22 มี.ค. 2023 เวลา 15:37 • การศึกษา
ผมเป็นคนที่ชื่นชอบสิ่งที่เป็น
“จุดตัดระหว่างศาสตร์และศิลป์”
ไม่ว่าจะเป็นงานทางด้านวิศวกรรม เช่น
“การออกแบบรถยนต์, เรือ, และ เครื่องบิน”
มีคำกล่าวจากบุคคลท่านหนึ่งในวงการออกแบบที่ผมชื่นชอบมาก
ท่านกล่าวไว้ว่า
“Design must be functional and functionality must be translated into visual aesthetics, without any reliance on gimmicks that have to be explained.”
— Ferdinand Porsche
เพราะความท้าทายในงานด้านการออกแบบ คือ
“การแก้ปัญหาที่ต้องอาศัยทั้งศาสตร์และศิลป์ในการหาคำตอบที่ใช้ในการแก้ปัญหา
และผลงานนั้นนอกจากจะแก้ปัญหาได้แล้ว มันสามารถเป็นงานศิลป์ที่มีคุณค่าน่าเชยชมไปอีกตราบนานเท่านานอีกด้วย!”
นอกจากการศึกษาเรื่องรถยนต์ที่เป็นงานอดิเรกที่ผมชื่นชอบมาตั้งแต่เด็กๆแล้ว
“งานทางด้านสถาปัตยกรรม”
ก็เป็นสิ่งที่ผมเองก็ให้ความสนใจเช่นกัน
โดยผมเลือกที่จะศึกษางานทางด้านนี้ผ่านผลงานของ
“สถาปนิก”
ที่ผมชื่นชมในผลงานของพวกท่าน มากกว่าที่จะศึกษาภาคทฤษฎีอย่างเป็นทางการ
โดยสถาปนิกที่ผมยกให้เป็น idols คือ
1) Sir Norman Foster
มีงานอยู่สองชิ้นของท่านที่ประทับใจผมมาก ได้แก่
> “The Gherkin” ใน London
นี่คงเป็นตึกที่ออกแบบมาได้ลู่ลมทุกทิศทางเพราะภาคตัดขวางเป็นวงกลม มีการรับแสงได้รอบทิศทางเพราะมีวัสดุที่เป็นกระจกหุ้มแทบทั้งตึก สามารถรับแสงธรรมชาติและมีระบบประหยัดพลังงานอยู่ภายในด้วย!
> “Millau Bridge”
สำหรับผม นี่เป็นสะพานที่ออกแบบมาได้อย่างงดงาม ผมเข้าใจว่าอยู่ทางตอนใต้ของฝรั่งเศส
ท่าน NF มีความสามารถที่หลากหลายในการออกแบบอย่างน่าทึ่งจริงๆครับ
2) Kengo Kuma
ผมเองไม่เคยรู้จักท่านเลย จนกระทั่งผมได้สนทนากับชาวต่างชาติท่านหนึ่งที่เอ่ยถึงชื่อท่าน
เท่าที่ผมเคยศึกษางานของท่านพอสังเขป ท่านใช้แนวคิดเรื่องความกลมกลืนของธรรมชาติในงานออกแบบของท่าน และที่ผมชื่นชอบผลงานของท่านมากที่สุดคือ การนำ “ไม้” มาเป็นองค์ประกอบของสิ่งปลูกสร้างได้อย่างวิจิตรลงตัว และบ่งบอกถึงแนวคิดแบบวัฒนธรรมญี่ปุ่นได้อย่างเหนือชั้นพรั่นพรึง!
1
3) Wang Shu
สถาปนิกชาวจีน ที่นำเสนองานที่สามารถทำให้หมู่บ้านชาวจีนโบราณดูน่าตื่นตาตื่นใจในแนว “modern” ได้อย่างกลมกลืน
4) และในฐานะที่ผมท่อง Youtube มานาน ผมขอแนะนำรายการด้านงานสถาปัตยกรรมที่น่าสนใจ คือ
> “Grand Designs”
เป็นรายการที่คนรักบ้านไม่อาจพลาดได้!
และมีรายการจากทาง BBC ที่เป็น contents เกี่ยวกับงานสถาปัตยกรรมที่น่าสนใจอีกมากมายครับ
• และความสนใจส่วนตัวของผมด้านงานทางด้านสถาปัตยกรรม คือ
> “The Glass House”
ในปี ค.ศ. 1949 สถาปนิกเลื่องชื่อท่านหนึ่งนามว่า Philip Johnson ท่านได้ออกแบบ “The Glass House” ซึ่งเป็นบ้านที่มีผนังเป็นกระจกใสบานใหญ่
และผมเองมีความชื่นชอบบ้านลักษณะนี้มาก เพราะเป็นแนว “minimalism” ที่น่าสนใจมาก
> “บ้านสำหรับผู้สูงอายุ”
ผมเองดูแลพระในบ้านซึ่งท่านอยู่ในวัยผู้สูงอายุแล้ว
“ความปลอดภัย”
คือหัวใจของบ้านของผู้สูงอายุ
การ “ล้ม” ในผู้สูงอายุเป็นเรื่องใหญ่มากครับ และลูกหลานต้องดูแลเรื่องนี้อย่างเต็มที่
ข่าวการล้มของผู้สูงอายุท่านหนึ่งที่ผมเพิ่งรับรู้จากโทรทัศน์ในช่วงหัวค่ำ
ย้ำเตือนถึงปัญหานี้เป็นอย่างดี
ข้อมูลจากข่าวระบุว่า
“การหกล้มในผู้สูงอายุ”
- 50% ของตัวเลขผู้เสียชีวิตจากการหกล้มเป็นผู้สูงอายุ
- ทุกปีมีผู้สูงอายุหกล้มมากกว่า 3 ล้านคน
- เสียชีวิตจากเหตุนี้เฉลี่ยวันละ 3 คน
- สาเหตุจากการหกล้ม
66% มาจากการ ลื่น, สะดุด, ก้าวพลาด และ 5.6% คือการตกบันได
”ห้องน้ำ”
นี่น่าจะเป็นพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูงสำหรับผู้สูงอายุ
นอกจากความเปียกชื้นแล้ว “คราบสบู่” คืออันตรายที่ไม่สามารถมองข้ามได้
นอกจากนั้น การติดตั้ง “ราวจับกันล้ม” คือสิ่งสำคัญที่ทุกบ้านที่มีผู้สูงอายุต้องทำโดยทันที
นอกจากนั้น เรื่องระบบไฟแสงสว่างและการจัดสภาพแวดล้อมอื่นๆในบ้านเพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้กับผู้สูงอายุนั้น เป็นเรื่องที่ควรให้เวลาในการออกแบบและปรับปรุง
ในยุคสมัยที่สังคมไทยได้ก้าวเข้าสู่
“สังคมผู้สูงอายุ”
อย่างเต็มตัว!
• “The Future is Now!”
สำหรับงานทางด้านสถาปัตยกรรมในอนาคต
“เทคโนโลยีเครื่องพิมพ์ 3 สามมิติ”
หรือ
“3D printing in construction”
กำลังเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในงานออกแบบทางด้านสถาปัตยกรรมในยุคต่อไป
และเทคโนโลยีนี้จะเป็น
“The Next Chapter”
สำหรับทฤษฎีการออกแบบด้านสถาปัตยกรรมที่สถาปนิกรุ่นใหม่ได้มีโอกาสใช้
ในการออกแบบของตนเอง
• ถึงแม้ผมเองจะผ่านช่วงอายุ 24 มานานแล้ว
แต่ความหลงใหลหรือ “Obsession” ในงานด้านการออกแบบและวิศวกรรมก็มิได้เสื่อมคลายลงตามกาลเวลา
ในทางตรงกันข้าม
ในยุคสมัยแห่ง Youtube การศึกษาที่ผมเรียกว่า
“Learning beyond time and space”
หรือการเรียนรู้ที่ไร้ขีดจำกัดด้านสถานที่และเวลาผ่าน Youtube นั้น
มันทำให้เราเรียนรู้ได้อย่างไม่จำกัด, มีชีวิตชีวา, และแทบจะไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเลยในบางกรณี!
โฆษณา