19 มี.ค. 2023 เวลา 11:00 • การศึกษา

## Episode32: Kinesiology of cervical spine#8

Spinal coupling movement ##
.
การเกิดspinal coupling movement คือการเกิดการเคลื่อนไหวร่วมกันมากกว่า1ทิศทางของกระดูกสันหลัง ซึ่งเกิดจากรูปแบบการวางตัวของfacet joint ดังนั้นการที่facet jointแต่ละระดับวางตัวไม่เหมือนกัน ก็จะทำให้coupling movement ของกระดูกสันหลังแต่ละระดับเกิดแตกต่างกันด้วย ในบทความนี้ผมจะมาพูดถึงกฎของการเกิดcoupling movement นะครับ
กฎของการเกิดspinal coupling movement หรือบางครั้งเราอาจจะเคยได้ยินในชื่อ "Fryette's law" เป็นกฎ3ข้อที่พูดถึงทิศทางการเคลื่อนไหวของกระดูกสันหลังที่เกิดร่วมกัน เป็นguidelineในการหาภาวะdysfunctionของกระดูกสันหลัง เพื่อนำไปสู่การรักษาต่อไปครับ
.
โดยที่กฎ2ข้อแรก จะถูกพัฒนาขึ้นโดย Dr. Fryette ในปี1918 และกฎข้อที่3 จะถูกพัฒนาขึ้นมาเพิ่มเติมภายหลังโดย C.R. Nelson ในปี1948
กฎข้อแรกจะพูดถึงspineที่อยู่ในneutral position เมื่อเกิดside bending ไปด้านหนึ่ง จะเกิดการrotationไปด้านตรงข้ามร่วมด้วยเสมอ
.
กระดูกสันหลังที่เข้ากฎข้อนี้คือ atlanto-occipital joint และกระดูกสันหลังตั้งแต่ระดับC7-L5
ปัญหาที่เกิดจากการมีปัญหาตามกฎข้อแรกเราจะเรียกว่าtype I dysfunction เราอาจจะเจอปัญหาที่คนไข้เอียงตัวไปด้านใดด้านหนึ่งง่ายกว่า แต่หมุนตัวไปอีกข้างหนึ่งได้ง่ายกว่า โดยอีกสิ่งหนึ่งที่จะช่วยconfirmได้อีกอย่างหนึ่งคือเมื่อspine อยู่ในท่าflexionหรือextension ภาวะนี้จะหายไป(เพราะกฎข้อนี้พูดถึงตอนที่spine อยู่ในneutral positionเท่านั้น) ก็จะสรุปได้ว่าเป็น type I dysfunction ครับ
สำหรับกฎข้อที่2 เราจะพูดถึงspineที่อยู่ในท่าflexionหรือextension(non-neutral position) เมื่อเกิดการside bending ไปข้างใดข้างหนึ่ง จะเกิดร่วมกับการrotationไปข้างเดียวกันด้วยเสมอ
.
กระดูกสันหลังส่วนที่จะเข้ากฎข้อนี้คือส่วนของC2-C7(เหมือนในบทความก่อนที่เมื่อเกิดlateral flexionที่mid-lower C จะเกิดrotationไปข้างเดียวกันด้วยเสมอ), ระดับL1-L5, L5-S1 ส่วนระดับthoracic จะเข้ากฎข้อที่2เฉพาะเมื่อเกิดrotationก่อน จะตามมาด้วยside bendingไปข้างเดียวกันครับ
สำหรับปัญหาที่เกิดจากการเคลื่อนไหวที่ไม่เป็นไปตามกฎข้อที่2 เราจะเรียกว่า "Type II dysfunction" แบ่งได้กว้างๆเป็น2แบบ คือ "stuck close" และ "stuck open" ตามตำแหน่งของfacet joint ข้อที่มีปัญหา(ซึ่งมักจะเป็นข้างซ้ายหรือขวา ข้างใดข้างหนึ่ง)
ถ้าเป็นstuck close จะหมายถึง facet joint ข้อใดข้อหนึ่ง ที่ติดlock อยู่ในท่าที่ชิดติดกัน(ท่าextension) ทำให้เมื่อเราทำท่าflexion แล้วfacet jointของข้อนั้นไม่ยอมเปิดออก(เฉพาะข้างที่ติด) จึงทำให้เมื่อเราflexion จะมีแนวโน้มที่facet jointข้อนั้น จะเกิดside bending และrotation ไปในข้างที่มีปัญหาได้ง่ายขึ้น การมีปัญหาในท่าflexionลักษณะนี้ ทำให้เราเรียกการมีปัญหาstuck closeอีกอย่างว่า "Flexion dysfunction" ก็ได้ครับ
ในกรณีที่เป็นstuck openจะตรงข้ามกันคือ จะมีfacet jointข้อใดข้อหนึ่ง ติดอยู่ในท่าที่เปิดออกจากกัน(ท่าflexion) ทำให้ตอนflexionไม่มีปัญหา แต่เมื่อextenion จะมีแนวโน้มที่facet jointข้อนั้นจะเกิดside bending และrotation ไปในด้านตรงข้ามได้ง่ายกว่า การที่มีปัญหาในท่าextensionลักษณะนี้ ทำให้เราเรียกการมีปัญหาstuck openอีกอย่างว่า "Extension dysfunction" ได้ครับ
สุดท้ายคือกฎข้อที่3 ถูกพัฒนาขึ้นมาภายหลังเพื่อให้การอธิบายการเคลื่อนไหวสมบูรณ์ขึ้น โดยกฎข้อที่3จะบอกว่าเมื่อเกิดการเคลื่อนไหวที่เพิ่มขึ้นในplaneใดplaneหนึ่ง จะไปลดการเคลื่อนไหวในอีก2planeที่เหลือลง คือเป็นการบอกว่าปัญหาการเคลื่อนไหวในplaneหนึ่งจะส่งผลเสียต่อการเคลื่อนไหวในplaneอื่นนั่นเองครับ
ในส่วนของการรักษาspinal dysfunction รูปแบบต่างๆนั้น โดยส่วนใหญ่จะใช้muscle energy technique ซึ่งมีรายละเอียดที่เยอะมาก แต่โดยconceptคร่าวๆคือ การset position ไปยังตำแหน่งที่มีresistance barrier แล้วให้ออกแรงต้านประมาณ10%ของmaximal effort เพื่อcorrect alignment
เช่นถ้ามีปัญหาtype II dysfunction stuck close Rt. side ซึ่งเป็นflexion dysfunction เมื่อflexion แล้วมีแนวโน้มจะเกิดside bendingกับrotation to Rt. เราก็จะset position ในท่าflexion, side bending to Lt., Rotation to Lt. โดยหาbarrier(แรงต้านแรก)ของแต่ละdirection แล้วให้คนไข้ออกแรงเกร็งต้านในด้านตรงข้ามด้วยแรงน้อยๆประมาณ10% ของmaximal effort ค้างไว้10วินาที แล้วหาbarrierใหม่ เป็นต้นครับ
ทั้งหมดนี้ก็เป็นกฎของcoupling motion ทั้ง3ข้อและconcept การแก้ไขเบื้องต้น สำหรับการรักษาจะมีdetailอีกหลายๆอย่างเลยครับ ใครสนใจลองศึกษาเพิ่มเติมกันดูได้นะครับ
ถ้าชอบเนื้อหาแบบนี้ผมฝากกด like กดแชร์ กดติดตามเพจphysioupskillด้วยนะครับ ส่วนถ้าใครมีข้อสงสัยอะไรก็commentไว้ด้านล่างได้เลยครับ
_PhysioUpskill_
#Physioupskill
⭐สำหรับใครที่อยากเรียนรู้เพิ่มเติม สามารถอ่านบทความอื่นๆได้ที่ https://physioupskill.com/บทความ/
หรือดูรายละเอียดคอร์สเรียนของเพจได้ที่ https://physioupskill.com/คอร์สเรียน/
ได้เลยครับ
Ref.
Neumann, D. A. (2016). Kinesiology of the Musculoskeletal System: Foundations for Rehabilitation. Mosby.
Chila, A. G. (2010). Foundations of Osteopathic Medicine. Lippincott Williams & Wilkins.
Dvorak, J., Dvorak, V., Gilliar, W. G., Schneider, W., Spring, H., & Tritschler, T. (2008). Musculoskeletal Manual Medicine: Diagnosis and Treatment. Thieme Medical Publishers.
Parsons, J., & Marcer, N. (2005). Osteopathy: Models for Diagnosis, Treatment and Practice. Elsevier Health Sciences.
โฆษณา