25 มี.ค. 2023 เวลา 09:02 • ความคิดเห็น
ผมชอบคำกล่าวที่ว่า
”Legends are not born, legends are made"
-Nightsong
Alexander D. Jones,
กล่าวคือ
สิ่งใดที่อยู่ใน “ระดับตำนาน” และจะตำไปอีกนานคือสิ่งที่ “ต้องสร้างขึ้นมาเอง”
มิได้คุณสมบัติที่เป็น “มรดกส่งต่อ” หรือได้มาโดยกำเนิด!
และเมื่อพิจารณาลงลึกลงไป ส่วนใหญ่แล้ว “ความกล้าหาญ” คือองค์ประกอบสำคัญในเรื่องราวระดับตำนานแทบทั้งสิ้น!
คำถามต่อมาก็คือ
“แล้วความกล้าหาญมาจากแหล่งใด?”
คุณเคยได้ยินคำพูดที่ว่า
“รักตัวกลัวตาย”
มั้ยครับ?
คนที่ “รักตัวกลัวตาย” เป็นภาพสะท้อนของคนที่ไม่ได้มีความกล้าหาญ ถึงแม้คนลักษณะนี้จะไม่ถึงขั้น
“ขี้ขลาดตาขาว” ก็ตาม
ผมจึงมองว่า “ความกล้าหาญ”
คือ ผลผลิตจาก
1) “รักผู้อื่นมากกว่ารักตัวเอง”
คนเราถ้าตัดสินใจที่จะใช้ชีวิตเพื่อผู้อื่นโดยเฉพาะ “คนที่เรารัก” เช่น คนในครอบครัวและผู้มีพระคุณ
คนเหล่านี้มักทำได้ทุกอย่างเพื่อคนที่พวกเขาและเธอรัก โดยไม่คำนึงถึงผลประโยชน์และความปลอดภัยของตัวเองเลยแม้แต่น้อย!
2) “นับถือความตายเป็นเพื่อนใกล้ชิด”
ความกลัวตายไม่ได้ทำให้คุณไม่ตาย!
ในทางตรงกันข้าม
การละลึกถึงความตายเป็นนิจ จะทำให้คุณรู้สึกถึง “คุณค่าแห่งชีวิต”
และในที่สุด คุณก็จะกลับไปนึกถึงองค์ประกอบของความกล้าหาญข้อแรก
นั่นก็คือ
“รักผู้อื่นมากกว่ารักตัวเอง”
และคุณอยากจะทำอะไรให้คนที่คุณรักให้มากๆ ก่อนที่ “วันสุดท้าย” ของเราทุกคนจะมาถึง!
ในทางพระพุทธศาสนา
“เวสารัชชกรณธรรม”
คือ “ที่มาของความกล้าหาญ” ห้าประการ
ธรรมทั้ง 5 ประการข้างต้น เป็นพุทธพจน์ซึ่งมีที่มาปรากฏในอังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต พระไตรปิฎก เล่มที่ 22
โดยนัยแห่งพุทธพจน์ข้างต้น สามารถนำเป็นเครื่องชี้วัดพฤติกรรมของบุคคล โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในตำแหน่งผู้นำว่าเป็นผู้มีความกล้าหาญ
มากน้อยเพียงใด
๑) ศรัทธา
ศรัทธา แปลว่า ความเชื่อ หมายเอาความเชื่อที่มีเหตุผล มั่นใจในหลักที่ถือและความดีที่ทำ มีความเชื่อมั่นว่าสิ่งที่ตนทำอยู่นั้นเป็นความดี มีประโยชน์ ไม่ก่อโทษใด ๆ
๒) ศีล
ศีล หมายถึง การรักษากาย วาจา ใจ ให้เรียบร้อยดีงาม คือไม่ประกอบกรรมทุจริตทั้งหลาย มีความประพฤติถูกต้องดีงาม ไม่ผิดระเบียบวินัย ไม่ผิดศีลธรรม การที่บุคคลมีความประพฤติที่ดีมีศีลธรรม ย่อมทำให้บุคคลนั้น ๆ มีความองอาจกล้าหาญในสมาคมทั้งปวง
๓) พาหุสัจจะ
พาหุสัจจะ แปลว่า ความเป็นผู้ได้ยินได้ฟังมามาก หรือได้ศึกษาเล่าเรียนมามาก คนที่มีความรู้มาก เมื่อเข้าไปสู่สมาคมใด ๆ ย่อมมีความแกล้วกล้าไม่เก้อเขิน มีความมั่นใจในตนเองในด้านวิชาความรู้ กล้าเผชิญหน้า กล้าแสดงออก
๔) วิริยารัมภะ
วิริยารัมภะ แปลว่า การปรารภความเพียร หมายถึง การที่ได้ลงมือทำความเพียรพยายามในกิจการนั้น ๆ อยู่แล้วอย่างมั่นคงจริงจัง มีความตั้งใจแน่วแน่ที่จะทำกิจนั้น ๆ ให้สำเร็จลุล่วง ผู้ที่มีความตั้งใจแน่วแน่เช่นนี้ ย่อมมีความกล้าหาญไม่หวั่นกลัวต่ออุปสรรคที่จะเกิดขึ้นขัดขวาง
๕) ปัญญา
ปัญญา คือ ความรอบรู้ เข้าใจชัดในเหตุผล ดี ชั่ว ประโยชน์ และมิใช่ประโยชน์ รู้จักคิด รู้จักวินิจฉัย รู้จักกระบวนการจัดการกับสิ่งต่าง ๆ ผู้ที่มีปัญญา ย่อมมีความแกล้วกล้า เพราะไม่มีความกังวล ไม่มีความเกรงกลัวต่อปัญหาทั้งหลายหากจะมีมา
“ประโยชน์ของความกล้าหาญ”
> “Only those who dare to fail greatly can ever achieve greatly.”
Robert F. Kennedy,
(มีแต่เฉพาะคนที่กล้าที่จะพ่ายแพ้เท่านั้น ที่จะประสบความสำเร็จอย่างยิ่งใหญ่!)
>”fortis fortuna adiuvat.”
Terence,
เป็นภาษาละติน หมายถึง
“โชคเข้าข้างคนกล้า”
หรือ
“fortune favors the bold.”
สำหรับผมแล้ว ท่าน
“พระยาพิชัยดาบหัก”
คือหนึ่งใน “idols” ผู้เป็นตัวแทนแห่งความกล้าหาญได้เป็นอย่างดี
ด้วย “ความรักในแผ่นดิน” และ “ความไม่เกรงกลัวต่อความตาย”
เป็นองค์ประกอบที่ทำให้ท่านเป็นหนึ่งในตำนานแห่งความกล้าหาญแห่ง
“บรรพชนไทย”
มาจนถึงทุกวันนี้
และตัวอย่างที่เห็นได้จากชีวิตจริงที่ถูกถ่ายทอดออกมาเป็นภาพยนตร์ของนายทหารจากหน่วยสงครามพิเศษที่มีชื่อว่า
“หน่วย SEALs”
ก็สามารถใช้เป็นกรณีศึกษาแห่งความกล้าหาญได้อย่างดีทีเดียว!
“ทำความรู้จักกับความกลัว”
โฆษณา