19 มี.ค. 2023 เวลา 13:31 • ปรัชญา
ไม่ว่าเราจะเกิดจากความตั้งใจหรือไม่ตั้งใจ ก็ล้วนมีที่มา
เมื่อเกิดมาแล้ว บ้างก็ถูกเลี้ยงตามมีตามเกิด บ้างก็ได้รับการใส่ใจดูแล บ้างก็ไปโยนให้พ่อแม่เลี้ยงเพราะไม่พร้อม หลายคนจึงผูกพันกับปู่ย่าตายายมากกว่าพ่อแม่ก็ไม่ใช่เรื่องแปลก
บางคนทำแต่งานหาเงินเลี้ยงลูกไม่ได้มีเวลาให้ลูกมากนักก็ไม่ผูกพันกัน ลูกที่สำนึกดีเข้าใจพ่อแม่ ก็เป็นความโชคดีของพ่อแม่
เกิดมาเพื่ออะไร ?
เพื่อสร้างความดี จะจนจะรวยฉลาดโง่ เขาก็คิดดีทำดี เพราะสั่งสมมาก่อนแล้ว
เพื่อสร้างความชั่ว จะจนจะรวยจะฉลาดหรือโง่ มันก็จะสร้างแต่ปัญหา เห็นแก่ตัว สร้างแต่ความเดือดร้อน บางคนทำงานแล้วโตแล้วยังเบียดเบียนพ่อแม่ หัวร้อนโทสะแรง
ชอบใช้กำลัง คิดชั่วทำชั่ว ตามความรู้ความสามารถ เพราะสั่งสมมาแล้วในอดีตชาติ แต่ด้วยในอดีตชาติบางชาติเคยทำบุญมามากด้วยบุญจึงส่งผลได้มาเกิดเป็นมนุษย์ บ้างก็เกิดในชาติตระกูลดีรวย บ้างก็ยากจน ตามบุญกรรมที่ส่งผล
มหาลัยที่มีชื่อของสหรัฐ ได้ทำวิจัยล่าสุดเกี่ยวกับคนที่ระลึกชาติได้ทั่วโลกประมาณ 5,000 คน กล่าวหาทำนองว่าในทางพุทธศาสนา ไหนสอนว่าทำดีได้ดีทำชั่วได้ชั่ว
แต่จากงานวิจัย ทำไมหลายคนที่เกิดมารวย เป็นหมอ วิศวกร ทนาย เป็นนักธุรกิจ เป็นคนดีและประสบความสำเร็จ ชาติก่อน เป็นมาเฟีย เป็นอันธพาล เป็นโจรปล้นฆ่าข่มขืน เป็นฆาตกรโรคจิต เป็นสัตว์เดรัจฉานฯ
เขาตั้งข้อสังเกต โดยที่เขาไม่เข้าใจว่า คนเราเกิดมาหลายภพชาติมาก ทำดีบ้างชั่วบ้าง มากบ้างน้อยบ้าง สั่งสมมาช้านาน !
แม้พระโพธิสัตว์ก่อนมาเป็นพุทธองค์ ก็ยังเคยเกิดเป็นนักเลงอันธพาล เคยเกิดเป็นนก เคยเกิดในตระกูลยากจนคนจัณฑาล ฯ พระเทวทัตเคยเกิดเป็นพ่อพระโพธิสัตว์ พระสารีบุตรเคยเกิดเป็นลิง เป็นครูอาจารย์ พระสายอรัญวาสีที่มีชื่อของเรา ชาติก่อนก็เคยเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน ฯ
สิ่งที่สั่งสมมาในอดีตชาติล้วนมีอิทธิพล ต่อการเกิดมาเพื่อ.....?
บางคนอธิษฐานจิต เพื่อมาบำเพ็ญ หาโอกาสทำทานถือศีล และภาวนาเสมอ
บางคนเกิดมาใช้กรรม ลำบากแล้วยังลำเค็ญ ขยันแค่ไหนก็จน มีเท่าไหร่ก็ถูกโกง จนแล้วยังถูกข่มเหงรังแก มีลูกก็เหมือนไม่มี มีแล้วก็สร้างแต่ปัญหา .....
บางคนเกืดมามีแต่ความสุขสบายเสวยบุญเก่า เจอแต่กัลยาณมิตร ทำอะไรก็เจริญ ฟ้าเปิดทางตลอด จะเอาดีทางโลกก็ไม่ยาก จะเอาดีทางธรรมก็ไปได้สะดวก
หลายคน เสวยบุญเก่าบ้างชดใช้กรรมเก่าบ้าง ผสมกันไป ชีวิตขึ้นๆลงๆตามบุญที่ส่งผล กรรมเลวที่เคยทำไว้ส่งผล
สร้างบุญใหม่บาปใหม่ มากบ้างน้อยบ้าง ตามอำนาจโลภะโทสะโมหะที่ครอบงำ และกัลยาณมิตรที่เกื้อกูล
ชีวิตเกิดมาเพื่อ สั่งสมบุญ บาป
มีสติ ก็สร้างบุญ
สติอ่อน อำนาจกิเลสตัณหาครอบงำก็สร้างบาป ผิดศีลผิดธรรม
ชีวิตคนถูกกำหนดไว้แล้วจากบุญบาปที่สั่งสมมา และจากปัจจุบันกรรม ที่ทำเพิ่ม ไม่ว่ากรรมดี กรรมชั่ว
จิตเป็นกุศล หรืออกุศล บุญ บาปที่แต่ละคนทำ จิตมันรับรู้ และมันจะส่งผลให้รับรู้ เป็นระยะๆ บุญบาปที่ตรึงในดวงจิต มันจะรู้ได้ถึงสวรรค์ในอกนรกในใจเสมอ
ข้อคิดสำหรับศีลข้อหนึ่ง
ท่านโลกนาถภิกขุชาวอิตาเลียน มีหลักประจำตัวว่า "ภิกษุและอุบาสกอุบาสิกา ไม่ควรกินเนื้อสัตว์เลย" โดยอ้างว่า เป็นการล่วงศีลข้อหนึ่งทางอ้อม และขาดเมตตา
ในส่วนของเราก็เชื่อว่า ถ้าไมมีเจตนาก็ไม่เป็นกรรมอันจะให้ผล !
แต่ข้าพเจ้ามีข้อคิดบางอย่างซึ่งเห็นว่าเรา
ไม่ควรนิ่งกันอยู่ ควรเผยแผ่ให้รู้สึกไว้ทั่วกันเฉพาะผู้ที่ยังไม่เคยรู้สึก
ท่านโลกนาถกล่าวไม่ผิด ! ถ้าไม่จำเป็นแล้วภิกษุไม่ควรฉันเนื้อสัตว์เป็นอันขาด ! นี่คือหลัก ประเด็นที่จะได้อธิบายกันต่อไป...
เรามีข้อแม้ได้เมื่อมีเหตุจำเป็นทั้งเพื่อไม่ให้เป็นผู้เลี้ยงยาก...แต่เลี่ยงไม่กินเนื้อสัตว์ได้จะดีมากต่อการจัดการกิเลส และการมีเมตตา
ที่ท่านเตือน เพราะท่านเจตนาดี....
การกินผักจะมีดวงจิตที่สงบข่มตัณหาความหื่นความอยากมีน้อยโรคน้อยกำลังแข็งแรง
เนื้อสัตว์ควรกินแต่ที่จำเป็นจริงๆเท่านั้น !
ทำไมเราจึงไม่ควรกินเนื้อสัตว์(ในเมื่อไม่จำเป็น) ?
ฝ่ายธรรม......
1.เป็นการเลี้ยงง่ายยิ่งขึ้น นักเสพผักย่อมไม่มีเวลาที่ต้องกังวลใจเพราะอาหารไม่ถูกปากเลย
ส่วนนักเสพเนื้อสัตว์ต้องเลียบเคียงเพื่อได้อุททิสมังสะบ่อยๆ คนกินเนื้อสัตว์เพราะแพ้รสตัณหา กินเพราะตัณหา ไม่ใช่เพราะให้เลี้ยงง่าย
2.เป็นการฝึกในส่วนสัจธรรม สัจจะในการกินผักเป็นแบบฝึกหัดที่น่าเพลิน บริสุทธิ์สะอาด เราต้องฝึกทุกวัน จึงได้ผลเร็ว การฝึกใจด้วยเรื่องอาหาร
อันเป็นสิ่งที่เราบริโภคทุกวัน จึงเหมาะมาก อย่าลืมพระพุทธภาษิตที่มีใจความว่า สัจจะเป็นคู่กับผ้ากาสาวพัสตร์
3.เป็นการฝึกในส่วนทมธรรม (การข่มใจให้อยู่ในอำนาจ) คนเรามักเกิดมีทุกข์เพราะตัณหาหรือความอยากที่ข่มไว้ไม่อยู่
ผู้ที่ไม่มีการข่มรสตัณหา จักต้องเป็นทาสของความทุกข์ และถอยหลังต่อการปฏิบัติธรรม
การข่มจิตด้วยอาหารการกินก็เหมาะมากเพราะอาจมีการข่มได้ทุกวัน การข่มจิตเสมอเป็นของคู่กับผ้ากาสาวพัสตร์
ควรทราบว่า มันเป็นการยากยิ่ง ที่คนแพ้ลิ้นจะข่มตัณหาโดยเลือกกินแต่ผัก จากจานอาหารที่เขาปรุงด้วยเนื้อและผักปนกันมา!
จงยึดเอาเกมที่เป็นเครื่องชนะตน อันนี้เถิด
4.เป็นการฝึกในส่วนสันโดษ (การพอใจเท่าที่มีที่ได้) การฝึกเป็นนักเสพผักอย่างง่ายๆจะแก้ปัณหานี้ได้หมด สันโดษเป็นทรัพย์ของบรรพชิตอย่างเอก
5.เป็นการฝึกในส่วนจาคะ (การสละสิ่งอันเป็นข้าศึกแก่ความสงบหรือพ้นทุกข์) นักเสพผักมีดวงจิตบริสุทธิ์ผ่องใส
เกินกว่าที่จะนึกอยากในเมื่อเดินผ่านร้านอาหาร เพราะผักไม่ยั่วในการบริโภคมากไปกว่าเพียงเพื่ออย่าให้ตาย
ต่างกับเนื้อซึ่งยั่วให้ติดรสและมัวเมาอยู่เสมอ ความอยากในรสที่เกินจำเป็นของชีวิต ความหลงใหลในรส
ความหงุดหงิด เมื่อไม่มีเนื้อที่อร่อยมาเป็นอาหาร ฯลฯ เหล่านี้จะไม่มีในใจของนักเสพผักเลย
6.เป็นการฝึกในส่วนปัญญา (ความรู้เท่าทันดวงจิตที่กลับกลอก) การกินอาหารจะบริสุทธิ์ได้นั้น
ผู้กินต้องมีความรู้สึกแต่เพียงว่า "กินอาหาร" (ไม่ใช่การกินผักหรือเนื้อ คาวหรือหวาน) และเป็นอาหารที่บริสุทธิ์
ไม่มีอะไรดีไปกว่าอาหารผัก ที่จะเป็นอารมณ์อันบังคับให้ท่านต้องใช้ปัญญาพิจารณามันอยู่เสมอทุกมื้อ เพราะเนื้อสัตว์ทำให้หลงรส ผักทำให้ต้องยกใจขึ้นหารส
แต่ปัญญาของท่านต้องมีอยู่เสมอว่า ไม่ใช่จะไปนิพพานได้เพราะกินผัก เป็นเพียงการช่วยเหลือในการขูดเกลากิเลสทุกวันเท่านั้น
ฝ่ายทางโลก .....
1.ผักมีคุณแก่ร่างกายยิ่งกว่าเนื้อหรือไม่ วิทยาศาสตร์ปัจจุบัน ก็พอที่จะรับว่าจะทำให้มีโรคน้อย มีกำลังแข็งแรง
มีดวงจิตสงบกว่ากินเนื้อสัตว์
(ชาวอินเดียด้วยกัน ที่เป็นพวกกินเนื้อดุร้ายกว่าพวกที่เป็นพรามหมณ์ไม่กินเนื้อสัตว์โดยกำเนิด)
มีความหื่นในความอยาก-ความโกรธ ความมัวเมาน้อยลงเป็นอันมาก
2.ทางเศรษฐกิจ ราคาผักกับเนื้อสัตว์รู้ๆกันอยู่ อาหารเลวๆไม่ได้ทำให้คนโง่ลงเลย ยิ่งเนื้อและผักแล้ว เนื้อเสียอีกกลับจะทำให้โง่ คือหลงรสของมันจนเคยชิน
คนคนเดียวกันนั่นเอง ถ้าเขาเป็นนักเสพผัก จะเป็นคนเข้มแข็ง มีใจมั่นคง ไม่โยกเยกรวนเร ยิ่งกว่าเป็นนักเสพเนื้อสัตว์
(กินผักมากที่สุดกินเนื้อแต่เล็กน้อยเท่าที่จำเป็นจริงๆ ก็เรียกว่านักเสพผัก ผักหมายรวมถึงผลไม้-น้ำตาลสด-ขนมฯลฯ แม้จะหมายถึงนมด้วยก็ได้)
3.ธรรมชาติแท้ๆ ต้องการให้เรากินผัก ขอจงคิดลึกๆหน่อยว่าธรรมชาติสร้างสรรค์พวกเราให้มีความรักชีวิตของตนทุกๆคน
เราควรเห็นอกเห็นใจสัตว์ที่มีความรู้สึกด้วยกัน มิฉะนั้นก็ไม่มีธรรมะเสียเลย ลองส่องดูดวงใจเป็นกลางๆ ไปทั่ว
สัตว์ทุกตัวที่ต้องพลัดพรากจากผัว-เมีย-ลูก-แม่-พ่อ ฯลฯ โดยถูกฆ่าเป็นอาหาร แล้วลองเทียบถึงใจเราบ้าง
เมื่อเราอาจช่วย หรืออาจเสียสละรสที่ปลายลิ้นเพื่อช่วยชีวิตสัตว์ หรือผู้อื่นได้แล้ว
ธรรมของมนุษย์ (สัตว์มีใจสูง)จะไม่ช่วยให้เราทำเพื่อเห็นแก่อกเขาอกเราบ้างเทียวหรือ
แม้พระพุทธองค์ก็ทรงบำเพ็ญพระเมตตาบารมีอย่างกว้างขวาง ทำไมเราจึงไม่ช่วยในเมื่อเรารู้ว่าเราอยู่ในฐานะที่จะช่วยได้ แม้ว่าไม่ช่วยก็ไม่บาปก็ตาม ?
สำหรับภิกษุ ไม่จำเป็นจะต้องรับรู้มาถึงเหตุผลของฝ่ายโลกดังกล่าวมานี้ก็จริง
แต่เพราะเป็นเพศนำของเพศอื่น จึงควรดำรงอยู่ในอาการที่เป็นไปฝ่ายข้างพ้นทุกข์สงบเยือกเย็นอยู่เสมอ
ไม่เป็นคนดื้อด้านต่อเหตุผล ไม่เป็นคนเลี้ยงยาก ไม่เป็นคนละเลยต่อการขูดเกลาความรู้สึกของธรรมดาฝ่ายต่ำ
มีการเห็นแต่แก่ตัวหรือ ความอร่อยของตัว เป็นต้น ไม่เป็นผู้หาข้อแก้ตัวด้วย การตีโวหาร ฝีปาก
แต่จะเป็นคนรักความยุติธรรม รักความสงบ แผ่เมตตาไม่จำกัดวง-ไม่จำกัดความรับผิดชอบ
พร้อมด้วยเหตุผลอยู่เสมอ เพราะฉะนั้นภิกษุจึงไม่ควรนิ่งเฉยต่ออารมณ์ที่เกื้อกูลแก่ความก้าวหน้าในส่วนใจของตนแม้แต่น้อย
การเว้นบริโภคเนื้อ ไม่ใช่เป็นสิ่ง ที่ทรงห้ามหรือฝืนพระบัญญัติสำหรับดวงใจที่ประสงค์
ขูดเกลากิเลสของตน-ดวงใจที่ไม่เอาคนนอกส่วนมากเป็นประมาณ-ดวงใจที่ไม่แพ้ลิ้น-ดวงใจที่ไม่ประสงค์การตีโวหาร
การไม่บริโภคเนื้อสัตว์ ก็เป็นธุดงค์อย่างเดียวกับธุดงค์อื่นๆ ซึ่งทรงตรัสไว้ว่าเป็นการขูดเกลากิเลส
แต่ก็ไม่ทรงบังคับกะเกณฑ์ให้ใครถือ แต่เมื่อใครถือก็ทรงสรรเสริญเป็นอย่างมาก เช่น ทรงสรรเสริญพระมหากัสสป ธุดงค์ 13 อย่าง
บางอย่าง เช่น เนสัขขิกัง ก็ไม่มีใครเชื่อว่าเป็นพุทธภาษิตนัก แม้จำนวนสิบสามก็ไม่ใช่จำนวนที่ทรงแต่งตั้ง
เมื่อเช่นนั้น การขูดเกลาใจด้วนการเว้นเนื้อสัตว์ก็เป็นสิ่งที่รวมลงได้ในธุดงค์ หรือมัชฌิมาปฏิปทานั่นเอง
เพราะเข้ากันได้กับสิ่งที่ทรงอนุญาตในฝ่ายธรรม มิใช่ฝ่ายศีลซึ่งเป็นการบังคับ.
คนธรรมดาติดรสอาหารกันแทบทั้งนั้น มันเป็นเครื่องทดลอง หรือวัดน้ำใจเรา
เป็นบทเรียนที่ยาก แต่เปิดโอกาสให้เราฝึกได้ทุกๆวัน
การเสพผักไม่เสพเนื้อสัตว์ เป็นการฝึกใจช่วยให้ไปถึงการชำระตัณหา
ถ้าท่านยังแย้งว่า การกินผักไม่ได้เป็นการก้าวหน้าของการปฏิบัติธรรม ข้าพเจ้ามีคำตอบแต่เพียงว่า
ท่านยังไม่รู้จักตัวปฏิบัติธรรมเสียเลย ท่านจะรู้จักการกินผักซึ่งเป็นอุปกรณ์ของการปฏิบัติธรรมอย่างไรได้
ขอให้ทราบว่า "การกินผักไม่ได้ถือเป็นลัทธิหรือบัญญัติ" เราฝึกบทเรียนนี้โดยไม่ได้สมาทาน หรือปฏิญาณ อย่างสมาทานลัทธิ หรือศีล
มันเป็นข้อปฏิบัติฝ่ายธรรมทางใจ ซึ่งเราอาษัยหลักกาลามสูตร หรือโคตมีสูตรเป็นเครื่องมือตัดสินแล้ว ก็พบว่าเป็รแต่ฝ่ายถูก ฝ่ายให้คุณโดยส่วนเดียว
เป็นการขูดเกลากิเลสซึ่งพระพุทธองค์สรรเสริญ แต่ถ้าใครทำเพราะยึดมั่น ก็กลายเป็นสีลัพพตปรามาสยิ่งขึ้น
และถ้าบังคับกัน ก็กลายเป็นลัทธิของพระเทวทัต ที่จริงหลักมัชฌิมาปฏิปทา สอนให้เราทำตามสิ่งที่เรามองเห็นด้วนปัญญาว่าเป็นไปเพื่อความขูดเกลากิเลสเสมอ
แต่เรามองเห็นแล้วไม่ทำ ก็กลายเป็นเราไม่ปรารถนาดีไปเอง ส่วนผู้ที่ยังมองไม่เห็นนั้น ไม่อยู่ในวงนี้ มัชฌิมาปฏิปทาคือการทำดีโดยวงกว้าง !
เราไม่ได้เสพผักเพื่อเอาชื่อเสียงว่าเป็นนักเสพผัก(Vegetarian) เลย เราก้าวหน้าในการขูดเกลาใจเพื่อยึดเอาประโยชน์อันเกิดแต่การมีกิเลสเบาบางอีกส่วนหนึ่งเท่านั้น
ข้อสำคัญที่สุด ข้าพเจ้าไม่ได้ขอร้องให้ท่านเป็นนักผัก เป็นแต่แสดงความคิดเห็นของข้าพเจ้าในเรื่องนี้ ขอร้องเพียงให้ท่านนำไปคิดดู
เมื่อท่านไปคิดแล้ว ในกาลต่อไป ท่านจะเป็นนักผักหรือนักเนื้อก็แล้วแต่เหตุผลของท่าน
พุทธบุตรที่แท้จริง คือ "คนมีเหตุผล" ที่จริงนักเนื้อก็ไม่ใช่ผู้อันใครจะพึงรังเกียจ เช่นเดียวกับผู้ไม่สมาทานธุดงค์อย่างอื่น เช่น ทรงไตรจีวร หรืออยู่โคนไม้เหมือนกัน เพราะเป็นเรื่องที่ไม่บังคับ
โมกขพลาราม
๑ ธันวาคม ๒๔๗๗
บางตอนจากหนังสือ ชุมนุมข้อคิดอิสระของ ท่านพุทธทาสภิกขุ
จะเดินสายเข้าสำนัก หรือศึกษาปริยัติก่อน ไม่มีผิดหรือถูก เพราะมีโอกาสพลาดได้ถ้าไม่เข้าใจ
จริตคนเราสั่งสมมาไม่เหมือนกัน และเหตุปัจจัยต่างกัน
มีสิทธิ์หลงทางได้เช่นกัน !
ข้อสังเกต
1.สายปฏิบัติ เป็นสายที่หลงได้มาก เพราะบางสายถูกใจรู้สึกใช่ไม่เหนื่อยมาก สบายใจโดนใจโดนกิเลส คิดว่าใช่ ใกล้ทางสวรรค์เร็วๆนี้แล้ว
แต่...ถ้าได้เจอสำนัก ครูบาอาจารย์ที่ใช่ จะได้สภาวะไม่นานถ้าตั้งใจจริง ดังเช่น แม่ใหญ่ หมอชลอ แม่ชีซูง้อ และที่ไม่ได้กล่าวอีกมาก
เพราะพระสายปฏิบัติท่านจะมีเทคนิคหรือกุศโลบายในการสอน หลวงพ่อครูบาอาจารย์ที่เป็นอริยะสงฆ์มีสภาวะธรรมที่ลึกซึ้งแล้ว จะรู้วาระจิตผู้เข้ามาปฏิบัติ ซึ่งจะมีประโยชน์มาก
เท่าที่ผมทราบและสัมผัสมาแล้ว ก็มีแนวพองยุบหลวงพ่อจรัญ วัดอัมพวัน ถ้ามุ่งปฏิบัติเพื่ออุทิศบุญรู้กฎแห่งกรรม มีตัวอย่างจริงมากมาย
ชอบที่ท่าน ไม่พาหลงไปสวรรค์นิพพานอะไร แค่มนุษย์สมบัติ ยังไม่ค่อยจะมีกันเลย แล้วจะโลภไปไหนกัน
พวกค้ากำไรเกินควรตายไปจะเป็นเปรตนะท่านจ้องหน้าแล้วพูดเลย แม่ผมกลับมาเลิกเลย ทั้งลดทั้งแจกเลยทีนี้
ใครสนใจทาง ปฏิบัติ ทางเนกขัมมะ แบบจริงจังเข้มข้น ไม่ใช่เดี๋ยวก็มีเทศน์
มีเรี่ยรายบอกบุญสร้างนู่นนี่ ก็ต้องสายนี้
สายปฏิบัติที่อิงอภิธรรม ก็แนวหลวงพ่อสุรศักดิ์ วัดมเหยงค์ ท่านสอบได้อภิธรรมอันดับหนึ่ง
หลักแนวทางคำสอน ไปทางปรมัตธรรม เป็นสายที่ถูกตรง ไม่เน้น กรรม วิญญาณ ชาติ ภพ เหมือนวัดอัมพวัน
สายปฏิบัติพุทโธก็พระป่า เน้นปฏิบัติเดินจงกรมนั่งสมาธิ
ข้อสังเกตสายนี้ ถ้าไม่ได้ใกล้ชิดครูบาอาจารย์ก็อาจทำไม่ถูกจุด หลงคิดไปเอง มีอุปาทานไปเอง บางคนเป็นโรคประสาทอยู่แล้วอาการมันจะออกมาตอนนี้
บางคนออกจากสำนักกลับบ้าน เรียกลูกเมียมากราบสั่งสอนขนไปไม่ถูก เพราะอุปาทานไปว่าตนเป็นผู้หยั่งรู้ ผู้บรรลุแล้ว
รู้หลักแล้วไม่เอาจริงก็ไม่ได้ผล เป็นหินทับหญ้ากันมาก
ยิ่งสายเน้นนั่งสมาธินี่ ต้องระวัง ติดใจในความสงบความนิ่ง ถ้ายังไม่ได้สภาวะธรรม อารมณ์ขึ้นง่าย ความสุขุมอดทนต่ำกว่าคนปกติ
ถ้าได้สมาธิจริงๆจะนิ่ง สุขุมมาก มีเมตตามาก
สายปฏิบัติ มักพูดเรื่องการได้สภาวะธรรม การได้สมาธิ การมีสติ แต่ขอกระซิบบอกว่า ไม่ง่าย !
ศีล สมาธิ มีทั้งสายดำ และขาว มิจฉาทิฐิ และสัมมาทิฐิ มีหลายระดับขั้น
แต่ไม่ว่าสำนักไหนสายไหน ผู้ปฏิบัติมาถูกทางและได้สภาวะธรรมหรือไม่ ตัดสินได้ไม่ว่าพระ หรือฆราวาส
นิวรณ์5 เขาเบาบางลงแค่ไหน โลภโกรธหลงมีน้อยแค่ไหน ไปดูที่ยศศักดิ์ตำแหน่ง ท่าทีน่าเชื่อ หรือความเป็นครูอาจารย์ไม่ได้
ครูบาอาจารย์บางคนก็ไม่มีสภาวะธรรมอะไรเพียงแต่เรียนมารู้มาก็พูดได้สอนได้ แต่สภาวะธรรมที่ได้ต้องดูที่พฤตวัตร สติ ปัญญา และจิตอารมณ์
ข้อดีสายนี้ คือถ้าได้ครูบาอาจารย์ของแท้ และเราเอาจริงตามที่ท่านสอน ได้ผลแน่ และค่อยไปศึกษาพระไตรปิฏก
จะไม่หลงคิดไปเองและมั่นใจมากขึ้นเมื่อสภาวะธรรมที่เกิดจากการบำเพ็ญเพียรปฏิบัติของเรา ไปสอดคลองกับพระสูตร
ซึ่งจะต่างจากสายศึกษาทางปริยัติ ไม่ว่าอภิธรรม และพระสูตรต่างๆมาก่อนจากพระไตรปิฎก
สายนี้จะสุ่มเสี่ยงต่อการปฏิบัติที่ยากกว่า เพราะ จะไปรู้ล่วงหน้าถึงสภาวะต่างๆในทางปฏิบัติก่อน เมื่อปฏิบัติไปแล้ว สิ่งที่ได้อาจเป็นผลที่ปลอมหรือจริง
แต่ถ้าศึกษาเข้าใจถ่องแท้ ก็อาจหมดปัญหาไป
2.สายศึกษา แล้วจึงไปปฏิบัติ ปัญหาเดียวคือผู้ศึกษาต้องมีความเข้าใจอย่างถ่องแท้ จริง ไม่งั้นอาจตีความผิดเข้าใจผิด
ไปตรึกนึกทบทวนในสิ่งที่ไม่เข้าใจถูก สายนี้ต้องมีจริตรักในการชอบที่จะศึกษามาก่อน จึงได้ผลดี
3.สายปฏิบัติ และศึกษาไปพร้อมๆกัน สายนี้ มีเยอะ เห็นภาพรวม ได้ผล ได้สภาวะธรรมช้า หรืออาจไม่ได้เลย เพราะเข้าใจถูกก็ยังไม่ได้
มุ่งทุ่มเทปฏิบัติเดินจงกรมนั่งสมาธิ ก็ทำถูกบ้างผิดบ้าง ไม่จริงจังกับการปฏิบัติ มากพอ
สรุป ไม่ว่า สายไหน จะก่อน หลัง หรือเอาทั้งสองอย่าง ต้องดูที่ โลภโกรธหลง เบาบางแค่ไหน เข้าถึงอริยสัจ แค่ไหน เท่านั้นเอง
หากมีเวลาให้ฟังธรรมจากสัตบุรุษ จะทำให้เข้าใจโลกเข้าใจชีวิตครับ
พระอาจารย์สมบัติ นันทิโก
การทำสมาธิไม่ใช่นั่งหลับตา
รัก-ไม่รัก
เวียนว่าย-ตาย-เกิด
ภิกษุผู้ปรารถนาวิปัสสนา
เพราะติดในสิ่งที่รัก
กรรมเป็นเครื่องผูกพัน
สติมาก กุศลผลบุญมาก
หนทางชนะความโศก
บางกรรมฐานเหมาะกับบางบุคคล
พระอาจารย์สุรศักดิ์ แห่งวัดมเหยงค์
อริยสัจ4
ปฏิบัติธรรมเพื่ออะไร
แนะนำกรรมฐานเบื้องต้น
อนัตตลักขณสูตร
พระอาจารย์ชยสาโร ภิกขุ
วิธีดับทุกข์
มีแค่กายกับใจ
พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต
คำตอบของการเกิดเป็นมนุษย์
ควรเร่งปฏิบัติได้แล้ว
ที่พึ่งถาวร
หลวงพ่อจรัญ วัดอัมพวัน สิงห์บุรี
เหตุบังเอิญไม่มีในโลก
พระในป่า .... หลวงพ่อพบหลวงพ่อดำในป่าขอนแก่น
วิธีดับทุกข์
ผลของกรรม
อาจารย์เสถียร โพธินันทะ
การเวียนว่ายตายเกิด
พระอริยะบุคคล ยังมีอยู่ในโลกหรือไม่
สิ่งทั้งปวงไม่ควรยึดมั่น
นรกสวรรค์มีจริงไหม
ตอบปัญหาเรื่องทรงเจ้า
ดร.สมภาร พรมทา
คุณูปการของพระพุทธศาสนาต่อวงการปรัชญาโลก
มหายานจากมุมมองนักปรัชญา
ความแตกต่างทางปรัชญาระหว่างเถรวาทและมหายาน
ปฏิบัตินิยมทางศาสนา
โฆษณา