Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
SpacenScience TH
•
ติดตาม
29 มี.ค. 2023 เวลา 07:07 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
Kepler-444 ระบบไตรดาราห้าดาวเคราะห์
นักดาราศาสตร์ได้ตรวจสอบระบบดาวเคราะห์แห่งหนึ่งที่มีดาวฤกษ์สามดวงและดาวเคราะห์ห้าดวง และอาจจะไขปริศนาเกี่ยวกับการก่อตัวของมันได้
ภาพจากศิลปินแสดงดาวฤกษ์ดวงหนึ่งซึ่งมีดาวเคราะห์ห้าดวงโคจรรอบ
ระบบที่ไม่ปกติแห่งนี้ซึ่งมีชื่อว่า Kepler-444 ประกอบด้วยดาวฤกษ์ 3 ดวงและมีดาวเคราะห์อย่างน้อย 5 ดวง มีอายุราว 1.1 หมื่นล้านปี จากระยะอันยาวนานได้แสดงว่าระบบลักษณะนี้สามารถเสถียรอยู่ได้เกือบตลอดอายุของเอกภพ
มันอยู่ห่างออกไป 117 ปีแสงในทิศทางกลุ่มดาวพิณ(Lyra) ระบบแห่งนี้มีศูนย์กลางที่ Kepler-444A ดาวฤกษ์แคระส้ม(K0 star) และมีระบบดาวคู่แคระแดง(M-dwarf) ที่อยู่ใกล้กันในระยะประชิด(Kepler-444BC) โคจรรอบ A อีกที ที่ระยะทางประมาณ 66 AU มีดาวเคราะห์สี่ดวงที่โคจรรอบ A และดาวเคราะห์ทั้งห้าดวงมีรัศมีระหว่าง 0.4 ถึง 0.7 เท่าโลก และทุกๆ ดวงที่คาบการโคจรไม่ถึง 10 วัน
ทีมนักดาราศาสตร์ที่นำโดย Zhoujian Zhang จากมหาวิทยาลัยคาลิฟอร์เนีย ซานตาครูซ เพิ่งเริ่มต้นตรวจสอบคุณสมบัติในระบบที่แออัดแห่งนี้ให้แม่นยำมากขึ้นด้วยวิธีต่างๆ พวกเขาใช้ High Resolution Spectrograph บนกล้องโทรทรรศน์ฮอบบี้-เอเบอร์ลี ที่หอสังเกตการณ์แมกโดนัลด์ ในเทกซัส เพื่อตรวจสอบความเร็วแนวสายตา(radial velocity) ของ Kepler-444A
ความเร็วของดาวดวงนี้เปลี่ยนแปลงเมื่อมันถูกดึงให้แกว่งโดยวัตถุอื่นในระบบ ทีมของจางยังตรวจสอบความเร็วแนวสายตาเปรียบเทียบ ระหว่างดาวคู่กับดาวที่ใจกลาง โดยใช้ High Resolution Echelle Spectrometer ที่หอสังเกตการณ์เคก ในฮาวาย
การสำรวจดาวฤกษ์ที่ใจกลาง Kepler-444A และระบบคู่ Kepler-444BC
แรงดึงโน้มถ่วงจากดาวข้างเคียงเป็นสาเหตุให้ Kepler-444A มีเส้นทางที่ส่ายไปมาบนท้องฟ้า การตรวจสอบตำแหน่งที่เปลี่ยนแปลงนี้เรียกว่า astrometry ทีมของจางตรวจสอบตำแหน่งดาว Kepler-444A โดยใช้ NIRC2 บนเคก เมื่อปะติดปะต่อชิ้นส่วนเหล่านี้เข้าด้วยกัน ทีมก็เข้าใจระบบ Kepler-444 และความเป็นมาของมันได้ลึกขึ้น
การตรวจสอบระบบแห่งนี้ก่อนหน้านี้ได้บอกว่า ดาวคู่เคลื่อนที่เข้ามาจนถึงระยะทาง 5 AU จาก Kepler-444A นี่น่าจะทำลายดิสก์ก่อกำเนิดดาวเคราะห์ของ Kepler-444A ทำให้วัสดุสารที่จะใช้ก่อตัวดาวเคราะห์หายไปอย่างมาก จึงไม่ชัดเจนว่าดาวเคราะห์หินทั้งห้าก่อตัวขึ้นที่นั่นได้อย่างไร
ขณะนี้ อิงจากการตรวจสอบใหม่ ทีมของจางก็สรุปว่าคู่ Kepler-444BC นั้นเข้ามาในระยะแค่ 23 AU จาก Kepler-444A ระยะห่างที่มากขึ้นก็น่าจะนำไปสู่ดิสก์ก่อตัวดาวเคราะห์ที่มีขนาดใหญ่ขึ้นและมวลสูงขึ้น กระจายจนถึงระยะ 8 AU ทีมคำนวณว่าดิสก์ที่ว่าน่าจะมีฝุ่นราว 500 เท่ามวลโลกเพื่อสร้างดาวเคราะห์ขึ้นมา เมื่อเทียบกับฝุ่น 4 เท่ามวลโลกจากการประเมินก่อนหน้านี้ การมีอยู่ของดาวเคราะห์ทั้งห้าดวงจึงดูน่าปวดหัวน้อยลง
ช่องบน: ระยะห่างที่สำรวจ(วงกลมสีส้ม) กับระยะห่างตามแบบจำลอง(เส้นสีเขียว) ระหว่าง Kepler-444A กับ คู่ Kepler-444BC เส้นสีดำแสดงแบบจำลองที่สอดคล้องมากที่สุด ช่องล่าง: ค่าจากการสำรวจลบด้วยค่าจากแบบจำลอง
เมื่อนักดาราศาสตร์มีความเข้าใจเกี่ยวกับดาวเคราะห์นอกระบบมากขึ้น ก็จะชัดเจนว่ามีมากกว่าหนึ่งวิธีที่จะสร้างระบบสุริยะขึ้นมา
แหล่งข่าว
skyandtelescope.com
: a fresh look at Kepler-444’s ancient planetary system
ดาราศาสตร์
บันทึก
1
1
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย