Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ณัฐมาคุย
ยืนยันแล้ว
•
ติดตาม
21 มี.ค. 2023 เวลา 15:32 • สิ่งแวดล้อม
ใส่สีตีข่าว
ข่าวเรื่อง Cesium-137 เป็นอีกหนึ่งเรื่องที่ถูกสื่อมวลชนใส่สีตีข่าวจนเกินจริงไปมาก เพื่อดึงดูดความสนใจจากมวลชน ในขณะที่สื่อโซเชียลก็เดาไปต่าง ๆ นานาโดยไม่มีข้อมูลที่แท้จริง ส่วนนักการเมืองบางคนก็เอาเรื่องนี้ไปเป็นหัวข้อในการหาเสียง โดยทำให้ประชาชนตื่นกลัวเข้าไปอีก
เมื่อหลายสิบปีก่อน Cobalt-60 ถูกขโมยจากลานจอดรถของบริษัทแห่งหนึ่งในย่านสมุทรปราการ และถูกเอาไปขายเป็นของเก่า จนถูกผ่าเปิดออก และมีกัมมันตภาพรังสีรั่วไหลออกมา จนมีผู้เสียชีวิต และบาดเจ็บหลายราย นำไปสู่การฟ้องร้องสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ และบริษัทที่เป็นเจ้าของ ในฐานะที่ปฏิบัติงานด้วยความประมาทเลินเล่อ
เหตุการณ์ในครั้งนั้น Cobalt-60 มีความแรงรังสีสูงถึงประมาณ 425 curie ได้ส่งผลให้คนที่ใกล้ชิดกับสารกัมมันตรังสีดังกล่าวเสียชีวิต 3 คน และมีผู้บาดเจ็บและพิการ 7 คน จนคนตื่นกลัวสารกัมมันตรังสีไปกันครั้งใหญ่ ทั้ง ๆ มีคนเสียชีวิต และบาดเจ็บรวมแค่ 10 คน และมีผลกระทบอยู่ในพื้นที่วงแคบเท่านั้น
ส่วนอีกอุบัติเหตุเกิดในออสเตรเลีย เมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา เมื่อ Cesium-137 ขนาดประมาณเหรียญบาทสูญหายระหว่างการขนส่งในเดือนมกราคมที่ผ่านมา ซึ่งทางการได้ระดมหา โดยใช้เวลา 6 วัน หลังจากวันที่ทราบเรื่อง ในการค้นหาสารกัมมันตรังสีที่มีแรงรังสีประมาณ 500 milli curie พบ โดยไม่มีผู้ได้รับความเสียหาย แต่หากมีคนที่เข้าใกล้ชิ้นส่วนนี้ในระยะ 1 เมตร เป็นเวลา 1 ชั่วโมง จะเทียบเท่ากับการเอ็กซ์เรย์เพียง 10 ครั้งเท่านั้น
แต่เหตุการณ์ในครั้งนี้ถูกเอาไปพูดว่า มันอันตรายมาก ๆ มันถูกหลอม กระจายไปทั่ว เราจะเป็นมะเร็งกันหมด
แต่ในความเป็นจริงของเหตุการณ์ในครั้งนี้
1. Cesium-137 นี้มีขนาดเพียงเล็กนิดเดียว ที่เห็นใหญ่ ๆ นั้นคือภาชนะบรรจุทำด้วยเหล็ก และตะกั่วที่มีความหนา เพื่อไม่ให้รังสีแพร่กระจาย มีค่าแรงรังสีเพียงประมาณ 40 milli curie หรือน้อยกว่าเหตุการณ์ Cobalt-60 ถึง 10,000 เท่า ความอันตรายจึงน้อยกว่ามาก ๆ
2. ยิ่งสารกัมมันตรังสีแพร่กระจายไปมากเท่าไหร่ อันตรายของมันจะยิ่งน้อยลง เพราะปริมาณรังสีแปรผกผันกับความหนาแน่นของสารกัมมันตรังสี และยิ่งเราอยู่ห่างไกลจากสารกัมมันตรังสี เรายิ่งมีโอกาสได้รับกัมมันตภาพรังสีน้อยลง
1
3. จริงอยู่ที่ Cesium-137 เป็นโลหะหมู่ 1 จึงมีจุดหลอมเหลวต่ำ มีโอกาสทำปฏิกิริยากับธาตุอื่นสูง จึงปนเปื้อนในธรรมชาติได้ง่าย และมีอันตรายมาก เพราะมีรังสีเบต้า และแกมม่าสูง แต่ต้องได้อยู่ใกล้ บริโภค หรือหายใจเข้าไปในจำนวนมากถึงจะเป็นอันตรายจนถึงชีวิตได้ และ Cesium มักจะไม่ค่อยสะสมในร่างกายมากเหมือนโลหะอื่น
2
4. แม้ในบริเวณที่มีความเสี่ยงของการรั่วไหล ระดับรังสีที่วัดได้แทบไม่ต่างกับระดับรังสีพื้นหลัง (backgroud radiation) ที่เราเผชิญอยู่ทุกวันแต่อย่างใด
1
5. เรามักจะกลัวในสิ่งที่มองไม่เห็น จริงอยู่ในอดีต การเข้าถึงเครื่องมือวัดรังสีอาจจะทำได้ยาก แต่ในปัจจุบันเครื่องมือวัดหาได้ง่ายมาก ราคาเพียงหลักพันบาท หากมีความกังวล เพียงแค่วัดค่าแรงรังสีเราก็เห็นกันแล้วว่าปลอดภัยหรือไม่
6. คำว่าฝุ่นแดง ถูกทำให้ดูเหมือนเป็น pm 2.5 ที่จะกระจายไปทั่ว จนคนที่ไม่ได้อยู่ในบริเวณใกล้เคียง พากันกังวลไปด้วย ในความจริง ฝุ่นจากการหลอมโลหะดังกล่าวมีความหนัก และจุดเดือดสูงพอสมควร ทำให้มันกลับสภาพเป็นของแข็ง/ของเหลวได้ค่อนข้างง่าย และถูกกรองเพื่อดักจับเอาฝุ่นดังกล่าว เพื่อมาหลอมเอาโลหะมีค่าอีกครั้ง ซึ่งแม้ตรวจสอบระบบดูด และกรองฝุ่นดังกล่าว ก็พบแรงรังสีเพียง 1.2-1.7 microsieverts/ชั่วโมงเท่านั้น ซึ่งสูงกว่าแรงรังสีพื้นหลังไม่ได้มากนัก และไม่ถือว่าเป็นอันตรายกับมนุษย์
ถึงแม้เหตุการณ์นี้จะไม่ได้เป็นอันตรายมากนัก แต่เราไม่ควรละเลยที่จะเพ่งโทษกับทั้งสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ และโรงงานไฟฟ้าดังกล่าวที่ประมาทเลินเล่อในการตรวจสอบควบคุมดูแลสารกัมมันตรังสี จนสารกัมมันตรังสีหลุดรอดออกไปได้ แถมยังไม่มีเครื่องหมายที่ชัดเจนที่ระบุถึงความอันตรายของอุปกรณ์ดังกล่าว
สิ่งแวดล้อม
ปัญหาสิ่งแวดล้อม
5 บันทึก
10
1
5
5
10
1
5
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย