Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
อ่านแล้วอยากเล่า
•
ติดตาม
22 มี.ค. 2023 เวลา 14:48 • สุขภาพ
ถึงแม้อากาศที่ขั้วโลกใต้จะหนาว แต่เราก็จะไม่เป็นหวัด!
เพราะว่าไวรัสที่เป็นสาเหตุของไข้หวัดไม่สามารถทนต่ออากาศหนาวของขั้วโลกใต้ได้
หวัด หรือที่เรียกกันอย่างเป็นทางการว่า "โรคไข้หวัด" เป็นการเรียกชื่อโดยรวมของอาการอักเสบเฉียบพลันของระบบทางเดินหายใจ เช่น "โรคติดเชื้อเฉียบพลันในระบบหายใจส่วนบน" (Upper respiratory tract infection) กับ "ภาวะเยื่อบุเมือกโพรงจมูกอักเสบ" (Coryza) ซึ่งจะมีอาการเจ็บคอ มีน้ำมูก ไอ และในบางกรณีอาจจะเกิดอาการพร้อมกับมีไข้ไปด้วย
สาเหตุของอาการเหล่านี้มากกว่า 90% เกิดจากเชื้อไวรัส ที่เหลือเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย จำนวนของเชื้อไวรัสที่เป็นสาเหตุหลักๆ นั้น มีมากถึงหลายร้อยชนิดเลยทีเดียว
พออากาศเริ่มหนาวขึ้นก็ยิ่งเป็นไข้ได้ง่ายขึ้น แต่ในพื้นที่ที่มีอากาศหนาวจัดอย่างขั้วโลกใต้ที่ไม่มีคนเป็นโรคหวัดเลยนั้น เป็นเพราะว่าเป็นพื้นที่ที่อุณหภูมิต่ำมาก เชื้อโรคและไวรัสไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ เชื้อต่างๆ จึงตายหมด
โดยที่ขั้วโลกใต้มีอุณหภูมิเฉลี่ยบนพื้นดินห่างจากชายฝั่ง คือ -57 องศาเซลเซียส หรือ -10.5 องศาเซลเซียส ตรงบริเวณที่อยู่ใกล้ชายฝั่ง เคยมีการบันทึกอุณหภูมิต่ำสุดในประวัติศาสตร์อยู่ที่ -97.8 องศาเซลเซียส
โดยปกติแล้วแค่อากาศหนาวอย่างเดียวไม่มีทางทำให้เป็นหวัด แต่ถ้าเราอาศัยอยู่ในขั้วโลกใต้เป็นเวลานาน หลังจากกลับประเทศไปแล้ว เชื้อไวรัสที่เคยอ่อนแอก็อาจกลับมาติดเชื้อ และทำให้เราเป็นไข้อย่างรวดเร็วก็เป็นได้
การเป็นหวัดแล้วมีไข้นั้น เพราะร่างกายของเราพยายามจะควบคุมไวรัสที่เติบโตในร่างกายด้วยการเป็นไข้ อุณหภูมิร่างกายโดยปกติแล้วจะอยู่ที่ 37 องศาเซลเซียส โดยประมาณ แต่เมื่อติดเชื้อไวรัสแล้ว ศูนย์ควบคุมอุณหภูมิของร่างกายที่อยู่บริเวณต่อมไฮโปทาลามัส (Hypothalamus) ในสมองของเราจะออกคำสั่งให้ร่างกายเพิ่มอุณหภูมิ โดยการปิดต่อมเหงื่อ ทำให้หลอดเลือดหดตัวลง ระงับการปล่อยความร้อน และเก็บกักความร้อนไว้ในร่างกาย การมีไข้จะกระตุ้นให้เม็ดเลือดขาวสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมา
ที่เรารู้สึกหนาวสั่นตอนเป็นไข้ เป็นเพราะอุณหภูมิสูงขึ้นและทำให้กล้ามเนื้อสั่น ไข้หวัดใหญ่จะมีไข้สูงกว่าไข้หวัดธรรมดา เพราะยิ่งเชื้อไวรัสรุนแรงเท่าไร อุณหภูมิร่างกายจะยิ่งสูงและเพิ่มภูมิคุ้มกันแน่นหนาขึ้นเท่านั้น เมื่อเชื้อไวรัสจากไข้หวัดถูกกำจัดไปแล้ว ศูนย์ควบคุมอุณหภูมิของร่างกายจะสั่งการเพื่อทำให้อุณหภูมิร่างกายลดลง เช่น การขับเหงื่อ พอเหงื่อออกไข้ก็จะลดลง
เชื้อฮีโมฟิลุส อินฟลูเอนเซ (Haemophilus Influenzae) คือต้นเหตุของไวรัสไข้หวัดใหญ่ โดยไข้หวัดใหญ่เราต้องเฝ้าระวังเด็กและผู้สูงอายุเป็นพิเศษ
โดยข้อมูลนี้มาจากหนังสือซีรีส์สนุกจนตาสว่าง เรื่องลึกแต่ไม่ลับของร่างกายมนุษย์ เรื่องที่ 26 หน้าที่ 64-65 โดยผู้เขียน นพ.ดร. โอกิโนะ ทาคาชิ และผู้แปล คณะผู้แปลสำนักพิมพ์ไดฟุกุ
หน้าปกหนังสือซีรีส์สนุกจนตาสว่าง เรื่องลึกแต่ไม่ลับของร่างกายมนุษย์ จากสำนักพิมพ์ไดฟุกุ เป็นปกอ่อน มี 132 หน้า ขนาด 170 x 230 x 8 มม. เนื้อในพิมพ์ 2 สี เป็นกระดาษปอนด์ ทั้งเล่มมีทั้งหมด 54 เรื่อง
ขอบคุณที่อ่านจนจบครับผม
ฝากเพจบนเฟซบุ๊คด้วยครับ
เพจอ่านแล้วอยากเล่า
https://www.facebook.com/readingntelling?mibextid=ZbWKwL
หนังสือ
สุขภาพ
เรื่องเล่า
บันทึก
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย