22 มี.ค. 2023 เวลา 03:18 • ความคิดเห็น

“คิชิดะ” นายกญี่ปุ่นเยือนยูเครน ส่งสัญญาณอะไร

คงเห็นตามสื่อต่างๆกันมาเยอะแล้วครับว่า เมื่อ 21 มีนาคม พ.ศ. 2566 นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น “ฟูมิโอะ คิชิดะ” สร้างเซอร์ไพรส์ เดินทางไปเยือนยูเครน และเข้าพบกับประธานาธิบดียูเครน “โวโลดีมีร์ เซเลนสกี”
1
ส่วนอีกด้านหนึ่ง ประธานาธิบดีของจีน “สี จิ้นผิง” ก็อยู่ในช่วงการเยือนรัสเซีย และได้พบพูดคุยกันฉันท์เพื่อนกับประธานาธิบดีรัสเซีย “วลาดีเมียร์ ปูติน”
สื่อ NHK ของญี่ปุ่น ระบุว่าการไปเยือนยูเครนครั้งนี้ของ “คิชิดะ” นับเป็นการไปเยือนภูมิภาคดังกล่าวเป็นครั้งแรกของผู้นำรัฐบาลญี่ปุ่น นับตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา – อ้างอิง: https://www3.nhk.or.jp/nhkworld/en/news/20230321_12
2
วิเคราะห์ถึงเหตุการณ์การมาเยือนยูเครนของผู้นำญี่ปุ่นดังกล่าว
  • ญี่ปุ่นต้องการสวมบทบาทเป็น “ผู้เฝ้าติดตามสงคราม” และ “จับตามองความเคลื่อนไหวของจีน”
ญี่ปุ่นรู้สึกว่าตอนนี้พวกเขามีโอกาสที่จะพิสูจน์ตัวเองว่าเป็น “เสาหลักแห่งเอเชีย” ให้กับโลกตะวันตกแล้ว
เมื่อสถานการณ์ถึงระดับหนึ่ง ญี่ปุ่นหวังที่จะมีบทบาท “จ้องจับผิด” ในกิจการของภูมิภาคเอเชียตะวันออกในช่วงเวลานี้ ในขณะเดียวกันความกังวลหลักของญี่ปุ่นคือ “จีนเป็นเรื่องน่าปวดหัวหลักของญี่ปุ่น” ซึ่งเป็นเรื่องโต้เถียงกันมานานในภูมิภาคนี้
2
มุ่งประเด็นไปที่ข้อเท็จจริงที่ว่า หากจีนเริ่มใช้กำลังเข้ายึดไต้หวัน ก็จะคุกคามผลประโยชน์ของญี่ปุ่นเช่นกัน ถ้าหากเกิดขึ้นจริง “อเมริกา” แน่นอนจะให้ความช่วยเหลือทางทหารแก่ไต้หวัน และจากนั้นปักกิ่งน่าจะโจมตีตอบโต้ฐานทัพอเมริกาบนแผ่นดินญี่ปุ่นอีกด้วย
2
นอกจากนี้มีการคาดการณ์ว่าหลังจากบุกไต้หวัน จีนจะเริ่มเคลื่อนตัวไปทางใต้สู่หมู่เกาะเซ็งกากุ (หรือ เตียวหยู) ซึ่งเป็นเกาะร้าง และเป็นพื้นที่พิพาท แต่ในทางกฎหมายสากลถือว่าเป็นพื้นที่ของญี่ปุ่น และจากนั้นจีนจะมุ่งหน้าไปยังเกาะโอกินาวา
3
หมู่เกาะเซ็งกากุ (ภาษาญี่ปุ่น) หรือ เตียวหยู (ภาษาจีน) พื้นที่พิพาท เครดิตภาพ: marxist.com
ญี่ปุ่นจึงกำลังสร้างแนวป้องกันของตนโดยวางกองทหารรักษาการณ์ไว้ที่เกาะนันเซซึ่งอยู่ติดกับเกาะโอกินาวา เมื่อเร็วๆ นี้ ญี่ปุ่นได้เปิดฐานทัพแห่งใหม่บนเกาะอิชิงากิ ใกล้กับโอกินาวา และประกาศว่าจะเพิ่มขีดความสามารถในการป้องกันของตน – อ้างอิง: https://mainichi.jp/english/articles/20230316/p2a/00m/0na/023000c
และญี่ปุ่นคาดว่าจะเพิ่มการใช้จ่ายทางการทหารให้สูงถึง 2% ของ GDP สอดรับกับนาโต เพื่อสร้างขีดความสามารถในการตอบโต้ฐานที่มั่นซึ่งเมื่อมีภัยคุกคามต่อญี่ปุ่นอาจเล็ดลอดออกมา – อ้างอิง: https://asia.nikkei.com/Politics/Japan-set-to-increase-defense-budget-to-2-of-GDP-in-2027
1
ตามคำกล่าวของผู้นำญี่ปุ่นคนปัจจุบัน แนวทางด้านการทหารของโตเกียวเป็นหนทางสู่สันติภาพในภูมิภาค และสิ่งนี้สอดคล้องกับนโยบายปัจจุบันของญี่ปุ่นที่กระตือรือร้นมากขึ้นในแวดวงความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ (เปิดหน้ามากขึ้นอย่างเต็มตัว)
ด้วยเหตุนี้ญี่ปุ่นจึง “กระวนกระวายใจ” เป็นอย่างมาก ไม่อยากพลาดโอกาสที่จะส่งเสริมบทบาทของประเทศทั้งในฝั่งตะวันตกและระดับโลก เพื่อแสดงให้ประชาคมโลกเห็นว่าญี่ปุ่นเป็น “ผู้เล่นสำคัญ” มากเพียงใด
4
โดยที่ตะวันตกสนับสนุนพฤติกรรมนี้เนื่องจาก “ญี่ปุ่น” ตัดสินใจสละความสัมพันธ์กับ “รัสเซีย”
1
เครดิตภาพ: Nikkei monatage/Getty Images/Hirofumi Yamamoto
  • ภาระผูกพันของที่นั่งกลุ่ม G7 ของ “ญี่ปุ่น”
เหตุผลหลักอีกประการคือ ญี่ปุ่นเป็นประธาน G7 ในปีนี้ จึงเชื่อได้ว่า
  • นายกรัฐมนตรี “คิชิดะ” ต้องการเตรียมความพร้อมอย่างดีสำหรับ “การประชุมสุดยอดฮิโรชิมา” ก่อนอื่นเพื่อแสดงให้เห็นว่าญี่ปุ่นเป็นพันธมิตรที่เชื่อถือได้ของตะวันตกในการแก้ไขวิกฤตยูเครน ดังนั้น “คิชิดะ” จึงไปเยือนยูเครนเพื่อแสดงความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันกับกลุ่มชาติตะวันตก
1
  • แต่ที่สำคัญคือ เพื่อแสดงบทบาทสำคัญของญี่ปุ่นในที่นั่ง G7 และเชื่อว่ามีการเชิญ “เซเลนสกี” มาที่การประชุมสุดยอดที่ฮิโรชิมาหรือพูดผ่านวิดีโอลิงก์อีกด้วย โดยที่จะมีการเริ่มต้นพูดคุยเกี่ยวกับด้านความมั่นคงภายในและด้านกลาโหมในเดือนหน้านี้ (เมษายน 2023) และการประชุมด้านอื่นทั่วไปในเดือนพฤษภาคมปีนี้ - อ้างอิง: https://www.g7hiroshima.go.jp/en
1
เครดิตภาพ: Nikkei monatage /Source photos by Kyodo, Reuters and Getty Images
  • ต้องการแสดงความมีน้ำใจ ทดแทนเรื่องอื่น “แบ่งรับแบ่งสู้”
  • ในขณะเดียวกันแม้ “ญี่ปุ่น” จะแสดงให้เห็นถึงความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันกับ “ยูเครน” ในภาวะสงคราม แต่ญี่ปุ่นก็ให้ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจแก่ยูเครนน้อยกว่าประเทศอื่นๆ ประชาชนญี่ปุ่นส่วนใหญ่ 76% ไม่เห็นด้วยกับรัฐบาลที่จะส่งอาวุธไปช่วยยูเครน ขณะที่ 66% ชาวญี่ปุ่นอยากให้สนับสนุนช่วยเหลือยูเครนด้านอื่นมากกว่า - อ้างอิง: http://www.uniindia.com/majority-of-japanese-against-arms-supplies-to-ukraine-reports/world/news/2924009.html
  • สำหรับความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจ ญี่ปุ่นจะให้เงิน 1.5 พันล้านดอลลาร์ แก่ยูเครน และไม่ได้อยู่ในรูปแบบของความช่วยเหลือโดยตรง แต่อยู่ในรูปแบบของการกู้ยืม และเมื่อเทียบกับสิ่งที่ยุโรปและอเมริกาส่งให้ยูเครน ก็ถือว่าไม่มากนัก นอกจากนี้ญี่ปุ่นยังรับผู้ลี้ภัยจากยูเครนน้อยมาก (ประมาณสองพันคน) – อ้างอิง: https://asia.nikkei.com/Politics/Ukraine-war/Grassroots-refugee-support-grows-in-Japan-amid-tough-asylum-policy
สถานการณ์คล้ายกันเมื่อต้องส่งความช่วยเหลือประเภทต่างๆ ไปยังยูเครน ญี่ปุ่นจำกัดการส่งความช่วยเหลือให้ยูเครนเป็นเสื้อเกราะกันกระสุน หมวกนิรภัย และความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมบางอย่าง
“ญี่ปุ่น” กำลังทำเช่นนี้ [ผู้นำไปเยือนยูเครนโดยตรง] เพื่อลดช่องว่างความช่วยเหลือกับฝ่ายตะวันตกโดยรวม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเนื่องจากยูเครนจะเป็นหนึ่งในหัวข้อหลักในการประชุมสุดยอดที่เมืองฮิโรชิมา
ญี่ปุ่นส่งความช่วยเหลือเป็นเสื้อเกราะกันกระสุน หมวกนิรภัย ให้กับยูเครน เครดิตภาพ: KYODO
ในความเป็นจริงของแง่ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของประเทศ “ญี่ปุ่น” อาจคิดว่าการเดินนโยบายที่ตึงเกินไปคือเรื่องคว่ำบาตรและต่อต้านรัสเซีย จะส่งผลเสียย้อนกลับมาที่ประเทศเองด้วย “ญี่ปุ่น” ทราบดีถึงเรื่องนี้ ซึ่งเป็นเหตุผลว่าทำไม แม้ว่าจะมีความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันกับยูเครนและมาตรการคว่ำบาตรต่อต้านรัสเซีย โตเกียวก็ยังพยายามอดทนและอยู่ในที่ที่ยังทำได้
ในความสัมพันธ์กับรัสเซีย “ญี่ปุ่น” เลือกใช้นโยบายคว่ำบาตรที่เข้มงวด ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในความสัมพันธ์รัสเซีย-ญี่ปุ่น การเจรจาทางการเมืองระหว่างทั้งสองประเทศยุติลงจริง
  • บริษัทญี่ปุ่นกำลังจะออกจากรัสเซีย แน่นอนว่าไม่ใช่ทั้งหมด ตามสถิติประมาณ 50% เท่านั้น ที่ทั้งถอนตัวออกทั้งหมดหรือแค่ระงับการดำเนินธุรกิจไว้ - อ้างอิง: https://www.nippon.com/en/japan-data/h01602
1
  • อย่างไรก็ตาม มีบริษัทญี่ปุ่นในภาคพลังงานที่เกี่ยวข้องกับโครงการ Sakhalin และ Arctic LNG-2 โดยญี่ปุ่นยังต้องการที่จะคงการมีส่วนร่วมในโครงการเหล่านี้ – อ้างอิง: https://lngprime.com/asia/japans-mol-to-continue-shipping-russian-lng-ceo-says/70251
เครดิตภาพ: Illustration: CNN/Getty Images
บทความโดย Right SaRa
22nd Mar 2023
<เครดิตภาพปก: Ukrainian Presidential Press Service / via Reuters>
โฆษณา