20 มี.ค. 2023 เวลา 09:00

ซีเซียม-137 คืออะไร อันตรายแค่ไหน ถึงตายหรือไม่ เช็คเลยที่นี่

ซีเซียม-137 คืออะไร อันตรายแค่ไหน ถึงตายหรือไม่ เช็คเลยที่นี่มีคำตอบ ฐานเศรษฐกิจรวบรวมข้อมูลไว้ให้แล้ว หลังหายออกจากโรงไฟฟ้าแห่งหนึ่งใน อ.ศรีมหาโพธิ จ.ปราจีนบุรี ระบุล่าสุดพบแล้วที่โรงงานหลอมเหล็ก
ซีเซียม-137 คืออะไร อันตรายแค่ไหน ถึงตายหรือไม่ กำลังเป็นคำถามที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก
หลังจากที่วัตถุดังกล่าวหายออกจากโรงไฟฟ้าแห่งหนึ่งใน อ.ศรีมหาโพธิ จ.ปราจีนบุรี ซึ่งมีลักษณะเป็นแท่งทรงกลม ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 5 นิ้ว ติดอยู่ที่ปลายท่อโรงไฟฟ้า
ทั้งนี้ จากการตรวจสอบของ "ฐานเศรษฐกิจ" พบว่า "ซีเซียม-137" หรือ Cs-137 เป็นไอโซโทปกัมมันตรังสี ของธาตุซีเซียม ซึ่งเป็นผลผลิตฟิชชันที่เกิดจากปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิชชัน โดยซีเซียม-137 มีครึ่งชีวิต 30.17 ปี ประมาณ 95% สลายตัวโดยการปลดปล่อยรังสีบีต้าแล้วกลายเป็นแบเรียม-137m (barium-137m)
2
ซึ่งเป็นไอโซโทปกึ่งเสถียร (metastable) หรือ ไอโซเมอร์ของแบเรียม-137 (137mBa, Ba-137m) ส่วนอีก 5% สลายตัวไปเป็นไอโซโทปเสถียรโดยตรง แบเรียม-137m (Ba-137m) สลายตัวให้รังสีแกมมา โดยมีครึ่งชีวิต 2.55 นาที ซีเซียม-137 ปริมาณ 1 กรัม มีกัมมันตภาพรังสี 3.215 เทราเบคเคอเรล (terabecquerel, TBq)
2
โฟตอนจากไอโซโทปรังสีแบเรียม-137m มีพลังงาน 662 keV สามารถใช้ประโยชน์ในการฉายรังสีอาหาร (food irradiation) ใช้ในด้านรังสีรักษา (radiotherapy) สำหรับผู้ป่วยมะเร็ง มีการใช้ซีเซียม-137 ในการถ่ายภาพด้วยรังสีทางอุตสาหกรรมไม่มากนัก เนื่องจากเป็นวัสดุที่ไวต่อการเกิดปฏิกิริยาเคมี เกลือของซีเซียมละลายน้ำได้ดีทำให้ควบคุมความปลอดภัยได้ยาก
2
จึงมีการใช้โคบอลต์-60 (Cobalt-60) ในงานด้านการถ่ายภาพด้วยรังสีมากกว่า นอกจากจะเป็นโลหะที่ไวต่อปฏิกิริยาน้อยกว่าแล้ว ยังให้รังสีแกมมาพลังงานสูงกว่า การนำมาใช้งาน โดยจะพบ "ซีเซียม-137" ได้ในอุปกรณ์วัดความชื้น เครื่องวัดอัตราการไหลหรืออุปกรณ์ตรวจวัดชนิดอื่นที่ใช้หลักการทำงานคล้ายกัน
ความเสี่ยงต่อสุขภาพ
1
"ซีเซียม" สามารถทำปฏิกิริยากับน้ำและกลายเป็นซีเซียมไฮดรอกไซด์ (caesium hydroxide) ซึ่งเป็นสารประกอบที่ละลายน้ำ ซีเซียมมีคุณสมบัติในทางชีววิทยาคล้ายกับโปแตสเซียม (potassium) และรูบิเดียม (rubidium) เมื่อเข้าไปในร่างกาย ซีเซียมจะกระจายไปทั่วร่างกาย
1
โดยมีความเข้มข้นสูงที่กล้ามเนื้อและกระดูก ซีเซียมมีครึ่งชีวิตทางชีววิทยา (biological half-life) ประมาณ 70 วัน จากการทดลองในสุนัข เมื่อได้รับซีเซียมในครั้งเดียวจำนวน 3800 ไมโครคูรีต่อกิโลกรัม (mCi/kg) (คิดเป็นซีเซียม-137 จำนวน 44 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัม) สุนัขนั้นตายลงภายใน 3 สัปดาห์
5
อย่างไรก็ดี หากบังเอิญได้รับซีเซียม-137 เข้าไปในร่างกาย ควรรับประทาน ปรัสเซียนบลู (Prussian blue) ซึ่งจะไปทำปฏิกิริยาเคมีโดยจับกับซีเซียม ทำให้ขับออกจากร่างกายได้เร็วขึ้น
2
ซีเซียม หากกระจายอยู่ในดิน น้ำ และเข้าสู่วงจรอาหาร อาหารที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด ได้แก่ ผัก ผลไม้ นม อาหารทะเล และอาหารที่แปรรูปจากวัตถุดิบทางการเกษตร สารนี้เมื่อเข้าสู่ร่างกายบางส่วนจะถูกขับออกจากร่างกายทางเหงื่อและปัสสาวะ และบางส่วนจะตกค้างและสะสมในกล้ามเนื้อ ตับ ไขกระดูก หากได้รับในปริมาณมากหรือเป็นเวลานานทำให้เกิดความผิดปกติในระดับโครโมโซมหรือพันธุกรรม
4
อย่างไรก็ตาม การควบคุมดูแล "ซีเซียม-137" ที่ใช้เป็นต้นกำเนิดรังสีแกมมาที่ไม่รัดกุมพอ อาจจะทำให้เกิดการรั่วไหลของไอโซโทปรังสีและเกิดการเจ็บป่วยจากรังสีได้ กรณีตัวอย่างที่ทราบกันดี ได้แก่ อุบัติเหตุที่ (Goiania accident) ที่มีการทิ้งสารกัมมัตรังสีจากอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำรังสีรักษาจากคลินิกในเมือง Goiania ประเทศบราซิล ทำให้คนเก็บขยะนำไปขายให้กับคนที่รับซื้อ เนื่องจากคิดว่าเป็นของแปลก กรณีนี้ทำให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตจากการได้รับรังสีจำนวนหลายคน
1
ซีเซียมที่ใช้เป็นต้นกำเนิดรังสีแกมมา จะถูกเก็บอยู่ในภาชนะโลหะ อาจะถูกทิ้งปะปนไปกับโลหะเก่าและถูกนำไปหลอม ทำให้เกิดโลหะผสมที่มีกัมมันตภาพรังสี ตัวอย่างได้แก่ อุบัติเหตุที่ Acerinox accident ในปี 1988 เมื่อบริษัท Acerinox ซึ่งดำเนินกิจการแปรรูปของเก่า (recycling company ) ของสเปน ได้เกิดอุบัติเหตุโดยทำการหลอมซีเซียม-137 จากต้นกำเนิดรังสีแกมมา
1
พบแล้วซีเซียม-137
2
ล่าสุดมีรายงานข่าวว่าจากการตรวจสอบ ในเขตเขตอุตสาหกรรมกบินทร์บุรี โรงงานหลอมเหล็กที่ใหญ่ที่สุดมีเตาหลอมจำนวน 8 เตา คาดว่าอาจจะเป็นจุดที่ "ซีเซียม 137" ถูกขายเป็นของเก่าอาจปนมากับเหล็กที่จะเข้ามาได้ เจ้าหน้าที่ได้ใช้เครื่องมือของสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ เข้าตรวจวัดสแกนหารังสีตามกองเศษเหล็ก รวมทั้งเหล็กที่ถูกบีบอัดที่จะเข้าเตาหลอม
เมื่อเข้าตรวจสอบ โดยทางสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติได้ตรวจเช็คอย่างละเอียดและยืนยันว่า สารที่พบในโรงหลอมเหล็ก เป็นวัสดุกัมมันตรังสีซีเซียม 137
1
โดยจังหวัดปราจีนบุรีได้ประกาศปิดโรงงาน และกันพื้นที่ไม่ให้พนักงานทั้งหมดออกจากโรงงานเพื่อความปลอดภัย และจะแถลงข่าวในวันนี้ 20 มี.ค. 66 เวลา 11.00 น. ที่ห้องศูนย์การเรียนรู้ ชั้น 4 ศูนย์ราชการจังหวัดปราจีนบุรี
โฆษณา