Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ลงทุนแมน
ยืนยันแล้ว
•
ติดตาม
21 มี.ค. 2023 เวลา 12:52 • หุ้น & เศรษฐกิจ
ทำไม หุ้นกู้เครดิตสวิส 6 แสนล้าน กลายเป็น 0 ในพริบตา
ตามปกติแล้วถ้าเราลงทุนในหุ้นกู้ เราจะมีสถานะเป็นเจ้าหนี้ ซึ่งจะได้รับผลตอบแทนเป็นดอกเบี้ย
10
และเมื่อครบกำหนดชำระ ก็จะได้รับเงินต้นคืน
แต่เจ้าหนี้ ที่ลงทุนในหุ้นกู้ของธนาคารเครดิตสวิส ประเภท AT1 มูลค่า 600,000 ล้านบาท
วันนี้ หุ้นกู้นั้นมีค่าเท่ากับศูนย์ ทันทีที่ UBS ตัดสินใจซื้อกิจการ
5
หุ้นกู้ AT1 คืออะไร
แล้วทำไมวันนี้ มันไม่เหลือค่าอะไรเลย ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
2
ในธุรกิจธนาคาร จะมีข้อกำหนดว่า ธนาคารจะต้องมีเงินกองทุน ให้เพียงพอต่อความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
1
ซึ่งเงินกองทุน ก็จะแบ่งออกได้เป็น 2 ส่วน คือ
1. เงินกองทุนขั้นที่ 1 หรือ Tier 1 ซึ่งก็คือส่วนของผู้ถือหุ้น
3
2. เงินกองทุนขั้นที่ 2 หรือ Tier 2
ประกอบด้วย ตราสารหนี้ เช่น หุ้นกู้ ที่ธนาคารออกเพื่อยืมเงินเข้ามา
แต่ก็มีหุ้นกู้อีกประเภท คือ “หุ้นกู้ชั่วนิรันดร์” ที่ไม่มีกำหนดวันคืนเงินต้น ที่บางครั้งถูกเรียกว่า หุ้นกู้ที่มีลักษณะคล้ายทุน
2
ด้วยความที่มีลักษณะคล้ายทุน ทำให้เงินทุนที่ได้รับจากการขายหุ้นกู้ชั่วนิรันดร์นี้ ถูกนับเข้าไปอยู่ในส่วนของ Tier 1 ด้วย
และมีชื่อเรียกว่า Additional Tier 1 หรือ AT1
3
โดยหุ้นกู้ชั่วนิรันดร์ที่ออกโดยธนาคาร จะเรียกว่า Contingent Convertible Bond หรือ “CoCo Bond”
8
ข้อกำหนดของ CoCo Bond ก็คือ
1
- ไม่มีกำหนดว่าจะไถ่ถอน หรือจ่ายเงินต้นคืนเมื่อไร ซึ่งเป็นที่มาของคำว่า นิรันดร์
1
- ให้อัตราดอกเบี้ยสูง เพื่อจูงใจ และชดเชยกับการที่ต้องถือหุ้นกู้เป็นระยะเวลานาน
2
- เป็นตราสารหนี้ ที่จะถูกเปลี่ยนจากหนี้ให้เป็นทุนโดยอัตโนมัติ เมื่อเกิดเหตุการณ์พิเศษ เช่น เมื่อธนาคารมีเงินกองทุน ลดลงต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้
2
ย้อนกลับมาที่กรณีของเครดิตสวิส..
ส่วนประกอบของโครงสร้างเงินทุนเครดิตสวิสก่อนที่จะเกิดเหตุการณ์ จะแบ่งเป็น
1
1. ส่วนของผู้ถือหุ้น
2. ส่วนของหุ้นกู้คล้ายทุนประเภท AT1
3. ส่วนของหนี้อื่น ๆ ซึ่งรวมถึงหุ้นกู้ประเภทอื่น ๆ ที่เหลือ
5
ตามที่ทุกคนเข้าใจในการทำธุรกิจ คือ “เจ้าหนี้” จะต้องได้รับการชดใช้เงินก่อน “ผู้ถือหุ้น”
3
ดังนั้นลำดับการได้เงิน ตามที่ผู้ลงทุนหลายท่านเข้าใจก็จะเป็น หนี้อื่น ๆ > หุ้นกู้ AT1 > ผู้ถือหุ้น
3
วันที่เกิดเหตุการณ์
ธนาคารกลางสวิสช่วยเจรจาให้ UBS เข้ามาซื้อธนาคารเครดิตสวิส เป็นมูลค่าราว 100,000 ล้านบาท
โดยจากการคำนวณเงินกองทุน ณ วันที่ซื้อ เงินกองทุนของธนาคารเครดิตสวิสได้ลดลงต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด
4
อย่างไรก็ตาม เครดิตสวิสยังมี หุ้นกู้ ที่เป็นประเภท AT1 มูลค่ามากถึง 600,000 ล้านบาท
5
ซึ่งประเด็นของเรื่องนี้ก็คือ
หุ้นกู้ประเภทนี้มีเงื่อนไขเพิ่มเติม ที่ระบุในหนังสือชี้ชวนว่า
“หน่วยงานกำกับดูแลการเงินของสวิตเซอร์แลนด์ (FINMA) อาจไม่จำเป็นต้องทำตามลำดับความสำคัญของทุน”
ดังนั้นสิ่งที่เกิดขึ้น
เครดิตสวิสได้ทำการแปลงหุ้นกู้ประเภท AT1 ให้เป็นทุน แล้วสลับลำดับ ให้ใช้ทุนดังกล่าวในการตัดหนี้สูญ เพื่อให้เครดิตสวิสมีเงินกองทุนถึงเกณฑ์ที่กำหนด
4
จะสังเกตได้ว่าการทำแบบนี้
คนที่ขาดทุนมากสุดก็คือ ผู้ถือหุ้นกู้ประเภท AT1
2
- เพราะหนี้อื่น ๆ ของเครดิตสวิสก็ยังคงอยู่
- ส่วนผู้ถือหุ้นเดิมของเครดิตสวิสก็ได้แลกเป็นหุ้น UBS ถึงแม้จะมีมูลค่าต่ำกว่าเดิมมาก
- แต่ผู้ถือหุ้นกู้ประเภท AT1 จะเหลือ 0 บาท
มีการกล่าวกันว่า สาเหตุที่หน่วยงานกำกับดูแลของสวิตเซอร์แลนด์กล้าทำแบบนี้ก็เพราะว่า ผู้ถือหุ้นกู้ประเภทนี้ส่วนใหญ่เป็นสถาบันการเงินรายใหญ่ ที่แตกต่างจากผู้ถือหุ้นเครดิตสวิสที่มีนักลงทุนรายย่อยอยู่เป็นจำนวนมาก
7
และมันเป็นหนทางเดียวที่จะช่วยทำให้ธนาคารเครดิตสวิสไปต่อได้ โดยที่มันยังถูกกฎหมายอยู่ ถึงแม้ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นจะทำให้นักลงทุนสถาบันจำนวนมากรู้สึกไม่พอใจก็ตาม
9
บทสรุปของเรื่องนี้..
ตามที่เราเคยเห็นคำเตือนเวลาเราซื้อกองทุนหรือหุ้นกู้เป็นประจำว่า
“การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน”
3
จากตัวอย่างนี้จะเห็นได้ว่า เราจำเป็นต้องทำความเข้าใจในเงื่อนไขทั้งหมด ก่อนการลงทุน
2
เพราะบางเงื่อนไขแบบตัวอย่างนี้ ก็อาจทำให้เงินของเรา หายไปได้ในพริบตา..
2
หุ้น
เศรษฐกิจ
113 บันทึก
179
9
309
113
179
9
309
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย