Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ลงทุนเกิร์ล
ยืนยันแล้ว
•
ติดตาม
21 มี.ค. 2023 เวลา 02:30 • ธุรกิจ
รู้จัก Relativity Space สตาร์ตอัปทำจรวด ที่กำลังจะเปลี่ยนวงการอวกาศไปตลอดกาล
Relativity Space ถือเป็นบริษัททำจรวดเอกชน ที่มีมูลค่าบริษัทสูงเป็นอันดับ 2 ของโลก รองจาก SpaceX ของคุณ Elon Musk
1
ถึงแม้ Relativity Space จะยังไม่เคยได้ส่งจรวดไปในอวกาศเลย
แต่สตาร์ตอัปแห่งนี้ กลับถูกนักลงทุนประเมินมูลค่าบริษัทไว้สูงถึง 140,900 ล้านบาท
แถมยังสามารถระดมทุนไปได้แล้วกว่า 43,600 ล้านบาท
ล่าสุด CNBC ยังจัดให้ Relativity Space เป็นหนึ่งใน Disruptor 50 ประจำปี 2022
หรือบริษัทที่กำลังเติบโต และสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ที่จะมาสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับโลก
เพราะมองว่า Relativity Space จะเข้ามาพลิกโฉมวงการขนส่งทางอวกาศ นั่นเอง
ที่น่าสนใจคือ Relativity Space ถือเป็นน้องใหม่ของวงการ เพราะก่อตั้งมาได้เพียง 8 ปีเท่านั้น
เมื่อเทียบกับรุ่นพี่อย่าง บริษัท SpaceX ของคุณ Elon Musk และ Blue Origin ของคุณ Jeff Bezos ที่มีอายุ 20 ปี และ 22 ปี ตามลำดับ
แล้วสงสัยไหมว่า Relativity Space สตาร์ตอัปน้องใหม่รายนี้ มีดีอะไร ? ลงทุนเกิร์ลจะเล่าให้ฟัง
เรื่องนี้ต้องเริ่มกันที่ตัวผู้ก่อตั้งของ Relativity Space ทั้ง 2 คน ซึ่งพวกเขาเคยทำงานให้กับ SpaceX และ Blue Origin มาก่อน
1
เริ่มต้นจากคุณ Tim Ellis ที่เคยทำงานอยู่ในส่วนงานทดสอบการขึ้นรูปโลหะ ด้วย 3D-printing ของ Blue Origin และเขายังเป็นแฟนคลับตัวยงของคุณ Elon Musk
เขาจึงได้แรงบันดาลใจและความกล้าบ้าบิ่น มาจากไอดอลอย่างคุณ Elon Musk เลยไปชวนเพื่อนร่วมชมรมจรวดสมัยเรียนมหาวิทยาลัย อย่างคุณ Jordan Noone มาร่วมกันก่อตั้งบริษัท Relativity Space ขึ้นมา
ซึ่งคุณ Jordan เคยเป็นวิศวกรที่ SpaceX โดยอยู่ในทีมทำจรวดที่สามารถลงจอด เพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ได้ (Reusable Rockets) ในชื่อโปรเจกต์ “Dragon 2” ตั้งแต่เริ่มต้น จนถึงทดสอบการปล่อยสู่อวกาศ
ไอเดียจรวดหลัก ๆ ของ Relativity Space จึงมาจากประสบการณ์จากที่ทำงานเก่าของทั้งคู่ คือ ทำจรวดที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้ ซึ่งช่วยลดต้นทุนในการสร้างและใช้จรวดแต่ละครั้งได้อย่างมหาศาล
ฟังดูแล้ว ก็ไม่รู้สึกว่ามันพิเศษอะไร เพราะคู่แข่งก็ทำไปแล้ว
แต่ความพิเศษของ Relativity Space ที่จะกลายเป็นจุดเปลี่ยนของวงการอวกาศ
อยู่ที่การสร้างจรวด ด้วยเทคโนโลยี “3D-Printing” ที่แตกต่างจากเจ้าอื่น
อธิบายง่าย ๆ เลย คือ 3D-Printing เป็นกระบวนการสร้างวัตถุ 3 มิติขึ้นมาจากเครื่องจักร ด้วยวิธีทำให้เนื้อวัสดุ ก่อตัวขึ้นเป็นรูปร่าง ตามที่ได้ออกแบบไว้บนคอมพิวเตอร์
ซึ่งวิธีนี้สามารถขึ้นรูปได้เกือบทุกรูปทรง
ทีนี้มาอธิบายวิธีการใช้ 3D-Printing ของ Relativity Space กันต่อ
จริง ๆ แล้วการใช้ 3D-Printing ในอุตสาหกรรมยานอวกาศไม่ใช่เรื่องใหม่ ทั้ง SpaceX, Boeing และ Blue Origin ก็เคยใช้กันมาก่อนแล้ว ด้วยการขึ้นรูปชิ้นส่วนโลหะเล็ก ๆ นับพันชิ้น แล้วค่อยนำมาเชื่อมประกอบกัน จนกลายเป็นจรวด
แต่ Relativity Space นำเทคโนโลยีนี้มาใช้ในภาพใหญ่กว่านั้น
เพราะพวกเขาคิดว่า จรวดควรได้รับการออกแบบใหม่ เพื่อให้สามารถใช้เทคโนโลยี 3D-Printing มาขึ้นรูปเป็นโครงจรวดได้ทั้งลำ
ซึ่งถ้ามันเป็นไปได้จริง การท่องอวกาศของมนุษย์ จะเปลี่ยนไปตลอดกาล
เพราะการใช้ 3D-Printing สำหรับผลิตจรวดทั้งลำ จะช่วย
- ลดจำนวนชิ้นส่วน ซึ่งหมายถึง ลดรอยเชื่อมต่อ ทำให้ลดความเสี่ยงที่จะเกิดความผิดพลาดระหว่างการผลิตและประกอบ ซึ่งจรวดจะมีความปลอดภัยและทนทานมากขึ้น
- ใช้เวลาและแรงงานในการผลิตน้อยลง ทำให้ประหยัดต้นทุน สามารถตั้งราคาค่าบริการขนส่งจรวดได้ถูกลง และเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้มากขึ้น
- สามารถลองผิดลองถูก ในขั้นตอนทำตัวต้นแบบ (Prototype) ได้ง่ายขึ้น ด้วยการปรับในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ แล้วขึ้นรูปใหม่ได้เลย
- โรงงานที่ใช้เป็นฐานการผลิต ไม่จำเป็นต้องมีขนาดใหญ่ ทำให้ต้นทุนคงที่ (Fixed Cost) ลดลง
อย่างไรก็ตาม ถ้าเป็นแค่ไอเดียล่องลอย นักลงทุนคงไม่สนใจและทุ่มเงินให้สตาร์ตอัปหน้าใหม่ขนาดนี้..
แต่ไอเดียนี้กำลังเป็นรูปเป็นร่าง เพราะ Relativity Space ได้พัฒนาเครื่อง 3D-Printer ขนาดยักษ์ ที่สามารถขึ้นรูปโลหะชิ้นใหญ่เป็นของตัวเองได้สำเร็จ
2
โดยพวกเขาเป็นเจ้าของเทคโนโลยีนี้เอง และนี่ทำให้เป็นจุดต่าง ที่ยากจะเลียนแบบได้นั่นเอง
2
เครื่อง 3D-Printer ขนาดใหญ่ของ Relativity Space จะเริ่มใช้ผลิตและทดลองปล่อยจรวดลำแรก “Terran 1” ภายในปี 2023 นี้
ซึ่ง Terran 1 เป็นจรวดที่ 85% ใช้เทคโนโลยี 3D-Printing ในการผลิต ทำให้มีชิ้นส่วนเหลือเพียง 730 ชิ้น น้อยกว่าจรวดรุ่นเทียบเคียงกันถึง 100 เท่า
1
แถมยังใช้เวลาผลิตเพียง 2 เดือน เทียบกับ 1-2 ปีสำหรับจรวดดั้งเดิมของบริษัทอื่น
นอกจากนี้ โรงงานผลิตจรวดของ Relativity Space ใช้พื้นที่เพียง 7 ไร่
ในขณะที่โรงงานจรวดของ SpaceX มีพื้นที่ 48 ไร่ และ NASA มีพื้นที่ 109 ไร่
1
และถ้าการทดสอบ Terran 1 เป็นไปได้ด้วยดี Relativity Space จะทดสอบจรวดตัวท็อปของบริษัท “Terran R” ที่เทียบเคียงกับจรวด Falcon 9 ของ SpaceX ในปี 2024
ด้วยปัจจัยทั้งหมดนี้ ทำให้ต้นทุนของ Relativity Space ต่ำกว่าบริษัทอื่นมาก และเมื่อลองคำนวณแล้ว ค่าปล่อยจรวด Terran R แต่ละครั้ง จะเหลือเพียง 12 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ถูกกว่า Falcon 9 ถึง 80% ทีเดียว
และนั่นทำให้จรวดของ Relativity Space สามารถให้บริการแก่ลูกค้าเชิงพาณิชย์และรัฐบาล บนอวกาศ ไม่ว่าจะเดินทางไปดวงจันทร์หรือดาวอังคาร ได้ในราคาที่ย่อมเยามากกว่าเดิม
เมื่ออ่านถึงตรงนี้ คงหมดข้อสงสัยว่า ทำไมหลายคนถึงคิดว่า Relativity Space กำลังสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ให้กับมนุษยชาติ
และคุณ Tim Ellis ยังบอกอีกว่า Relativity Space มองไม่เหมือน SpaceX เสียทีเดียว โดยเขาคิดว่า การเดินทางไปดาวดวงใหม่นั้น ไม่ใช่การโละดาวดวงเก่า แล้วย้ายหนีแบบที่คุณ Elon Musk คิด
แต่เขาบอกว่า มันน่าตื่นเต้นกว่า ถ้านี่จะเป็นการอยู่บนดาวทั้งสองดวง (หรือมากกว่านั้น) ไปพร้อม ๆ กัน เพื่อเพิ่มความหลากหลาย ในด้านสังคมและวัฒนธรรม
1
ไม่ใช่แค่การย้ายดาว แต่เป็นการเพิ่มอาณาบริเวณให้มนุษยชาตินั่นเอง..
References:
-
https://www.fastcompany.com/90836716/relativity-space-tim-ellis-terran-launch-mars-elon-musk-spacex
-
https://www.nytimes.com/2022/07/19/science/mars-landing-relativity-space-spacex.html
-
https://www.relativityspace.com/glhf
-
https://spectrum.ieee.org/3d-printed-rocket-relativity-spacex
-
https://www.cnbc.com/2023/02/04/inside-relativity-spaces-monster-factory-3d-printing-reusable-rockets.html
-
https://www.cnbc.com/2020/10/07/inside-relativity-space-hq-3d-printer-rocket-factory-of-the-future.html
-
https://www.ycombinator.com/companies/relativity-space
-
https://www.space.com/relativity-space-company-terran-1-launch
-
https://www.businessinsider.com/relativity-space-startup-3d-print-rockets-colonize-mars-spacex-2022-3
-
https://www.reuters.com/technology/rocket-startup-relativity-eyes-new-products-with-enlarged-3d-printer-2022-10-24/
ธุรกิจ
30 บันทึก
52
3
31
30
52
3
31
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย