25 มี.ค. 2023 เวลา 09:00 • ปรัชญา
เถรวาทยึดหลักธรรมวินัย รักษาคำสอน อินทรีย์บารมีเข้มแข็ง เข้าถึงสภาวะธรรมแล้ว จึงแบ่งปันช่วยอนุเคราะห์
1
ถ้าสภาวะธรรมไม่ถึง อินทรีย์บารมีอ่อน เจอสีกามารยาเยอะเข้าหาบ้าง ไปอยู่ท่ามกลาง ยศ ตำแหน่งอำนาจ ลาภสักการะ เงินทองบ้าง ส่วนใหญ่ไม่รอด
พระสารีบุตร พระโมคคัลลานะ เป็นแบบอย่างที่เน้นหลัก เน้นธรรมวินัย
มหายาน ไม่ติดยึดหลัก ดูว่าอะไรเป็นประโยชน์มากกว่าแยกไปหลายสาย (บางสายมีเมียก็ได้ ผู้บุกเบิก ก็ท่านอิคคิวซังนี่แหละ ตัวจริงไม่ได้น่ารักเหมือนในการ์ตูนหรอก)
สายนี้เขามุ่งวิถีโพธิสัตว์ นึกถึงคนอื่นก่อนเสมอ ยกตัวอย่าง ดังเช่น เช้าวันหนึ่ง พระสารีบุตรไม่ได้ออกบิณฑบาตร พระอานนท์แวะผ่านมา
จึงรู้ว่าท่านปวดท้อง มาก เป็นโรคประจำตัวมาตั้งแต่ยังไม่บวช พระอานนท์หายไปสักพักก็กลับมาพร้อมยา
พระสารีบุตร ถามว่าไปเอายามาจากไหน ท่านบอกไปขอชาวบ้านแถวนี้แหละ พระสารีบุตรโยนทิ้งเลย และติท่านพระอานนท์ว่าท่านไม่รู้หรือว่าการไปขออะไรชาวบ้านผิดธรรมวินัย
มีหรือท่านพระอานนท์จะไม่รู้ ท่านยอมผิดธรรมวินัย เพราะคิดแต่จะช่วยคนอื่น
เห็นไหมในสมัยนั้นยังไม่มี เถรวาท มหายาน หรือวัชระยานเลย แต่ก็มีความเป็นเถรวาทมหายานผสมกันไปขึ้นกับจริตนิสัยแต่ละองค์ที่สั่งสมมาหลายภพชาติ
ภิกษุณีล้วนเป็น FC ท่าน เพราะท่านพระอานนท์นี่แหละที่ใช้ปัญญาเจรจากับพระพุทธองค์จนยอมให้มีภิกษุณีเกิดขึ้นในโลก
ท่านไม่ติดยึดหลักการเป๊ะๆเหมือนพระสารีบุตร ท่านไปเทศน์ที่ไหนFC ตามไปฟังเพียบ เพราะท่านทำเพื่อคนอื่นนึกถึงคนอื่นก่อนเสมอ (มีความเป็นมหายานไม่น้อย)
ด้วยสติปัญญาของท่านและเป็นผู้ติดตามพระพุทธองค์ ท่านก็ไม่มุ่งเอาพระอรหันต์ กว่าจะได้ก็หลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพพานไปแล้ว เพราะท่านมัวห่วงแต่คนอื่น
แต่ในความเป็นจริงแล้ว เถรวาทเราแท้ๆหายาก พระหลายองค์ก็มีความเป็นมหายานผสม ไม่ยึดหลักยึดธรรมวินัยมากนัก
ส่วนใหญ่ไม่ศึกษาธรรมลึกซึ้งมากพอจะสอน ให้ชาวบ้านติดใจ แต่เอาวิถีมหายานมาเอาใจชาวบ้าน ไม่ว่าการขอ การบนบาน ล้วนเป็นที่พึ่งที่ถูกใจชาวบ้านมาก
แม้ต้องตกอบายก็ยอม ขอเพียงให้ชาวบ้านมีกำลังใจแม้จะต้องหาอะไรให้เขายึดเขาเกาะเขาขอได้ ทั้งที่เป็นมิจฉาทิฐิ
จะเป็นมหายานในมุมเขาเราก็ไม่ผ่านเพราะพื้นฐานทางศีลก็สอบตกแล้วเพราะมหายานเขาไม่กินเนื้อสัตว์ทั้งพระและฆราวาส
เถรวาท ก็มีทั้งแท้และลูกผสม ต้องดูที่พฤติกรรม
ส่วนมหายาน ศีลข้อ1เขาชัด และมองว่าเราเลี่ยงบาลี(ว่าไปนั่น)
เราก็ถูกถามเยอะ ทั้งจากนักปรัชญา สายมหายาน ศาสนาเชนฯ เราสอนไม่ให้ฆ่าเพราะเป็นบาป แต่พอเขาฆ่ามาให้เรา เราก็กิน ก็ฉัน เราไม่รู้หรือว่าหมู เนื้อ ไก่ กุ้ง ปูเขาฆ่ามาทำอาหารให้เรา บางทีเราก็ให้เด็กไปซื้อให้ซะอีก
เท่าที่รู้พระอริยะสงฆ์ พระสายปฏิบัติหลายท่านก็พยายามเลี่ยงไม่ฉันเนื้อสัตว์อยู่แล้ว เพราะท่านมีเมตตาสูง มีความสงสารสัตว์เหล่านั้นอยู่มาก
ท่านชยสาโรภิกขุ ท่านก็เลี่ยง เพราะท่านอ่านศึกษา และรู้ถึง กระบวนการอุตสาหกรรมเนื้อสัตว์ พระที่มีเมตตาสงสารย่อมไม่รู้สึกอยากฉันอยู่แล้ว หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ ท่านไม่ฉันเลย ตั้งแต่เจ้าแม่กวนอิมเข้ามาในนิมิต
หลวงพ่อจรัญ วัดอัมพวัน ท่านก็ไม่ฉันเพราะท่านวัยเด็กหักคอนก ต่อมาท่านรถคว่ำคอหัก ต้มเต่า ของร้อนก็ลวกท่าน ฆ่าไก่ผ่าท้องควักไส้ ท่านก็ป่วยลำไส้เน่า ฯ พอได้รับผลกนรม ต่อมาท่าน ไม่กิน เนื้อสัตว์ เป็ด ไก่ เพราะท่านเข้าใจในกฎแห่งกรรมเป็นอย่างดี
เจ้าคุณ นร วัดเทพศิรินทร์ ท่านเป็นนักมังสวิรัติอยู่แล้ว เพราะท่านเป็นนักการศึกษา โยคะท่านก็ศึกษาจน ได้ข้อสรุปวิธีบริหารร่างกายของท่าน
ลายมือท่านก็ศึกษาเองจากตำราต่างประเทศ และเอามาใช้ในการเลือก พระอุปัชฉาย์ โดยการถวายของและสังเกตรูปมือ นิ้วมือ ทีแรกท่านจะบวชวัดโสมฯ ต่อมาท่านจึงเลือกอยู่วัดเทพศิรินทร์
หากรู้ซึ้งเรื่องกรรม รู้เห็นการฆ่า กระบวนการฆ่าสัตว์ต่างๆ จะเข้าใจได้ไม่ยาก ความเมตตา สงสาร มันจะแจ้งชัดในจิตใจ
ถ้ารู้สึกได้จะเลี่ยงจะเลิกไปในที่สุดแทบทุกคน ใจเขาใจเรา ไม่ใช่กรรมใครกรรมมัน อันเป็นการขาดเมตตา
แต่....ในความเป็นจริงแล้ว ทางเถรวาทเรามีการพิจารณาอาหารก่อนกินหรือฉัน หรือที่เรียกว่า อาหาเรปฏิกูลสัญญา
การพิจารณาความเป็นปฏิกูลในอาหาร มีการพิจารณาอาหารเป็นธาตุสี่ อยู่แล้ว
แต่เราก็คงปฏิเสธไม่ได้ว่าเราก็เป็นส่วนหนึ่งในกรรม เราคงไม่สามารถโยนบาปกรรมให้ผู้ฆ่าแต่เพียงฝ่ายเดียว เพราะถ้าเราไม่ฉันไม่กินเขาคงไม่ฆ่า
แต่เพื่อให้เป็นคนเลี้ยงง่าย ก็ต้องยอมเปื้อนบาปบ้างคงไม่น่ามีปัญหา ถ้าหลงไปติดรสอาหาร ไม่พิจารณาให้เป็นอาหาเรปฏิกูลก่อนกินก่อนฉัน นั่นสำคัญกว่า
สมณะ หรือฆราวาสท่านใดได้พิจารณาหรือไม่ ทำได้ระดับไหนย่อมรู้ดีแก่ใจท่านเอง !
ติดในรสไหม อยากกินนั่นนี่ไหม รู้ไหมว่าเขาฆ่ามาให้เรากิน ต้องพิจารณา ถือว่ายากมาก
ลึกๆแล้ว ท่านมุ่งให้เดินสายกลาง ซึ่งกลางแต่ละสถานการณ์แต่ละบุคคลย่อมต่างกันไป
แต่ผมเชื่อว่า ใคร ศีลบริสุทธิ์ จะปฏิบัติบูชาได้ง่ายขึ้น
1
ข้อสังเกต บางอย่างที่ต้องพิจารณา ไม่มีถูกผิด !
สายมหายาน สาวกท่านมักไม่ได้อยู่ในสังคมเกษตร ถ้าอยู่ก็เป็นส่วนน้อย แต่อยู่ในภาคธุรกิจ อุตสาหกรรม โดยรวมมีฐานะ ปานกลาง-รวย ไม่ค่อยมีคนยากจนแบบสังคมเกษตรกรรม
ยิ่งศาสนาเชน นี่ Extremeไปเลย เข้มข้นกว่ามหายานเสียอีก ศิษย์สายนี้มีแต่คนรวย นักธุรกิจ ปัญญาชน มีน้อยกว่าศาสนาหลักปัจจุบัน มีแค่ 20กว่าล้านคนเท่านั้น.
ซึ่งก็ไม่น่าแปลก พอมีข้อจำกัดในการทำบุญคนส่วนใหญ่ในยุคนั้นจึงมานับถือพุทธมากกว่า เพราะสังคมเกษตร เขากินกุ้งปูปลาสัตว์สองขาสี่ขาเป็นปกติเขา เขาอยากเข้าวัดทำบุญ ก็มีแต่สิ่งที่เขากิน
พอมีเงื่อนไขเขาก็ลำบาก จึงไม่ได้ไปทางศาสนาเชน ทางเชนจึงมีแต่คนรวย คนมีความรู้ นักธุรกิจนับถือเป็นหลัก วัดเชนสวยหรูมีระดับมาก
ในอดีตช่วงที่ทัพมุสลิมกวาดล้าง ศาสนาในอินเดีย พุทธส่วนใหญ่ไม่รอด หนีตายได้บ้างก็ลงไปทางอินเดียใต้ และศาสนาพุทธก็หายสาปสูญไปกว่า900ปี คนอินเดียยุคนั้นไม่รู้จักศาสนาพุทธ จนอังกฤษมายึด
นายทหารนักโบราณคดีไปขุดพบซากทางศาสนาพุทธ จึงเป็นจุดเริ่มแต่นั้นมาที่พระพุทธศาสนาเริ่มฟื้นขึ้นมา
ช่วงที่ทัพมุสลิมกวาดล้างศาสนาอื่น มีแต่ศาสนาเชนรอด !
เพราะลูกศิษย์ที่รวยๆไปเจรจาขอไว้ เพราะพระเชนของเขา ไม่มีอะไรน่าสนใจหรอก เครื่องนุ่งห่มยังไม่ใส่เลย มักอยู่ตามป่า ตามต้นไม้
ในอินเดีย มีหลายศาสนา หลายลัทธิ อะไรที่ Extreme คนมักชอบ เช่นศาสนาเชน ฯ
แต่ด้วยเชนนั้น เคร่งมาก คนจนชนชั้นเกษตรกรจึงไม่ค่อยมาสายนี้ เพราะไม่สะดวกใจ ไม่รู้จะเอาอะไรมาทำบุญ ก็ท่านกินฉันเหมือนนก เหมือนกา กินถั่ว กินงา เป็นหลัก ผักหลายชนิดก็ไม่กิน ฯ
ทางเรา ไม่ติด เพราะคิดไกลกว่า ไม่ต้องการสร้างเงื่อนไข ให้เป็นที่ลำบากใจแก่ญาติโยม และต้องการการให้พระซึ่งเป็นผู้ขอ เป็นผู้เลี้ยงง่าย
คนส่วนใหญ่ก็เข้าถึงง่าย เพียงแต่ท่านให้สาวกใช้ปัญญาพิจารณา อาหาร ไปในทางลดกิเลส เอาแค่บำรุงธาตุขันธ์ ไม่ไปติดในรส ไปบำรุงตัณหา ไม่ให้ไปคิดว่าเป็นอะไร เป็นแค่ธาตุ4 สิ่งปฏิกูล เท่านั้น
และในการสอนท่านก็ให้ระวัง ครั้งหนึ่งพระสารีบุตรท่านไปเทศน์สอนที่หมู่บ้านชาวประมง ท่านไปสอนเรื่องศีล ซึ่งมีข้อปาณาติบาต กลับมา พระพุทธเจ้ายังทรงตำหนิท่านพระสารีบุตร ว่าไม่ควรสอนเรื่องที่เขาลำบากใจ เพราะเงื่อนไขชีวิตคนต่างกัน !
แม้พระเทวทัตเคยทูลขอ พระพุทธองค์ก็ไม่เห็นด้วยเพราะ พระ เป็นผู้ขอควรเป็นผู้เลี้ยงง่าย แต่ท่านก็ไม่ได้เชียร์ให้พากันกินเนื้อสัตว์นะ แต่ท่านให้ใช้ปัญญาพิจารณา มีสติในการกินฉัน พิจารณาอาหารฯ
พวกมหายาน เขากินเจ
แต่การกินเจ ถ้าไม่ได้วางใจถูก ในทางลดละกิเลส ก็ไม่ได้ช่วยอะไร ยิ่งมีการปรุงแต่งให้กินด้วยกิเลสแล้ว ไอ้ท่าดีๆมันก็ทีเหลวไป
การกินเจ จึงไม่ใช่เรื่องสำคัญ ถ้าจิตไม่เมตตาจริง และสิ่งไปปรุงแต่งอาหารนั้นเพื่ออร่อยลิ้น !
ไม่ว่าเถรวาท หรือลูกผสม หรือมหายาน ล้วนมีโลภโกรธหลง มีตัณหาความอยากนู่นนี่ ไม่ต่างจากฆราวาส เพียงแต่วิถีรูปแบบ มันง่ายในการพัฒนาทางจิตทางธรรม
แต่ใครจะได้สภาวะธรรมหรือไม่ ให้ดูที่พฤตวัตร พฤติกรรม จิต อารมณ์ หลายองค์หลายสาย มียศตำแหน่ง มีอำนาจ ก็หลงไปกับอัตตา
ศีลภาวนา ย่อหย่อน บางคนทำมากได้น้อย ทำน้อยก็แทบไม่ได้อะไร ยังมีตัวกู พวกกู เด็กกู ญาติกู อัตตามันพอง เพราะยศตำแหน่งอำนาจมันมี
สังคมในวัด คน นอกวัด มิอาจรู้ เพราะศรัทธาจริตมันแรงกล้า พระหลายองค์ ทั้งสองสาย ล้วนเป็นสมมติสงฆ์ เป็นผู้ฝึก บวชมาก็บรรลุได้ง่ายกว่าฆราวาสเพราะมีเวลา ไม่ต้องไปแก่งแย่งหากินกับใคร
แต่ถ้าบวชผิดที่ ผิดครูอาจารย์ ส่วนใหญ่ก็พาลงเหวทุกสายไป
กัลยาณมิตร สถานที่สัปปายะ สภาพแวดล้อม สังคม ครูที่แท้จึงสำคัญมาก สำหรับผู้บวช ทุกสาย ทุกลัทธิ
ตัวตัดสินของพระหรือผู้ปฏิบัติ มีให้ตรวจสอบ ไม่ใช่อยู่ที่ มียศ มีอำนาจ หรือบวชนาน
ท่านให้ดูที่นิวรณ์5 เบาบางลงแค่ไหน ถ้าเบาลงมาก ชัดมาก สายไหน จะเถรวาท มหายาน วัดไหน สำนักไหนปฏิบัติแนวไหน ก็ถือว่าใช้ได้แล้ว นี่แหละตัวตัดสินที่แท้จริง (อ.เสถียร โพธินันทะ)
พระไตรปิฎกเขากับเราก็ต่างกัน ของเขามีพูดถึงพระเทวทัต ฝรั่งก็มี ฝรั่งเขาแปลจากบาลีมาอ่านศึกษาก่อนเรามากกว่า50ปี ของไทยเราแปลบาลีมาไทย มี 91เล่ม ของมหาจุฬา ดีสุดตอนนี้
พอ ไปดูของจีนมากกว่าเยอะ !
มีพระสูตรที่พระพุทธเจ้าพูดถึงเทวทัตว่า หากไม่มีพระเทวทัตศาสนาพุทธจะไม่เข้มแข็งอย่างทุกวันนี้(ในขณะนั้น) เข้าใจว่าท่านเป็นสายextreme ท่านจึงเคยขอให้งดเนื้อสัตว์ ศีลข้อ1 จึงจะบริสุทธิ์ !
ทางอินเดียตอนใต้ เขามีรูปเคารพทั้งพระพุทธเจ้าและพระเทวทัต
สรุป ว่าต่างกัน
มหายานเขาชัดว่ามุ่งวิถีโพธิสัตว์
เถรวาทเราที่ชัดก็มี ที่ไม่ชัดก็เยอะ
พระสายเถรวาทที่ดี มุ่งปริยัติศึกษาพระไตรปิฎก ปฏิบัติ ตามหลักธรรมวินัยอยู่ยากมากถ้าขาดโยมดูแล
ต่างจากพระที่มุ่งศึกษาเพื่อยศศักดิ์ ลาภสักการะ สร้างแต่วัตถุ อยู่ท่ามกลางปัจจัยเงินทอง
ลองอ่านที่ผมคัดมาจากหนังสือท่านพุทธทาส
ข้อคิดสำหรับศีลข้อหนึ่ง
ท่านโลกนาถภิกขุชาวอิตาเลียน มีหลักประจำตัวว่า "ภิกษุและอุบาสกอุบาสิกา ไม่ควรกินเนื้อสัตว์เลย" โดยอ้างว่า เป็นการล่วงศีลข้อหนึ่งทางอ้อม และขาดเมตตา
ในส่วนของเราก็เชื่อว่า ถ้าไมมีเจตนาก็ไม่เป็นกรรมอันจะให้ผล !
แต่ข้าพเจ้ามีข้อคิดบางอย่างซึ่งเห็นว่าเรา
ไม่ควรนิ่งกันอยู่ ควรเผยแผ่ให้รู้สึกไว้ทั่วกันเฉพาะผู้ที่ยังไม่เคยรู้สึก
ท่านโลกนาถกล่าวไม่ผิด ! ถ้าไม่จำเป็นแล้วภิกษุไม่ควรฉันเนื้อสัตว์เป็นอันขาด ! นี่คือหลัก ประเด็นที่จะได้อธิบายกันต่อไป...
เรามีข้อแม้ได้เมื่อมีเหตุจำเป็นทั้งเพื่อไม่ให้เป็นผู้เลี้ยงยาก...แต่เลี่ยงไม่กินเนื้อสัตว์ได้จะดีมากต่อการจัดการกิเลส และการมีเมตตา
ที่ท่านเตือน เพราะท่านเจตนาดี....
การกินผักจะมีดวงจิตที่สงบข่มตัณหาความหื่นความอยากมีน้อยโรคน้อยกำลังแข็งแรง !
เนื้อสัตว์ควรกินแต่ที่จำเป็นจริงๆเท่านั้น
ทำไมเราจึงไม่ควรกินเนื้อสัตว์(ในเมื่อไม่จำเป็น) ?
ฝ่ายธรรม......
1.เป็นการเลี้ยงง่ายยิ่งขึ้น นักเสพผักย่อมไม่มีเวลาที่ต้องกังวลใจเพราะอาหารไม่ถูกปากเลย
ส่วนนักเสพเนื้อสัตว์ต้องเลียบเคียงเพื่อได้อุททิสมังสะบ่อยๆ คนกินเนื้อสัตว์เพราะแพ้รสตัณหา กินเพราะตัณหา ไม่ใช่เพราะให้เลี้ยงง่าย
2.เป็นการฝึกในส่วนสัจธรรม สัจจะในการกินผักเป็นแบบฝึกหัดที่น่าเพลิน บริสุทธิ์สะอาด เราต้องฝึกทุกวัน จึงได้ผลเร็ว การฝึกใจด้วยเรื่องอาหาร
อันเป็นสิ่งที่เราบริโภคทุกวัน จึงเหมาะมาก อย่าลืมพระพุทธภาษิตที่มีใจความว่า สัจจะเป็นคู่กับผ้ากาสาวพัสตร์
3.เป็นการฝึกในส่วนทมธรรม (การข่มใจให้อยู่ในอำนาจ) คนเรามักเกิดมีทุกข์เพราะตัณหาหรือความอยากที่ข่มไว้ไม่อยู่
ผู้ที่ไม่มีการข่มรสตัณหา จักต้องเป็นทาสของความทุกข์ และถอยหลังต่อการปฏิบัติธรรม
การข่มจิตด้วยอาหารการกินก็เหมาะมากเพราะอาจมีการข่มได้ทุกวัน การข่มจิตเสมอเป็นของคู่กับผ้ากาสาวพัสตร์
ควรทราบว่า มันเป็นการยากยิ่ง ที่คนแพ้ลิ้นจะข่มตัณหาโดยเลือกกินแต่ผัก จากจานอาหารที่เขาปรุงด้วยเนื้อและผักปนกันมา!
จงยึดเอาเกมที่เป็นเครื่องชนะตน อันนี้เถิด
4.เป็นการฝึกในส่วนสันโดษ (การพอใจเท่าที่มีที่ได้) การฝึกเป็นนักเสพผักอย่างง่ายๆจะแก้ปัณหานี้ได้หมด สันโดษเป็นทรัพย์ของบรรพชิตอย่างเอก
5.เป็นการฝึกในส่วนจาคะ (การสละสิ่งอันเป็นข้าศึกแก่ความสงบหรือพ้นทุกข์) นักเสพผักมีดวงจิตบริสุทธิ์ผ่องใส
เกินกว่าที่จะนึกอยากในเมื่อเดินผ่านร้านอาหาร เพราะผักไม่ยั่วในการบริโภคมากไปกว่าเพียงเพื่ออย่าให้ตาย
ต่างกับเนื้อซึ่งยั่วให้ติดรสและมัวเมาอยู่เสมอ ความอยากในรสที่เกินจำเป็นของชีวิต ความหลงใหลในรส
ความหงุดหงิด เมื่อไม่มีเนื้อที่อร่อยมาเป็นอาหาร ฯลฯ เหล่านี้จะไม่มีในใจของนักเสพผักเลย
6.เป็นการฝึกในส่วนปัญญา (ความรู้เท่าทันดวงจิตที่กลับกลอก) การกินอาหารจะบริสุทธิ์ได้นั้น
1
ผู้กินต้องมีความรู้สึกแต่เพียงว่า "กินอาหาร" (ไม่ใช่การกินผักหรือเนื้อ คาวหรือหวาน) และเป็นอาหารที่บริสุทธิ์
ไม่มีอะไรดีไปกว่าอาหารผัก ที่จะเป็นอารมณ์อันบังคับให้ท่านต้องใช้ปัญญาพิจารณามันอยู่เสมอทุกมื้อ เพราะเนื้อสัตว์ทำให้หลงรส ผักทำให้ต้องยกใจขึ้นหารส
แต่ปัญญาของท่านต้องมีอยู่เสมอว่า ไม่ใช่จะไปนิพพานได้เพราะกินผัก เป็นเพียงการช่วยเหลือในการขูดเกลากิเลสทุกวันเท่านั้น !
ฝ่ายทางโลก .....
1.ผักมีคุณแก่ร่างกายยิ่งกว่าเนื้อหรือไม่ วิทยาศาสตร์ปัจจุบัน ก็พอที่จะรับว่าจะทำให้มีโรคน้อย มีกำลังแข็งแรง
มีดวงจิตสงบกว่ากินเนื้อสัตว์
(ชาวอินเดียด้วยกัน ที่เป็นพวกกินเนื้อดุร้ายกว่าพวกที่เป็นพรามหมณ์ไม่กินเนื้อสัตว์โดยกำเนิด)
มีความหื่นในความอยาก-ความโกรธ ความมัวเมาน้อยลงเป็นอันมาก
2.ทางเศรษฐกิจ ราคาผักกับเนื้อสัตว์รู้ๆกันอยู่ อาหารเลวๆไม่ได้ทำให้คนโง่ลงเลย ยิ่งเนื้อและผักแล้ว เนื้อเสียอีกกลับจะทำให้โง่ คือหลงรสของมันจนเคยชิน
คนคนเดียวกันนั่นเอง ถ้าเขาเป็นนักเสพผัก จะเป็นคนเข้มแข็ง มีใจมั่นคง ไม่โยกเยกรวนเร ยิ่งกว่าเป็นนักเสพเนื้อสัตว์
(กินผักมากที่สุดกินเนื้อแต่เล็กน้อยเท่าที่จำเป็นจริงๆ ก็เรียกว่านักเสพผัก ผักหมายรวมถึงผลไม้-น้ำตาลสด-ขนมฯลฯ แม้จะหมายถึงนมด้วยก็ได้)
3.ธรรมชาติแท้ๆ ต้องการให้เรากินผัก ขอจงคิดลึกๆหน่อยว่าธรรมชาติสร้างสรรค์พวกเราให้มีความรักชีวิตของตนทุกๆคน
เราควรเห็นอกเห็นใจสัตว์ที่มีความรู้สึกด้วยกัน มิฉะนั้นก็ไม่มีธรรมะเสียเลย ลองส่องดูดวงใจเป็นกลางๆ ไปทั่ว
สัตว์ทุกตัวที่ต้องพลัดพรากจากผัว-เมีย-ลูก-แม่-พ่อ ฯลฯ โดยถูกฆ่าเป็นอาหาร แล้วลองเทียบถึงใจเราบ้าง
เมื่อเราอาจช่วย หรืออาจเสียสละรสที่ปลายลิ้นเพื่อช่วยชีวิตสัตว์ หรือผู้อื่นได้แล้ว
ธรรมของมนุษย์ (สัตว์มีใจสูง)จะไม่ช่วยให้เราทำเพื่อเห็นแก่อกเขาอกเราบ้างเทียวหรือ
แม้พระพุทธองค์ก็ทรงบำเพ็ญพระเมตตาบารมีอย่างกว้างขวาง ทำไมเราจึงไม่ช่วยในเมื่อเรารู้ว่าเราอยู่ในฐานะที่จะช่วยได้ แม้ว่าไม่ช่วยก็ไม่บาปก็ตาม ?
สำหรับภิกษุ ไม่จำเป็นจะต้องรับรู้มาถึงเหตุผลของฝ่ายโลกดังกล่าวมานี้ก็จริง
แต่เพราะเป็นเพศนำของเพศอื่น จึงควรดำรงอยู่ในอาการที่เป็นไปฝ่ายข้างพ้นทุกข์สงบเยือกเย็นอยู่เสมอ
ไม่เป็นคนดื้อด้านต่อเหตุผล ไม่เป็นคนเลี้ยงยาก ไม่เป็นคนละเลยต่อการขูดเกลาความรู้สึกของธรรมดาฝ่ายต่ำ
มีการเห็นแต่แก่ตัวหรือ ความอร่อยของตัว เป็นต้น ไม่เป็นผู้หาข้อแก้ตัวด้วย การตีโวหาร ฝีปาก
1
แต่จะเป็นคนรักความยุติธรรม รักความสงบ แผ่เมตตาไม่จำกัดวง-ไม่จำกัดความรับผิดชอบ
พร้อมด้วยเหตุผลอยู่เสมอ เพราะฉะนั้นภิกษุจึงไม่ควรนิ่งเฉยต่ออารมณ์ที่เกื้อกูลแก่ความก้าวหน้าในส่วนใจของตนแม้แต่น้อย
การเว้นบริโภคเนื้อ ไม่ใช่เป็นสิ่ง ที่ทรงห้ามหรือฝืนพระบัญญัติสำหรับดวงใจที่ประสงค์
ขูดเกลากิเลสของตน-ดวงใจที่ไม่เอาคนนอกส่วนมากเป็นประมาณ-ดวงใจที่ไม่แพ้ลิ้น-ดวงใจที่ไม่ประสงค์การตีโวหาร
การไม่บริโภคเนื้อสัตว์ ก็เป็นธุดงค์อย่างเดียวกับธุดงค์อื่นๆ ซึ่งทรงตรัสไว้ว่าเป็นการขูดเกลากิเลส
แต่ก็ไม่ทรงบังคับกะเกณฑ์ให้ใครถือ แต่เมื่อใครถือก็ทรงสรรเสริญเป็นอย่างมาก เช่น ทรงสรรเสริญพระมหากัสสป ธุดงค์ 13 อย่าง
บางอย่าง เช่น เนสัขขิกัง ก็ไม่มีใครเชื่อว่าเป็นพุทธภาษิตนัก แม้จำนวนสิบสามก็ไม่ใช่จำนวนที่ทรงแต่งตั้ง
เมื่อเช่นนั้น การขูดเกลาใจด้วนการเว้นเนื้อสัตว์ก็เป็นสิ่งที่รวมลงได้ในธุดงค์ หรือมัชฌิมาปฏิปทานั่นเอง
เพราะเข้ากันได้กับสิ่งที่ทรงอนุญาตในฝ่ายธรรม มิใช่ฝ่ายศีลซึ่งเป็นการบังคับ.
คนธรรมดาติดรสอาหารกันแทบทั้งนั้น มันเป็นเครื่องทดลอง หรือวัดน้ำใจเรา
เป็นบทเรียนที่ยาก แต่เปิดโอกาสให้เราฝึกได้ทุกๆวัน
การเสพผักไม่เสพเนื้อสัตว์ เป็นการฝึกใจช่วยให้ไปถึงการชำระตัณหา
ถ้าท่านยังแย้งว่า การกินผักไม่ได้เป็นการก้าวหน้าของการปฏิบัติธรรม ข้าพเจ้ามีคำตอบแต่เพียงว่า
ท่านยังไม่รู้จักตัวปฏิบัติธรรมเสียเลย ท่านจะรู้จักการกินผักซึ่งเป็นอุปกรณ์ของการปฏิบัติธรรมอย่างไรได้
ขอให้ทราบว่า "การกินผักไม่ได้ถือเป็นลัทธิหรือบัญญัติ" เราฝึกบทเรียนนี้โดยไม่ได้สมาทาน หรือปฏิญาณ อย่างสมาทานลัทธิ หรือศีล
มันเป็นข้อปฏิบัติฝ่ายธรรมทางใจ ซึ่งเราอาษัยหลักกาลามสูตร หรือโคตมีสูตรเป็นเครื่องมือตัดสินแล้ว ก็พบว่าเป็รแต่ฝ่ายถูก ฝ่ายให้คุณโดยส่วนเดียว
เป็นการขูดเกลากิเลสซึ่งพระพุทธองค์สรรเสริญ แต่ถ้าใครทำเพราะยึดมั่น ก็กลายเป็นสีลัพพตปรามาสยิ่งขึ้น
และถ้าบังคับกัน ก็กลายเป็นลัทธิของพระเทวทัต ที่จริงหลักมัชฌิมาปฏิปทา สอนให้เราทำตามสิ่งที่เรามองเห็นด้วนปัญญาว่าเป็นไปเพื่อความขูดเกลากิเลสเสมอ
แต่เรามองเห็นแล้วไม่ทำ ก็กลายเป็นเราไม่ปรารถนาดีไปเอง ส่วนผู้ที่ยังมองไม่เห็นนั้น ไม่อยู่ในวงนี้ มัชฌิมาปฏิปทาคือการทำดีโดยวงกว้าง !
เราไม่ได้เสพผักเพื่อเอาชื่อเสียงว่าเป็นนักเสพผัก(Vegetarian) เลย เราก้าวหน้าในการขูดเกลาใจเพื่อยึดเอาประโยชน์อันเกิดแต่การมีกิเลสเบาบางอีกส่วนหนึ่งเท่านั้น
ข้อสำคัญที่สุด ข้าพเจ้าไม่ได้ขอร้องให้ท่านเป็นนักผัก เป็นแต่แสดงความคิดเห็นของข้าพเจ้าในเรื่องนี้ ขอร้องเพียงให้ท่านนำไปคิดดู
เมื่อท่านไปคิดแล้ว ในกาลต่อไป ท่านจะเป็นนักผักหรือนักเนื้อก็แล้วแต่เหตุผลของท่าน
พุทธบุตรที่แท้จริง คือ "คนมีเหตุผล" ที่จริงนักเนื้อก็ไม่ใช่ผู้อันใครจะพึงรังเกียจ เช่นเดียวกับผู้ไม่สมาทานธุดงค์อย่างอื่น เช่น ทรงไตรจีวร หรืออยู่โคนไม้เหมือนกัน เพราะเป็นเรื่องที่ไม่บังคับ
โมกขพลาราม
๑ ธันวาคม ๒๔๗๗
บางตอนจากหนังสือ ชุมนุมข้อคิดอิสระของ ท่านพุทธทาสภิกขุ
คลิปที่น่าฟัง
ของท่าน ศ.ดร.นพ. วิชัย เอกทักษิณ
ท่าน กินมังสวิรัติ มาตั้งแต่อายุ 18
ผมชอบฟังท่านพูด มีเหตุมีผลดีมากครับ
จะเดินสายเข้าสำนัก หรือศึกษาปริยัติก่อน ไม่มีผิดหรือถูก เพราะมีโอกาสพลาดได้ถ้าไม่เข้าใจ
จริตคนเราสั่งสมมาไม่เหมือนกัน และเหตุปัจจัยต่างกัน
มีสิทธิ์หลงทางได้เช่นกัน !
ข้อสังเกต
1.สายปฏิบัติ เป็นสายที่หลงได้มาก เพราะบางสายถูกใจรู้สึกใช่ไม่เหนื่อยมาก สบายใจโดนใจโดนกิเลส คิดว่าใช่ ใกล้ทางสวรรค์เร็วๆนี้แล้ว
แต่...ถ้าได้เจอสำนัก ครูบาอาจารย์ที่ใช่ จะได้สภาวะไม่นานถ้าตั้งใจจริง ดังเช่น แม่ใหญ่ หมอชลอ แม่ชีซูง้อ และที่ไม่ได้กล่าวอีกมาก
เพราะพระสายปฏิบัติท่านจะมีเทคนิคหรือกุศโลบายในการสอน หลวงพ่อครูบาอาจารย์ที่เป็นอริยะสงฆ์มีสภาวะธรรมที่ลึกซึ้งแล้ว จะรู้วาระจิตผู้เข้ามาปฏิบัติ ซึ่งจะมีประโยชน์มาก
เท่าที่ผมทราบและสัมผัสมาแล้ว ก็มีแนวพองยุบหลวงพ่อจรัญ วัดอัมพวัน ถ้ามุ่งปฏิบัติเพื่ออุทิศบุญรู้กฎแห่งกรรม มีตัวอย่างจริงมากมาย
ชอบที่ท่าน ไม่พาหลงไปสวรรค์นิพพานอะไร แค่มนุษย์สมบัติ ยังไม่ค่อยจะมีกันเลย แล้วจะโลภไปไหนกัน
พวกค้ากำไรเกินควรตายไปจะเป็นเปรตนะท่านจ้องหน้าแล้วพูดเลย แม่ผมกลับมาเลิกเลย ทั้งลดทั้งแจกเลยทีนี้
ใครสนใจทาง ปฏิบัติ ทางเนกขัมมะ แบบจริงจังเข้มข้น ไม่ใช่เดี๋ยวก็มีเทศน์
มีเรี่ยรายบอกบุญสร้างนู่นนี่ ก็ต้องสายนี้
สายปฏิบัติที่อิงอภิธรรม ก็แนวหลวงพ่อสุรศักดิ์ วัดมเหยงค์ ท่านสอบได้อภิธรรมอันดับหนึ่ง
หลักแนวทางคำสอน ไปทางปรมัตธรรม เป็นสายที่ถูกตรง ไม่เน้น กรรม วิญญาณ ชาติ ภพ เหมือนวัดอัมพวัน
สายปฏิบัติพุทโธก็พระป่า เน้นปฏิบัติเดินจงกรมนั่งสมาธิ
ข้อสังเกตสายนี้ ถ้าไม่ได้ใกล้ชิดครูบาอาจารย์ก็อาจทำไม่ถูกจุด หลงคิดไปเอง มีอุปาทานไปเอง บางคนเป็นโรคประสาทอยู่แล้วอาการมันจะออกมาตอนนี้
บางคนออกจากสำนักกลับบ้าน เรียกลูกเมียมากราบสั่งสอนขนไปไม่ถูก เพราะอุปาทานไปว่าตนเป็นผู้หยั่งรู้ ผู้บรรลุแล้ว
รู้หลักแล้วไม่เอาจริงก็ไม่ได้ผล เป็นหินทับหญ้ากันมาก
ยิ่งสายเน้นนั่งสมาธินี่ ต้องระวัง ติดใจในความสงบความนิ่ง ถ้ายังไม่ได้สภาวะธรรม อารมณ์ขึ้นง่าย ความสุขุมอดทนต่ำกว่าคนปกติ
ถ้าได้สมาธิจริงๆจะนิ่ง สุขุมมาก มีเมตตามาก
สายปฏิบัติ มักพูดเรื่องการได้สภาวะธรรม การได้สมาธิ การมีสติ แต่ขอกระซิบบอกว่า ไม่ง่าย !
ศีล สมาธิ มีทั้งสายดำ และขาว มิจฉาทิฐิ และสัมมาทิฐิ มีหลายระดับขั้น
แต่ไม่ว่าสำนักไหนสายไหน ผู้ปฏิบัติมาถูกทางและได้สภาวะธรรมหรือไม่ ตัดสินได้ไม่ว่าพระ หรือฆราวาส
นิวรณ์5 เขาเบาบางลงแค่ไหน โลภโกรธหลงมีน้อยแค่ไหน ไปดูที่ยศศักดิ์ตำแหน่ง ท่าทีน่าเชื่อ หรือความเป็นครูอาจารย์ไม่ได้
ครูบาอาจารย์บางคนก็ไม่มีสภาวะธรรมอะไรเพียงแต่เรียนมารู้มาก็พูดได้สอนได้ แต่สภาวะธรรมที่ได้ต้องดูที่พฤตวัตร สติ ปัญญา และจิตอารมณ์
ข้อดีสายนี้ คือถ้าได้ครูบาอาจารย์ของแท้ และเราเอาจริงตามที่ท่านสอน ได้ผลแน่ และค่อยไปศึกษาพระไตรปิฏก
จะไม่หลงคิดไปเองและมั่นใจมากขึ้นเมื่อสภาวะธรรมที่เกิดจากการบำเพ็ญเพียรปฏิบัติของเรา ไปสอดคลองกับพระสูตร
ซึ่งจะต่างจากสายศึกษาทางปริยัติ ไม่ว่าอภิธรรม และพระสูตรต่างๆมาก่อนจากพระไตรปิฎก
สายนี้จะสุ่มเสี่ยงต่อการปฏิบัติที่ยากกว่า เพราะ จะไปรู้ล่วงหน้าถึงสภาวะต่างๆในทางปฏิบัติก่อน เมื่อปฏิบัติไปแล้ว สิ่งที่ได้อาจเป็นผลที่ปลอมหรือจริง
แต่ถ้าศึกษาเข้าใจถ่องแท้ ก็อาจหมดปัญหาไป
2.สายศึกษา แล้วจึงไปปฏิบัติ ปัญหาเดียวคือผู้ศึกษาต้องมีความเข้าใจอย่างถ่องแท้ จริง ไม่งั้นอาจตีความผิดเข้าใจผิด
ไปตรึกนึกทบทวนในสิ่งที่ไม่เข้าใจถูก สายนี้ต้องมีจริตรักในการชอบที่จะศึกษามาก่อน จึงได้ผลดี
3.สายปฏิบัติ และศึกษาไปพร้อมๆกัน สายนี้ มีเยอะ เห็นภาพรวม ได้ผล ได้สภาวะธรรมช้า หรืออาจไม่ได้เลย เพราะเข้าใจถูกก็ยังไม่ได้
มุ่งทุ่มเทปฏิบัติเดินจงกรมนั่งสมาธิ ก็ทำถูกบ้างผิดบ้าง ไม่จริงจังกับการปฏิบัติ มากพอ
สรุป ไม่ว่า สายไหน จะก่อน หลัง หรือเอาทั้งสองอย่าง ต้องดูที่ โลภโกรธหลง เบาบางแค่ไหน เข้าถึงอริยสัจ แค่ไหน เท่านั้นเอง
ธรรมจากสัตบุรุษ ที่ผมคัดสรรมา
ท่าน พระพุทธโฆษาจารย์ ป.อ.ปยุตโต
ใครทำปิดก็ปล่อยให้กรรมตามสนอง ถือเป็นความเชื่อที่ผิด
สรุปพระไตรปิฎกภายใน 90 นาที
ปฏิบัติไม่ถูกก็หมอผี
การทำบุญ
คำทำนาย
ท่านพุทธทาส
สิ่งทั้งปวงเป็นอนัตตา
การไม่ยึดมั่นถือมั่น
จิตว่าง
พระอาจารย์สมบัติ นันทิโก
พิจารณาอาหารขณะกิน
การทำสมาธิไม่ใช่นั่งหลับตา
การปฏิบัติผิดไปจากคำสอน
รอบรู้เรื่องกรรม
รัก-ไม่รัก
เวียนว่าย-ตาย-เกิด
ภิกษุผู้ปรารถนาวิปัสสนา
เพราะติดในสิ่งที่รัก
กรรมเป็นเครื่องผูกพัน
สติมาก กุศลผลบุญมาก
หนทางชนะความโศก
บางกรรมฐานเหมาะกับบางบุคคล
พระอาจารย์สุรศักดิ์ แห่งวัดมเหยงค์
อริยสัจ4
ปฏิบัติธรรมเพื่ออะไร
แนะนำกรรมฐานเบื้องต้น
อนัตตลักขณสูตร
พระอาจารย์ชยสาโร ภิกขุ
วิธีดับทุกข์
มีแค่กายกับใจ
พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต
คำตอบของการเกิดเป็นมนุษย์
ควรเร่งปฏิบัติได้แล้ว
ที่พึ่งถาวร
หลวงพ่อจรัญ วัดอัมพวัน สิงห์บุรี
เหตุบังเอิญไม่มีในโลก
พระในป่า .... หลวงพ่อพบหลวงพ่อดำในป่าขอนแก่น
วิธีดับทุกข์
ผลของกรรม
อาจารย์เสถียร โพธินันทะ
การเวียนว่ายตายเกิด
พระอริยะบุคคล ยังมีอยู่ในโลกหรือไม่
สิ่งทั้งปวงไม่ควรยึดมั่น
นรกสวรรค์มีจริงไหม
ตอบปัญหาเรื่องทรงเจ้า
ดร.สมภาร พรมทา
คุณูปการของพระพุทธศาสนาต่อวงการปรัชญาโลก
มหายานจากมุมมองนักปรัชญา
ความแตกต่างทางปรัชญาระหว่างเถรวาทและมหายาน
ปฏิบัตินิยมทางศาสนา
โฆษณา