25 มี.ค. 2023 เวลา 01:54 • หุ้น & เศรษฐกิจ

ถึงคิวต่อไปในวิกฤตธนาคาร? ขอเชิญพบกับ “Deutsche Bank”

นับจากจุดสูงสุดของต้นปี 2023 หุ้นของ Deutsche Bank ต่อไปนี้ขอเรียกว่า DB ปรับตัวลงมาแล้วมากกว่า -30%
เมื่อคืนหุ้น DB ร่วงลงทำจุดต่ำสุดจากวันก่อนหน้า -14.80% แต่ยังมีแรงซื้อกลับบ้างจนราคาปิด -8.53%
ถ้าจะบอกว่า แรงขายที่เกิดขึ้น เป็นแค่ Aftershock ต่อจาก Credit Suisse แต่ไม่มีอะไรมากกว่านั้น ก็ดูจะมองโลกในแง่ดีเกินไปซักหน่อย
1
แต่ถ้าจะบอกว่า DB คือ โดมิโนตัวต่อไป ก็ต้องบอกว่า หากมองจากราคาหุ้นของเขาในช่วง 15 ปีที่ผ่านมา ธนาคารเขาก็เหมือนจะมีปัญหามาอยู่ก่อนแล้ว เพราะจากจุดสูงสุดที่ €86.23 ต่อหุ้น ที่ตลาดหลักทรัพย์เยอรมัน ล่าสุดเมื่อคืนปิดที่ราคา €8.54 ต่อหุ้น หรือคิดเป็น ติดลบ -90% แสดงว่า ปัญหาของ DB เรื้อรังมายาวนาน คล้ายๆกับ CS เหมือนกัน
6
และจากบทความที่แล้ว ถ้าคุณได้อ่าน อย่าลืมว่า DB ก็ถือเป็นอีก 1 ใน 9 ธนาคารระดับโลก "Bulge Bracket" เช่นเดียวกัน (อ่านได้ที่ https://www.blockdit.com/posts/641201b25f981ccddeac0943?fbclid=IwAR3xx0cSDqjCymAg9t_La0zWIDg9DOHvuxWxr5bEIGkHqP5wXqIPDAzrfgU)
2
Deutsche Bank เป็นธนาคารขนาดใหญ่ของประเทศเยอรมนี มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่เมือง Frankfurt และมีการเปิดสาขาในหลายประเทศทั่วโลก ธนาคารนี้ได้รับการก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2444 (1900) หรือ 123 ปีก่อน
1
โดย Adelbert Delbrück และหลายๆ นักเงินที่มีความรู้ความชำนาญในการเงิน โดยเริ่มต้นธนาคารนี้มีชื่อว่า "Deutsche Bank" เพราะว่าเป็นธนาคารแห่งแรกในเยอรมนีที่มีสมาชิกคือคนเยอรมัน และได้มีการยอมรับว่าเป็นธนาคารแห่งชาติเยอรมัน
2
หลังจากวิกฤตการเงินโลก (Global Financial Crisis) ในปี 2008 ที่เกิดขึ้น DB เป็นหนึ่งในธนาคารที่ได้รับผลกระทบอย่างมาก เพราะมีปัญหาในการจัดการด้านการเงินของธุรกิจของตนเอง ซึ่งมีการให้สินเชื่อในปริมาณมาก
2
โดยเฉพาะในตลาดสินเชื่อที่เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ (subprime loan) ที่เป็นระเบิดลูกสำคัญทำตลาดหุ้นถล่มทลายในช่วงนั้น ทำให้ธนาคารต้องตัดสินใจลดงบการลงทุนในตลาดสินเชื่อดังกล่าวลง
2
และ DB ก็ต้องเปิดเผยข้อผิดพลาดในด้านการบริหารจัดการความเสี่ยงของธนาคารออกมา ซึ่งส่งผลให้ธนาคารต้องจ่ายค่าปรับและค่าสินไหมทดแทนสูงในอดีต และมีผลกระทบต่อค่าหุ้นของธนาคารนับตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมา
2
ไปดูกำไรสุทธิของ DB นับตั้งแต่ปี 2008 กัน (ข้อมูลสรุปจาก Statista)
2008 -€3,896 million
2009 €4,958 million
2010 €2,330 million
2011 €4,326 million
2012 €316 million
2013 €681 million
2014 €1,691 million
2015 -€6,772 million
2016 -€1,356 million
2017 -€735 million
2018 €341 million
2019 -€5,265 million
2020 €624 million
2021 €2,510 million
2022 €5,659 million
จะเห็นว่า DB มาเจอขาดทุนหนักๆก็ปี 2015-2016 ซึ่งช่วงนั้น DB ตกลงร่วมกันกับกระทรวงยุติธรรมของสหรัฐฯ (US Department of Justice) เพื่อจ่ายค่าสินไหมทดแทนเนื่องจากคดีเงินฝากของลูกค้า High Net Worth ที่ไปลงทุนใน mortgage-backed securities (MBS) โดยจ่ายค่าปรับเป็นเงินสูงถึง $7,200 million
1
นักลงทุนทั่วไป รวมถึงผม ได้รู้จัก CoCo Bond ครั้งแรกก็ในปีนั้น เพราะ การที่ DB ถูกปรับหนักขนาดนี้ มันไป trigger ให้นักลงทุนกลัวว่า ธนาคารจะใช้สิทธิแปลงตราสารหนี้ CoCo Bond เป็นหุ้น แต่ก็ผ่านมาได้ ไม่มีการ convert นะครับ
4
เหตุการณ์นั้น ทำให้ธนาคารต้องปรับตัวด้วยการทำ restructuring plan เพื่อลดความเสี่ยงในการทำธุรกิจในอนาคต โดยมีการประหยัดทรัพยากรและลดต้นทุนในหลายด้าน เช่น ลดอัตราการจ้างงาน ลดจำนวนสาขา ลดปริมาณการซื้อพื้นที่ใช้สำนักงาน ลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินธุรกิจ เปลี่ยนแผนกลยุทธ์ในการลงทุน
1
ซึ่งแผนการในครั้งนั้น ก็นำมาสู่ค่าใช้จ่ายก้อนใหญ่และทำให้ในปี 2019 ธนาคารขาดทุนสุทธิ -€5,265 million
1
เอาเข้าจริง ก็เหมือนว่า DB จะทำสิ่งที่ถูกต้อง ไม่มีปัญหาคาราคาซัง เคราะห์ซ้ำกรรมซัดแบบ CS และทำให้ตั้งแต่ปี 2020 จนถึง 2022 ธนาคารกลับมากำไรได้อย่างต่อเนื่อง
4
แล้วทำไม Deutsche Bank ถึงมาอยู่ใน Spotlight แทน Credit Suisse ในวันนี้?
2
เพราะ CDS (Credit Default Swap) ของ DB ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง สะท้อนว่านักลงทุนกลัวว่าธนาคารอาจไม่สามารถชำระหนี้ได้ โดยเมื่อคืน CDS หุ้นกู้ Subordinated Bond ของ DB พุ่งขึ้นไปถึง 560 จุด หรือ คิดเป็นโอกาสที่จะผิดนัดชำระหนี้สูงถึง 31% ถึงไม่สูงเท่ากรณีของ CS แต่ก็ใกล้กับตอนเจอโควิด หรือ ตอนจ่ายค่าปรับตอนปี 2016
3
และไม่ใช่ DB ที่นักลงทุนขายหุ้นกันออกมาตอนนี้ แต่หุ้นธนาคารในยุโรปก็โดนเทกันทุกตัว
อย่างไรก็แล้วแต่ ถ้าไปดูฐานะการเงินของ DB ในตอนนี้ และปัญหาของ DB ที่ถูกแก้ไขในทิศทางที่ถูกต้อง นักวิเคราะห์จาก Autonomous Research ก็ยังออกมายืนยันว่า DB ไม่ใช่ the next CS
1
ถ้าดูที่ LCR หรือ Liquidity Coverage Ratio ตอนนี้ก็อยู่เกิน 100% ถึงแม้จะต่ำกว่า standard ของแบงก์ในยุโรป แต่ก็อยู่สูงกว่าแทบทุกธนาคารที่อยู่ในสหรัฐฯ
4
ในฝั่งของเงินสด DB ก็มีเงินสดในงบเยอะกว่าก่อนเกิดวิกฤตปี 2008
ที่น่าห่วงกว่า อาจจะเป็นเหตุการณ์ Bank Run ที่ยังเกิดอยู่กับธนาคารในสหรัฐฯ โดยล่าสุดตัวเลขเงินฝากในธนาคารสหรัฐฯ ที่เฟดสาขาเซ็นหลุยซ์ทำข้อมูลไว้ ยังลดลงอย่างต่อเนื่อง แสดงว่า ไม่ใช่แค่คนแห่ถอนจากแบงก์เล็กเท่านั้น แต่เริ่มมีการโยกเงินฝากออกจากธนาคารไปกระจายความเสี่ยงยังสินทรัพย์อื่นกัน
ซึ่งเขาอาจจะไปหลบความเสี่ยงในทองคำ หลังขึ้นทดสอบ $2,000 เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา หรือ แบ่งไปซื้อ Bitcoin เพราะยังอยู่ในระดับต่ำ
หรือ อาจจะกลับไปซื้อหุ้นเทคในสหรัฐฯ เพราะเราก็เริ่มเห็นความเอาไม่ลงของหุ้นเทคหลายตัว หลังเฟดขึ้นดอกเบี้ยเพียงแค่ 0.25% และ dotplot ก็ไม่ได้ขยับ terminal rate ไปไกลกว่าที่นักลงทุนในตลาดคาดหวัง ณ ตอนนี้
1
สรุปคือ ผมมองว่า DB อาการไม่หนักเท่า CS และมีการปรับโครงสร้างองค์กรมาแล้วก่อนหน้านี้
แต่เราก็เห็นกันแล้วว่า อะไรที่เราไม่รู้ อยู่ดีๆมันก็โผล่ขึ้นมาได้อีก
1
ที่สำคัญคือ ธนาคารกลางทั่วโลก ยังเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยกันหมดในสัปดาห์ที่ผ่านมา
2
ECB +50bps
Swiss Central Bank +50bps
Fed +25bps
BOE +25bps
Australian Central Bank +25bps
Norway Central Bank +25bps
3
ทุกธนาคารกลางข้างบน ยังส่งสัญญาณว่า ดอกเบี้ย จำเป็นต้องขึ้นต่อเพื่อสู้กับเงินเฟ้อ
1
คุณว่า มันจะมีธนาคารที่ทนไม่ได้กับดอกเบี้ยที่สูงกว่านี้เเพิ่มขึ้นมาตามหลัง SVB , SB และ CS อีกไหม? น่าคิด….
2
Mr.Messenger รายงาน
1
โฆษณา