26 มี.ค. 2023 เวลา 09:41 • หนังสือ

อย่าหยุดที่จะคลายความเชื่อ

เมื่อผมศึกษากระบวนการคิดทบทวน ผมค้นพบว่ากระบวนการนี้มักเกิดขึ้นเป็นวงจร มันเริ่มต้นจากความถ่อมตัวทางสติปัญญาหรือการรู้ตัวว่าเราไม่รู้สิ่งใดบ้าง เราทุกคนควรเขียนรายการสิ่งที่ตัวเองไม่มีความรู้ ออกมาได้ รายการของผมประกอบไปด้วยศิลปะ ตลาดการเงิน แฟชั่น เคมี อาหาร เหตุผลที่สำเนียงอังกฤษกลายเป็นสำเนียงอเมริกันในเพลง และเหตุผลที่คุณไม่สามารถทำให้ตัวเองจั๊กจี้ได้ การรู้จุดบกพร่องของตัวเองจะนำไปสู่ความเคลือบแคลงสงสัย เมื่อเราตั้งข้อสงสัยกับความเข้าใจที่ตัวเองมีอยู่ในปัจจุบัน
2
เราย่อมอยากรู้อยากเห็นเกี่ยวกับข้อมูลที่เราไม่รู้ การแสวงหาที่เกิดจากความอยากรู้อยากเห็นนี้จะชักนำเราไปสู่การค้นพบเรื่องใหม่ๆ และรักษาความถ่อมตัวของเราไว้ด้วยการเน้นย้ำให้เห็นว่าเรายังมีสิ่งที่ต้องเรียนรู้อีกมาก ถ้าความรู้คืออำนาจ การรู้ตัวว่าเราไม่รู้สิ่งใดบ้างก็คือปัญญา
1
การคิดตามหลักวิทยาศาสตร์ให้ความสำคัญกับความถ่อมตัวมากกว่าความภาคภูมิใจ ให้ความสำคัญกับความเคลือบแคลงสงสัยมากกว่าความแน่ใจ และให้ความสำคัญกับความอยากรู้อยากเห็นมากกว่าการได้ข้อสรุป เมื่อเราเลิกสวมบทเป็นนักวิทยาศาสตร์ วงจรการคิดทบทวนก็จะสลายไป แล้วเปิดทางให้วงจรความมั่นใจที่มากเกินไปเข้ามาแทนที่หากเราสวมบทเป็นนักเทศน์ เราก็จะมองไม่เห็นช่องใหว่ในความรู้ของเรา และเชื่อว่าตัวเองค้นพบความจริงแล้ว ความภาคภูมิใจจะก่อให้เกิดความเชื่อมั่นแทนที่จะเป็นความเคลือบแคลงสงสัย
ส่งผลให้เราสวมบทเป็นอัยการ โดยเราอาจเพิ่งความสนใจอย่างแน่วแน่ไปกับการเปลี่ยนแปลงความคิดของคนอื่น แต่ความคิดของเรากลับแน่วแน่ไม่แปรเปลี่ยน มันทำให้เราเกิดอคติเพื่อยืนยันความเชื่อและอคติตามความพอใจ เราจะกลายเป็นนักการเมืองที่เพิกเฉยและบอกปัดอะไรก็ตามที่ไม่ช่วยให้ชนะใจ ผู้ลงคะแนนเสียงของเรา ไม่ว่าจะเป็นพ่อแม่ เจ้านาย หรือเพื่อนร่วมชั้นในโรงเรียนมัธยมปลายที่เราพยายามทำให้พวกเขาประทับใจ เราหมกมุ่นอยู่กับการแสดงบนเวทีมากเสียจนความจริงถูกผลักไสไปหลังเวที
และการยืนยันความถูกต้องที่เกิดขึ้นตามมาอาจทำให้เราทะนงตัว เราตกเป็นเหยื่อของภาวะที่เรียกว่าโรคแมวอ้วน (fat-cat syndrome) ซึ่งเป็นถาวะการยึดติดกับชื่อเสียงจากความสำเร็จในอดีตแทนที่จะทดสอบความเชื่อของตัวเองภายใต้แรงกดดัน
ในกรณีของแบล็กเบอรี่ ไมค์ ลาซาริดิส ติดอยู่ในวงจรความมั่นใจที่มากเกินไป ความภาคภูมิใจในสิ่งประดิษฐ์ที่ประสบความสำเร็จทำให้เขามีความเชื่อมั่นสูงเกิน ไม่มีเรื่องไหนชัดเจนเท่ากับการที่เขาชื่นชอบแป้นพิมพ์มากกว่าหน้าจอสัมผัสแล้ว มันคือข้อดีของแบล็กเบอร์รีที่เขาชอบเทศนาและข้อบกพร่องของแอปเปิลที่เขารีบฟ้องร้อง ขณะที่หุ้นบริษัทของเขาร่วง ลาซาริดิสเกิดอคติเพื่อยืนยันความเชื่อและอคติตามความพอใจอีกทั้งยังตกหลุมพรางกับคำยืนยันจากเหล่าสาวกว่า "มันคือผลิตภัณฑ์ที่มีเอกลักษณ์"
เขาพูดถึงแบล็กเบอร์รีในปี 2011 "มันถูกใช้ในแวดวงธุรกิจถูกใช้โดยผู้นำ ถูกใช้โดยคนดัง" เมื่อถึงปี 2012 ไอโฟนก็ครองสัดส่วน 1 ใน 4 ของตลาดสมาร์ตโฟนทั่วโลก แต่ลาซาริดิสก็ยังคงต่อต้านแนวคิดเรื่องการพิมพ์บนจอกระจก "ผมไม่เข้าใจสิ่งนี้เลย" เขาพูดในการประชุมคณะกรรมการบริษัทพลางชี้ไปยังโทรศัพท์หน้าจอสัมผัสเครื่องหนึ่ง "แป้นพิมพ์คือหนึ่งในเหตุผลที่พวกเขาซื้อแบล็กเบอร์รีนะ" ลาซาริดิสทำตัวเช่นเดียวกับนักการเมืองที่หาเสียงเฉพาะกับฐานเสียงของตัวเอง โดยมุ่งเน้นไปที่รสนิยมชอบแป้นพิมพ์ของผู้ใช้หน้าเก่าหลายล้าน
แล้วเพิกเฉยพลังดึงดูดของหน้าจอสัมผัสที่มีต่อว่าที่ผู้ใช้อีกหลายพันล้านคนจะว่าไปแล้วผมก็ยังคิดถึงแป้นพิมพ์อยู่เหมือนกันครับ และผมก็ตื่นเต้นเมื่อความพยายามที่จะนำแป้นพิมพ์กลับมาอีกครั้งได้รับการอนุมัติ
2
อย่างไรก็ตาม เมื่อลาซาริดิสเริ่มหันมาคิดทบทวนเรื่องหน้าจอและซอฟต์แวร์ในที่สุด วิศวกรบางคนของเขากลับไม่อยากทอดทิ้งผลงานในอดีต ความล้มเหลวในการคิดทบทวนแพร่กระจายเป็นวงกว้าง ในปี 2011
พนักงานระดับสูงคนหนึ่งในบริษัทเขียนจดหมายเปิดผนึกถึงลาซาริดิสและซีอีโอร่วมของเขา "เราเคยหัวเราะแล้วบอกว่าพวกเขาพยายามจะเอาคอมพิวเตอร์มาไว้บนโทรศัพท์ แล้วก็เคยพูดด้วยว่ามันไม่ได้ผลหรอก" จดหมายฉบับนั้นเขียนไว้ "ตอนนี้เราช้าไป 3-4 ปีแล้ว"
ความเชื่อมั่นอาจทำให้เราติดอยู่ในกรงขังที่เราเป็นคนสร้างขึ้นมาเองวิธีแก้ไขไม่ใช่การลดความเร็วในการคิดของเรา แต่เป็นการเร่งความเร็วในการคิดทบทวนของเรา นี่คือสิ่งที่ชุบชีวิตแอปเปิ้ลจากบริษัทที่ใกล้จะล้มละลายให้กลายเป็นบริษัทที่มีมูลค่าสูงที่สุดในโลก
ตำนานการฟื้นฟูกิจการของแอปเปิลมักจะวนเวียนอยู่กับแค่เรื่องราวความอัจฉริยะของสตีฟ จ็อบส์ พวกเขาเล่ากันว่าความเชื่อมั่นและความชัดเจนในวิสัยทัศน์ของจ็อบส์ให้กำเนิดไอโฟนขึ้นมา แต่ความจริงแล้วเขาต่อต้านผลิตภัณฑ์ในหมวดหมู่โทรศัพท์มือถืออย่างรุนแรง พนักงานของเขาต่างหากที่มีวิสัยทัศน์ในเรื่องนี้ และก็เป็นความสามารถของคนเหล่านั้นที่เปลี่ยนแปลงความคิดของจ็อบส์จนพลิกฟื้นแอปเปิลได้อย่างแท้จริง
ถึงแม้จ็อบส์จะรู้วิธี "คิดต่าง" แต่ส่วนใหญ่แล้วพนักงานของเขานั่นแหละที่เป็นฝ่ายคิดทบทวน
โฆษณา