23 ต.ค. เวลา 10:00 • ประวัติศาสตร์
ไทย

มีเรื่องเล่ากันว่า...

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ล้นเกล้ารัชกาลที่ 5 ปกติพระองค์มักจะแอบเสด็จออกตรวจตราดูแลทุกข์สุขของไพร่ฟ้าราษฎรของพระองค์อยู่เนื่องๆ..
2
และจะทรงฉลองพระองค์อย่างประชาชนคนธรรมดาทั่วไป เสด็จปะปนไปกับประชาชนมิได้ขาด และมักเสด็จไปโดยปราศจากผู้ติดตาม
มาวันหนึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระองค์กลับเสด็จขึ้นประทับรถรางของนายจอห์น ลอฟตัส ที่หลักเมืองอันเป็นต้นทาง
เผอิญวันนั้น.... ทรงลืมเอาเงินพกติดตัวไปด้วย เมื่อรถเคลื่อนที่ออกกระเป๋ารถถามว่าจะไปลงที่ไหน?
พระองค์ทรงตรัสว่า “ถนนตก“
1
กระเป๋ารถจึงบอกไปว่า “ถนนตกต้องเสียเงินสลึงหนึ่ง“
3
พระองค์จึงตรัสว่า “ไม่มี รีบออกมาจากบ้าน ลืมเอามา ฉันมีธุระจริงๆ พรุ่งนี้จะเอามาให้ ขอให้ฉันไปด้วยนะ“
กระเป๋ารถบอกว่า “ไม่ได้หรอก ระเบียบเขามีอย่างนั้น ขึ้นรถแล้วก็ต้องเสียเงินซี“
1
พระองค์ทรงตรัสว่า “เถอะน่า เว้นฉันไว้สักคนคงไม่เป็นไร ไม่มีใครรู้หรอก”
กระเป๋ารถตอบว่า “ไม่ได้หรอก ฉันต้องทำตามหน้าที่ อย่าหาว่าใจร้ายใจดำเลยพ่อคุณ ให้พ่อไปด้วยไม่ได้หรอก มันผิดระเบียบ“
พระองค์ตรัสว่า...“ก็ฉันจะไปนี่นา บอกว่าพรุ่งนี้จะเอามาให้ เมื่อไม่เชื่อก็ตามใจ แต่ฉันต้องไปถนนตกให้ได้“
ฝ่ายกระเป๋ารถก็ไม่ยอมท่าเดียว เถียงกันไปมา เผอิญคุณยายคนหนึ่งที่นั่งมาในรถรางคันเดียวกัน
เห็นเถียงกันไปมาไม่หยุด จึงยื่นเงินสลึงหนึ่งให้
1
“เอ้า! ฉันให้ค่ารถแทนก็แล้วกัน“
แล้วกระเป๋ารถก็รีบรับเอาไป...
และเรื่องราวควรจะจบลงเพียงแค่นี้นะครับ......เเต่ๆๆๆๆๆๆ..... เรื่องดันมาพี๊คเอาตอนหลังนี้...
กล่าวคือ.... พอรถรางวิ่งไปจนเกือบถึงถนนตก รถม้าพระที่นั่งก็วิ่งตามไปทัน
ทุกคนบนรถราง รวมทั้งกระเป๋ารถกลับหันไปดู มีคนตะโกนว่า “ในหลวงเสด็จๆ“
1
รถรางคันนั้นก็หยุด เพื่อให้รถพระที่นั่งผ่านไปก่อน และต่างคนต่างคอยจ้องดูในหลวงกัน
แต่รถพระที่นั่งกลับไม่เลยไป กลับมาหยุดเทียบรถรางพอดิบพอดี
1
ในหลวงซึ่งประทับมาในรถราง ก็เสด็จขึ้นประทับบนรถพระที่นั่ง แล้วก็บ่ายหน้ากลับทันที
1
ตอนนั้นเองกระเป๋ารถถึงกับ ตาลี ตาเหลือก ตกตะลึง เมื่อรู้ว่าผู้ที่ตน ทะเลาะเรื่องค่าโดยสาร และ ไล่ให้ลงไปเมื่อกี้ คือ “ในหลวง“
2
ถึงกับมือเท้าอ่อน เหงื่อโทรมกาย คิดไปคิดมาเลยร้องไห้โฮ เพราะเจ็บใจตัวเองที่มีตาหามีแววไม่ เล่นกับใครไม่เล่นไปเล่นกับเจ้าชีวิต(ในสมัยนั้นเขาเรียกกันอย่างนี้นะครับ)
คราวนี้เห็นทีหัวขาดแน่นอน แล้วนั่งร้องไห้สะอึกสะอื้นเป็นที่น่าสงสาร
รุ่งเช้า... ตำรวจมาสืบหาตัวกระเป๋ารถรางแล้วเข้าจับกุมตัว กระเป๋ารถรางหน้าซีดเหมือนคนตาย
รีบกล่าวลาลูกเมียและเพื่อนฝูงเป็นการใหญ่ นึกอยู่ในใจว่าโทษของตน ต้องถูกตัดหัวสถานเดียวแน่นอน
ตำรวจพาตัวกระเป๋ารถราง ไปเข้าเฝ้าถึงท้องพระโรง กระเป๋ารถถึงกับเป็นลมแล้วเป็นลมอีกเลยทีเดียว ตำรวจต้องช่วยพยุงเข้าไป
พอเข้าไปถึงพระที่นั่ง กระเป๋ารถหน้าซีดเผือก ก้มกราบ ถวายบังคมด้วยท่าทางเงอะงะ
วิงวอนขอพระราชทานชีวิตเอาไว้ เป็นการใหญ่...
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงทอดพระเนตรเห็นอาการของกระเป๋ารถแล้ว ก็ให้ทรงนึกขำ...
2
แต่ก็ทรงแสร้งทำพระพักตร์บึ้งตึง มีพระราชดำรัสตวาด และตรัสด่าว่ากระเป๋ารถ
”โทษถึงประหาร กูเป็นเจ้าเหนือหัวแท้ๆ ยังทำกับกูได้ถึงเพียงนี้ จะเก็บเงิน กูก็จะให้ แต่เผอิญกูลืมเอาไป ผัดก่อนก็ไม่ได้ คนแบบนี้อยู่ไปก็รกแผ่นดินของกู“
แล้วตรัสเรียกมหาดเล็กให้หยิบถุงๆหนึ่งมา
ต่อจากนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ก็ทรงตรัสเรียกกระเป๋ารถรางเข้าไปใกล้ๆ ทรงยื่นถุงให้ แล้วตรัสว่า
“เอ้า! เอาไป ถ้าเมืองไทย มีคนทำงานตามหน้าที่อย่างนี้มากๆ บ้านเมืองก็เจริญ”
4
เมื่อกระเป๋ารถรางรับถุงนั้นมาแล้ว ก็มีรับสั่งให้นำตัวออกไป พอพ้นวัง ตำรวจบอกว่า กลับบ้านได้
กระเป๋ารถรางถึงกับประหลาดใจ เอ๊ะ เรื่องมันยังไงกันนี่ พอตำรวจจากไปแล้ว จึงนึกถึงถุงที่ได้รับพระราชทานมาแต่พระหัตถ์ในหลวงขึ้นมาได้ เปิดปากถุงออกดูเห็นเป็นเงิน
จึงเทออกมานับ ปรากฏว่ามีทั้งหมดชั่งหนึ่งพอดี กระเป๋ารถยิ้มออกมาได้ ทรุดตัวลงนั่งกลางถนนนั่นเอง หันหน้าไปทางที่ประทับของในหลวง ถวายบังคมลา แล้วเดินตัวลอยยิ้มแป้นกลับบ้านทันที...
2
อ้างอิงจาก...
- หนังสือเมืองไทยในอดีต (พระนคร)
-“เพิ่มศักดิ์ วรรลยางกูล”: วัฒนาพานิช, 2503
โฆษณา