรุ่นใหม่ ไม่มากก็น้อย
แน่นอนว่า คุณพ่อ คุณแม่ ต่างก็ต้องการให้ลูกพบความสุขและประสบความสำเร็จในชีวิต เริ่มตั้งแต่ ความคาดหวังที่พ่อแม่มีต่อการศึกษาและอาชีพการงานของลูก การตั้งเป้าหมาย การเป็นบุคคลต้นแบบสำหรับลูกๆ ไปจนถึงค่านิยมที่ผู้ปกครองแสดงต่อคนในครอบครัว และสังคม ซึ่งหนึ่งในปัจจัยที่จะส่งผลต่อความสุขและความสำเร็จก็คือการเลือกเส้นทางอาชีพ
มีงานวิจัยชี้ว่า เด็กจะมีความมั่นใจในความสามารถของตนเองมากขึ้นเมื่อพวกเขาได้รับการสนับสนุน และรู้สึกเป็นที่รักจากพ่อแม่ อีกทั้งยังสามารถเลือกอาชีพที่น่าสนใจและน่าตื่นเต้น ซึ่งนี่เป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากมันได้แสดงให้เห็นว่า วัยรุ่นรู้สึกว่าตนเองมีความสามารถในการตัดสินใจ ในการเลือกอาชีพ โดยพวกเขามักจะเลือกอาชีพที่เป็นที่พึงพอใจมากขึ้นในภายหลัง
ผู้ปกครองมีอิทธิพลต่อระดับการศึกษา ความรู้เกี่ยวกับงาน อาชีพต่างๆ ความเชื่อและทัศนคติ ที่พวกเขามีต่อการทำงาน ไปจนถึงแรงจูงใจที่พวกเขาต้องประสบความสำเร็จ ซึ่งส่วนใหญ่เด็กจะเรียนรู้ และซึมซับทัศนคติโดยไม่รู้ตัว ทำให้ต้องใช้ชีวิตอยู่บนความคาดหวังของพ่อแม่เมื่อโตขึ้น
ในสังคมไทยเอง เรื่องของการทำงานไม่ตรงสาย หรือไม่ได้อยากทำงานในสิ่งที่เรียนจบมา นับว่าเป็นปัญหาของวัยรุ่นที่ได้ยินกันมาแล้วหลายต่อหลายรุ่น แล้วจะยิ่งทวีความกดดันในจิตใจ ของวัยรุ่นมากไปอีก หากพ่อแม่บีบบังคับ ให้ต้องทำในสิ่งที่ไม่ได้อยากทำ แน่นอนว่าผู้ปกครอง ย่อมต้องการให้ลูกตัวเอง เดินอยู่ในเส้นทางที่ปลอดภัยมากที่สุด แต่ถ้าเราไม่ได้มีความต้องการตรงกัน จะมีวิธีการรับมืออย่างไร?
ยิ่งในช่วงวัยนี้ ที่คนรุ่นใหม่เป็น Digital Native และเริ่มให้ความสนใจในสายงานใหม่ ๆ ที่ยุคพ่อแม่เราไม่คุ้นเคยอย่างงานด้านนวัตกรรม ที่มีความท้าทายยิ่งกว่างานยุคก่อน
🟥 เมื่อคน GEN ใหม่ต้องทำงานกับคนต่างวัย
ไม่เพียงแต่คนรุ่นใหม่จะต้องเผชิญกับความคาดหวังของผู้ใหญ่ในบ้านเท่านั้น เมื่อก้าวสู่โลกการทำงาน ต้องเจอกับผู้ใหญ่ในที่ทำงานเช่นกัน
สภาพแวดล้อมทางธุรกิจในปัจจุบันนั้นได้เป็นสถานที่ที่รวมคนรุ่นต่างๆ ให้มาทำงานเคียงข้าง เพื่อบรรลุเป้าหมายร่วมกัน สำหรับเจ้าของธุรกิจและผู้บริหาร การบริหารจัดการคนหลายรุ่น ในที่ทำงานนั้นไม่ง่ายอย่างที่คิด เนื่องจากคนแต่ละรุ่นที่ต่างมีความคาดหวัง รูปแบบการสื่อสาร และมุมมองที่แตกต่างกัน อย่างไรก็ตาม การใช้กลยุทธ์การจัดการที่ระบุลักษณะเด่นของคนรุ่นต่างๆ ในที่ทำงาน สามารถช่วยให้นายจ้างสามารถควบคุมจุดแข็งของพนักงาน และสามารถเพิ่มขีดการแข่งขันกันในตลาดได้ดียิ่งขึ้น
ความแตกต่างในด้านพฤติกรรมและมุมมองระหว่างกลุ่มคนที่เกิดในช่วงเวลาที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน ตัวอย่างที่สามารถเห็นได้ชัดในด้านการสื่อสาร เช่น Gen Z นั้นพึ่งพาเทคโนโลยีโดยใช้โซเชียลมีเดีย เป็นอย่างมาก ในขณะที่คนรุ่นเก่าอาจชอบการสื่อสารรูปแบบอื่น
ทางด้านบริบทการทำงานในสังคมไทย การทำงานที่อิงอยู่กับระบบอาวุโสนั้น ครอบงำอยู่ในสังคมไทยมาอย่างยาวนาน เด็กจบใหม่มากมายต่างประสบกับวัฒนธรรมองค์กร ที่อาจจะให้ความสำคัญต่ออายุในการทำงาน จนกระทั่งไม่สามารถแสดงศักยภาพที่มีได้อย่างเต็มที่ เมื่อเป็นเช่นนี้ คนรุ่นใหม่จะทำงานกับคนต่างวัยอย่างไรให้ราบรื่น?
อ่านบทความได้ที่ : https://bit.ly/3JN4Rlh
มาร่วม CONNEXT THE DOT ก้าวสู่โลกการทำงานอย่างมั่นใจไปด้วยกัน
——————————————————

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา