23 มี.ค. 2023 เวลา 12:48 • การเมือง

เพื่อนรักหักเหลี่ยม

เรียกได้ว่านักการเมืองที่เป็นคู่ปรับตลอดการรวมทั้งเป็นเพื่อนร่วมงานด้วยกันมาอย่างยาวนานที่ไม่พูดถึงไม่ได้คือ จอมพล ป. พิบูลสงคราม กับ ปรีดี พนมยงค์
ทั้ง 2 คนเป็นผู้ที่มีบทบาททางการเมืองในช่วงต้นหลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครองในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475
และเป็นผู้ที่อยู่ใน 7 คนที่ก่อตั้งคณะราษฎรที่ประเทศฝรั่งเศสในช่วงที่ปรีดีศึกษาวิชากฎหมายที่ฝรั่งเศสปรีดีได้ถูกรับเลือกให้เป็น
ประธานสมาคมสามัคยานุเคราะห์สมาคม (สมาคมนักเรียนไทยในยุโรป)มีหน้าที่เป็นที่ปรึกษาให้กับนักเรียนไทยในยุโรป ในช่วงเช้าของวันหนึ่ง
แปลก ขีตตะสังคะ (จอมพล ป.) ได้มาหาปรีดีเพื่อมาติดต่อในการที่ให้ปรีดีช่วยหาห้องเช่าใหม่
ปรีดีเลยเสนอว่ามีห้องเช่าที่อยู่ติดกันยังว่างอยู่ด้วยเหตุนี้ทำให้แปลกเช่าห้องติดกับปรีดีทั้งสองคนเจอหน้ากันแทบทุกวันช่วงเวลาว่างก็จะทำอาหารที่ครัวเล็กในหอพักกินกันและปรึกษาหารือเรื่องการเมืองถึงขนาดที่ปรีดีได้ซื้อหนังสือเทคนิคการทำรัฐประหารให้แปลกอ่านในท้ายที่สุดทั้งสองก็เป็นเพื่อนกันก่อนที่แปลกจะย้ายไปศึกษาต่อที่เยอรมัน
ภายหลังจากปรีดีกลับมาถึงกรุงสยามปรีดีร่วมกับคณะราษฎรก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองซึ่งภายหลังจากได้รับพระราชทานรัฐธรรมนูญ
ปรีดีได้เสนอเค้าโคลงเศรษฐกิจ (สมุดปกเหลือง) ซึ่งมีรูปแบบไปทางสังคมนิยมทำให้กลุ่มที่เป็นปฏิปักษ์รวมถึงคณะราษฎรบางส่วนไม่เห็นด้วย
กับเค้าโคลงเศรษฐกิจทำให้พระยามโนปกรณ์นิติธาดา(นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น)ใช้โอกาศนี้ประกาศปิดสภาและยกเลิกการใช้รัฐธรรมนูญบางมาตรา
ปรีดีต้องลี้ภัยออกจากประเทศหลังจากนั้นไม่นาน นั่นหมายถึงกลุ่มผู้นำฝ่ายทหารของคณะราษฎรต่างก็ต้องลาออกและถูกแทนที่ด้วยกลุ่มทหารที่สนับสนุนพระยามโนปกรณ์เหลือไว้แต่ หลวงพิบูลสงคราม (แปลก) กับ ประยูรภมรมนตรี
หลังจากนั้นไม่นานหลวงพิบูลได้ชักชวนหลวงศุภชลาศัยและพระยาพหลพลพยุหเสนาซึ่งตอนนั้นพระยาพหลได้ออกจากราชการไปแล้วกลับมาทำรัฐประหารเพื่อเปิดสภา
หลังจากทำรัฐประหารเสร็จสิ้นลงหลวงหลวงพิบูลร่วมกับพระยาพหลได้เชิญปรีดี พนมยงค์ กลับสู่สยาม
ทันทีที่ได้ข่าวว่าปรีดีจะกลับมาสยามทำให้พระองค์เจ้าบวรเดช ไม่พอใจด้วยเหตุนี้ พระองค์เจ้าบวรเดชอ้างเหตุที่รัฐบาลเชิญนายปรีดีที่เป็นคอมมิวนิสต์กลับมาพระองค์เจ้าบวรเดชเลยใช้เหตุผลนี้ในการก่อกบฏเพื่อที่จะต่อสู้กับรัฐบาล
ส่วนหลวงพิบูลสงครามได้รับการแต่งตั้งในการปราบกบฏบวรเดช เรียกได้ว่า หลวงพิบูลสงคราม คือคนสำคัญที่ช่วยเหลือปรีดี พยมยงค์ ในการต่อสู้ทางการเมืองก็ว่าได้
ปรีดี ใส่ชุดสีขาวนั่งตรงข้ามกับจอมพล ป. (คำว่า ป. ย่อมาจาก แปลก)
เมื่อฝ่ายกบฏพ่ายแพ้ลงปรีดีได้ถูกแต่งตั้งดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีฯต่อมาหลังจากพระยาพหลลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีทำให้หลวงพิบูลสงครามได้ก้าวขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรีแทนพระยาพหล
ช่วงนี้เองที่พลวงพิบูลสงครามลาออกจากบรรดาศักดิ์แทนที่ด้วยชื่อจอมพล ป. พิบูลสงคราม
เมื่อสงครามโลกครั้งที่สองมาถึงจอมพล ป. เลือกที่จะเข้าร่วมกับฝั่งญี่ปุ่นและแต่งตั้งให้ปรีดีดำลงตำแหน่งเป็นผู้สำเร็จราชการ แต่ปรีดี เลือกที่จะอยู่ฝั่งสัมพันธ์มิตรโดยก่อตั้งขบวนการเสรีไทยอย่างลับๆเพื่อทำการต่อต้านญี่ปุ่น
ทั้งสองคนมีอุดมการณ์ที่ค่อนข้างต่างกันอย่างมากแต่ก็อาศัยความช่วยเหลื่อซึ่งกันจอมพล ป. พึ่งพาสมองของปรีดี ส่วนปรีดี ก็ต้องพึ่งพากำลังของ จอมพล ป. ทำให้ทั้งสองคนเป็นทั้งเพื่อนและศัตรู
สงครามสิ้นสุดลงญี่ปุ่นพ่ายแพ้สงคราม จอมพล ป. ร่วมกับคนอื่นๆก็กลายเป็นอาชญากรสงครามแต่เพราะกฎหมายอาชญากรสงครามที่ถูกประกาศใช้ขึ้นทำให้จอมพล ป. ขึ้นศาลที่ไทยไม่ใช่ขึ้นศาลที่โตเกียว จอมพล ป. ได้เขียนจดหมายไปหาปรีดี เพื่อขอความช่วยเหลือในฐานะหัวหน้าขบวนการเสรีไทย (ใครอยากอ่านเนื้อความในจดหมายอยู่ที่ลิ้งข้างล่าง)
ซึ่งจอมพล ป. ถูกขังอยู่ในเรือนจำในระยะเวลาอันสั้นและไม่ถูกตัดสินประหารชีวิตหลังออกมาจากคุกจอมพล ป. ก็ไม่ยุ่งเกี่ยวทางการเมืองอีกเลยแต่
เมื่อปรีดีลาออกจากตำแหน่งผู้สำเร็จราชการและถูกรับเลือกให้เป็นนายกรัฐมนตรีต่อจากควง อภัยวงศ์ หลังจากที่ปรีดีเข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีก็เกิดเหตุการณ์สวรรคตของรัชกาลที่ 8 ทำให้ปรีดีถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้ปลงพระชนม์อย่างหนักหน่วง
ส่งผลให้ปรีดี พนมยงค์ ต้องลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตีและให้ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ เป็นผู้สืบทอดตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
ไม่กี่เดือนต่อมาพลโท ผิน ชุณหะวัณ กลุ่มทหารที่นิยมจอมพล ป. ได้นำคณะแห่งชาติเข้ายึดอำนาจจากรัฐบาล ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ทำให้นายปรีดีที่สนับสนุนรัฐบาลถวัลย์ต้องลี้ภัยออกนอกเทศอีกครั้ง
ผิน ชุณหะวัณ ได้เชิญจอมพล ป. มาเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง ไม่กี่ปีต่อมาปรีดีได้กลับเข้ามาในประเทศเพื่อทวงคืนอำนาจจากกลุ่มทหารที่ทำรัฐประหาร หรือเรียกเหตุการณ์นี้ว่าขบวนการประชาธิปไตยหรืออีกชื่อหนึ่งกบฏวังหลวง
กลุ่มปรีดีล้มเหลวทำให้ปรีดีต้องลี้ภัยครั้งที่ 3 และเป็นครั้งสุดท้าย จอมพล ป. ได้กลับมามีอำนาจอีกครั้งหลังจากนั้นจอมพล ป.รัฐประหารตัวเองในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2494 ฉีกรัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2492 และหันไปใช้
รัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2475 ที่ปรีดีเป็นคนร่างขึ้นแต่ภายหลังก็ต้องการที่จะลื้อฟื้นคดีสวรรคตเพื่อให้ปรีดีกลับมาช่วยงานเลยส่งคณะไปติดต่อปรีดีซึ่งตอนนั้นลี้ภัยอยู่ที่ประเทศจีนแต่ไม่ได้รับการติดต่อจากปรีดีกลับมา
หลายปีต่อมาจอมพล ป. ได้พบปาล ตามคำบอกเล่าของ ปาล พนมยงค์ (ลูกชายปรีดี)ในปี พ.ศ.2500 จอมพล ป. พูดกับปาล ว่า บอกคุณพ่อของหลานด้วยนะว่าลุงอยากจะให้กลับมาช่วยลุงทำงานให้ชาติลุงคนเดียวสู้ศักดินาไม่ไหวแล้ว (คำพูดของจอมพล ป.)
ภายในปีเดียวกันนั้นเองจอมพล ป. ได้ถูกจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ทำรัฐประหารเป็นอันสิ้นสุดบทบาททางการเมืองของจอมพล ป. โดยสมบูรณ์ จอมพล ป.
ได้ลี้ภัยอยู่ที่ญี่ปุ่นก่อนที่จอมพล ป. จะเสียชีวิตลง ตามคำบอกเล่าของท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์ (ภรรยาของปรีดี) จอมพลป. ได้ส่งโปสการ์ดมาหาปรีดี เขียนว่า .Please อโหสิ
ปรีดี กับ แปลก มีภาพจำว่าเป็นศัตรูทางการเมืองแต่ในอีกมุมมองหนึ่งทั้งสองก็เป็นเพื่อนที่ร่วมต่อสู้กันมาอย่างยาวนาน
Reference
จดหมายของจอมพล ป. ถึงปรีดี
หอจดหมายเหตุ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
โฆษณา