Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
SpacenScience TH
•
ติดตาม
20 มี.ค. 2023 เวลา 08:08 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
Polar Crown Prominence
ดวงอาทิตย์กำลังเข้าสู่ช่วงที่มีกิจกรรมสูงที่สุด(solar maximum) ในวัฏจักรสุริยะรอบนี้ ซึ่งหมายความว่าจะต้องยิ่งตระหนักถึงสภาวะอวกาศ(space weather) แต่ก็ยังมีรายละเอียดที่น่าตื่นตะลึงอื่นๆ ก่อตัวขึ้นบนพื้นผิวดวงอาทิตย์ด้วย ล่าสุด นักถ่ายภาพดาราศาสตร์คนหนึ่งในอาร์เจนตินา ได้ถ่ายภาพ Polar Crown Prominence(PCP) ได้
Eduardo Schaberger Poupeau ถ่ายภาพนี้ได้ในวันที่ 9 มีนาคม ม่านพลาสมานี้สูงตระหง่านถึง 1 แสนกิโลเมตรเหนือพื้นผิวดวงอาทิตย์ ซึ่งก็เกินหนึ่งในสี่ระยะทางจากโลกถึงดวงจันทร์แล้ว เขาได้คำชี้แนะถึงรายละเอียดนี้จาก National Solar Observatory Global Oscillation Network Group และเริ่มถ่ายภาพแม้ต้องสู้กับคลื่นความร้อนและความแห้งแล้งในพื้นที่ ซึ่งทำให้ชั้นบรรยากาศฟุ้งด้วยฝุ่นและปั่นป่วน ด้วยการใช้กล้องที่มีอยู่ ก็เก็บภาพสิ่งที่น่าตื่นตะลึง
ผมตัดสินใจจะถ่ายรูปซะที เลยรีบเตรียมชุดอุปกรณ์จากหลังบ้านและใช้กล้องที่ดีที่สุดที่มีอยู่เพื่อให้ได้ภาพที่ดีขึ้น Schaberger Poupeau กล่าว ภาพที่เห็นบนจอแล๊ปท๊อปก็แทบไม่น่าเชื่อแล้ว เมื่อสามารถสำรวจเส้นด้ายพลาสมาหลายร้อยสายที่หยาดไหลลงตามกำแพงที่สูง 1 แสนกิโลเมตร ก็ทำให้ผมอึ้งจนพูดไม่ออก ผมใช้เวลาสองชั่วโมงถ่ายภาพเหล่านี้ พยายามที่จะหาช่วงเวลาที่ชั้นบรรยากาศมีความเสถียรมากที่สุดเท่าให้ได้ภาพที่ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้
Polar Crown Prominence image credit: Eduardo Schaberger Poupeau ภาพปก credit: wikipedia.org
PCPs เป็นพวยก๊าซสุริยะ(solar prominence) กลุ่มย่อย ซึ่งเป็นรายละเอียดที่พบได้ค่อนข้างทั่วไปบนดวงอาทิตย์ พวยก๊าซสุริยะปกติจะเป็นวงพลาสมาโค้งสวยงามที่พาดจากโฟโตสเฟียร์(photosphere) ออกสู่อวกาศแล้วโค้งกลับมาอีกครั้ง อย่างไรก็ตาม PCPs ไม่โค้งเป็นวง และเชื่อกันมายาวนานว่าแทบจะมีสภาพนิ่ง จนกระทั่งเมื่อเร็วๆ นี้ที่ยานฮิโนเดะ(Hinode) ของญี่ปุ่นเมื่อ 15 ปีก่อน ได้แสดงว่าจริงๆ แล้วมันเปี่ยมไปด้วยกิจกรรมแค่ไหน
รายละเอียดเหล่านี้พบได้ระหว่างละติจูด 60 ถึง 70 องศาบนซีกทั้งสองส่วนของดวงอาทิตย์ และอาจจะล้อมรอบพื้นที่ขั้วดวงอาทิตย์ด้วย ซึ่งเป็นเหตุผลที่บางครั้งก็ถูกเรียกว่า มงกุฏ(crown) PCPs เองก็เหมือนพวยก๊าซสุริยะอื่นๆ ที่กำกับโดยสนามแม่เหล็ก โดยวิ่งตามเส้นแรงในสนามแม่เหล็ก พลาสมาในรายละเอียดนี้ก็จะไหลกลับย้อนคืนสู่ดวงอาทิตย์เหมือนกับน้ำตก
สำหรับผมแล้ว การถ่ายภาพดวงอาทิตย์เป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้นเสมอ ทุกๆ วันผมจะรู้สึกทึ้งกับรายละเอียดบนพื้นผิวดวงอาทิตย์ที่เปลี่ยนแปลงไป, การเคลื่อนตัวของจุดดับดวงอาทิตย์(sunspots) เมื่อพวกมันเคลื่อนไหวไปตามการหมุนรอบตัวของดวงอาทิตย์ และการแปรสภาพเส้นใยหรือ การลุกจ้าอย่างฉับพลันในพื้นที่กิจกรรมสูงอื่นๆ Schaberger Poupeau กล่าว
ในขณะที่ก็คุ้มค่า แต่ขั้นตอนความพยายามก็ซับซ้อนและต้องใช้ความอดทนอย่างมาก คุณภาพของท้องฟ้ามีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งให้ได้ภาพที่ดี และผมก็มักจะต้องรอเป็นเวลานานเพื่อจับช่วงเวลาที่ชั้นบรรยากาศเสถียรเป็นช่วงสั้นๆ เพียงพอให้ถ่ายภาพได้ Schaberger Poupeau กล่าวเตือนไว้ว่า การถ่ายภาพทางดาราศาสตร์โดยเฉพาะดาราศาสตร์สุริยะยังเป็นเรื่องของการมีอุปกรณ์เหมาะสมมีฟิลเตอร์ที่เหมาะสมเพื่อจับช่วงความยาวคลื่นแสงที่ดวงอาทิตย์เปล่งออกมา
แหล่งข่าว
iflscience.com
: extraordinary photo shows a wall of plasma towering over the sun
ดาราศาสตร์
บันทึก
1
1
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย