25 มี.ค. 2023 เวลา 11:00

รู้ไหม? การเป็น Imposter syndrome ก็มีข้อดีเหมือนกันนะ

ปัญหาหนึ่งของคนที่มีความทะเยอะทะยานที่ต้องเผชิญกับความท้าทายใหม่ๆ คือ การเป็น Imposter syndrome ซึ่งทำให้รู้สึกว่าตัวเองไร้ความสามารถและกลัวว่าคนอื่นๆ จะคิดเช่นเดียวกับตัวเอง แม้ว่าในความเป็นจริงแล้วเพื่อนร่วมงานของคุณจะไม่เคยคิดเช่นนั้นก็ตาม
แต่ก็ไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะจากการศึกษาที่ตีพิมพ์ใน International Journal of Behavioral Science พบว่า 70% ของผู้คนมักจะรู้สึกแบบนั้นไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง แต่สิ่งที่น่าแปลกใจคือ อาการ Imposter syndrome มักจะพบได้บ่อยในกลุ่มคนที่มีประสิทธิภาพสูง คนที่มองจากภายนอกแล้วดูเป็นคนที่ประสบความสำเร็จ แต่จริงๆ แล้วภายในกลับรู้สึกวิตกกังวล เพราะกลัวคนอื่นจะคิดว่าตัวเองไม่ได้มีความสามารถเหมือนอย่างที่ทุกคนคิด
แม้ว่าการเป็น Imposter syndrome จะทำให้บางคนรู้สึกทุกข์ทรมาน แต่ก็ยังเป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่าคุณกำลังผลักดันตัวเองไปข้างหน้า ไม่ได้อยู่แต่ในเซฟโซนของตัวเอง เพราะเมื่อไหร่ก็ตามที่คิดว่าตัวเองยังไม่ดีพอ ความคิดนี้จะกระตุ้นให้คุณก้าวไปข้างหน้ามากขึ้นเรื่อยๆ เพราะฉะนั้น แทนที่จะต่อต้านความคิดนี้ ควรโน้มรับแทนจะดีกว่า
เนื่องจากการเป็น Imposter syndrome จะเป็นผลบวกหรือเป็นผลลบก็ได้ ในด้านบวกคุณจะพบวิธีจัดการและผลักดันจากอาการนี้ เช่น ได้เรียนรู้ พัฒนา และมีความยืดหยุ่นมากขึ้น แต่ในทางกลับกัน คุณก็อาจจะรู้สึกว่าต้องหลบซ่อนตัวเองอยู่ตลอดเวลา เพราะกลัวคนอื่นจะคิดว่าคุณไม่ได้เก่งขนาดนั้น
ซึ่งมีแนวโน้มทำให้เกิดการผัดวันประกันพรุ่ง กลายเป็นพวกนิยมความสมบูรณ์แบบมากเกินไป หรืออาจจะรู้สึกวิตกกังวลและเกิดความไม่มั่นคงในจิตใจขึ้น
สิ่งสำคัญคือ ต้องพยายามก้าวข้ามขีดจำกัด แม้ว่าอาจไม่ได้ช่วยป้องกันโรค Imposter syndrome แต่จะช่วยให้คุณสามารถจัดการกับโรคนี้ได้ มาดูกันว่าจะจัดการกับโรค Imposter syndrome อย่างไรดี?
🟥 ทำความเข้าใจว่าอะไรเป็นสิ่งที่กระตุ้นให้คุณเกิดอาการ Imposter Syndrome
ขั้นตอนแรก คุณต้องตระหนักก่อนว่าสถานการณ์ไหนที่กระตุ้นให้คุณเกิดอาการ Imposter syndrome เช่น การพูดในที่ประชุม หรือการพูดในที่สาธาณะ
เมื่อถูกกระตุ้นแล้ว จะเกิดอาการ “amygdala hijack” (การโดนปล้นความเป็นตัวเอง ทำให้ควบคุมตัวเองไม่ได้) และความกลัวก็เริ่มคืบคลานเข้ามา แต่หากคุณรู้ว่าอะไรที่เป็นสิ่งกระตุ้นแล้ว คุณก็จะเริ่มทำความเข้าใจได้ว่าเกิดอะไรขึ้น หลังจากนั้นคุณก็จะมีสติมากขึ้น
🟥 จำไว้ว่าสิ่งที่รู้สึก ไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นจริง
เตือนใจตัวเองไว้เสมอว่า “สิ่งที่คุณรู้สึก ไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นจริง” เพราะหลายคนมักจะชอบคิดไปเอง อย่าตัดสินอะไรตามความรู้สึกถ้าไม่เคยลองทำจริงๆ ตัวอย่างเช่น เมื่อเรียนเรื่องการพูดในที่สาธารณะมา คุณจะไม่มีวันเป็นผู้เชี่ยวชาญได้ จนกว่าจะได้เริ่มพูดต่อหน้าคนจริงๆ เพราะการนั่งเรียนเฉยๆ แล้วคิดตามไม่สามารถแทนที่การกระทำจริงๆ ได้
🟥 สร้างความมั่นใจให้ตัวเอง
ปัญหาหนึ่งของคนที่ประสบความสำเร็จสูงคือ แม้ว่าตัวเองจะบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้แล้ว แต่ก็ยังรู้สึกว่ายังไม่ดีพอ และไปโฟกัสที่เป้าหมายต่อไปทันที วิธีแก้คือ ให้สร้างลิสต์ความสำเร็จไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่ก่อนหน้านี้ เพื่อเพิ่มความมั่นใจให้กับตนเองโดยการเตือนตัวเองว่าคุณเคยทำอะไรสำเร็จมาแล้วบ้าง
🟥 ความกล้ามาก่อนความมั่นใจ
คนเราจะไม่สามารถมั่นใจอะไรได้หากไม่เคยทำสิ่งนั้นมาก่อน ความมั่นใจสามารถพัฒนาได้เมื่อมีประสบการณ์มากขึ้น แต่คุณจะต้องมี ‘ความกล้า’ ในการตัดสินใจก่อนที่จะเริ่มทำอะไรสักอย่าง
วิธีการสร้างความกล้าคือ คุณจะต้องตระหนักก่อนว่า ทำไมการเริ่มทำสิ่งนั้นๆ ถึงสำคัญ? สิ่งนั้นจะช่วยให้คุณทำอะไรได้บ้าง? สิ่งนั้นจะสร้างอิมแพคให้กับคุณได้อย่างไร? ให้มองข้ามเสียงต่อต้านเล็กๆ ในหัวของคุณ โดยการเตือนตัวเองว่าทำไมคุณถึงต้องทำในสิ่งที่คุณกลัว จากนั้นก็ค่อยๆ ก้าวออกจากคอมฟอร์ตโซนของตัวเอง และฝึกฝนทำสิ่งที่กลัวเป็นประจำ
อ่านบทความได้ที่ : https://bit.ly/3TEiDKa
มาร่วม CONNEXT THE DOT ก้าวสู่โลกการทำงานอย่างมั่นใจไปด้วยกัน
——————————————————

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา