26 มี.ค. 2023 เวลา 16:51 • ปรัชญา
ผมชอบคำกล่าวที่ว่า
“We can only connect the dots backward!”
และ
3
“When you get lost, this means somethings or some places have been found!”
1
ทฤษฎีของผมมีอยู่ว่า
ในการใช้ชีวิตนั้น มันมีทั้ง
“ชีวิต” และ “ชีวา”
• “ชีวิต”
ในที่นี้ผมหมายถึง การใช้ชีวิตที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของ “ปัจจัยสี่”
และ “ปัจจัยสี่” ที่ได้แก่ อาหาร, เครื่องนุ่งห่ม, ที่อยู่อาศัย, และ ยารักษาโรค
ทั้งสี่คือ “ตัวแทน” ของ “ทรัพยากรพื้นฐาน” ในการดำรงชีวิต หรือ “living”
และชัดเจนว่า การเข้าถึงทั้งสี่ปัจจัยนั้น ส่วนใหญ่แล้วเราต้องใช้ “เงิน” เป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยน
ดังนั้น การใช้ชีวิตในการทำงานเพื่อให้ได้มาซึ่งเงิน และใช้เงินไปใช้จ่ายกับปัจจัยสี่คือ
“การใช้ชีวิตในภาคบังคับ”
เว้นเสียแต่ว่า คุณมี “ทรัพยากร” อื่นๆมากพอที่สามารถแปรเปลี่ยนไปเป็นปัจจัยสี่ได้โดยไม่ต้องใช้ “เงิน”
1
และแน่นอนว่า “ชีวิตการทำงาน” ของคนเราก็ต้องเผชิญ “คลื่นลมแห่งชีวิต” ไม่ว่าจะเป็นตัวแปรเรื่อง
-ความพึงพอใจในผลตอบแทน
-สิ่งแวดล้อมในการทำงาน
-หัวหน้าและเพื่อนร่วมงาน
-ฯลฯ
แน่นอนว่า “คลื่นลม” เหล่านี้ย่อมมีผลต่อการ “ใช้ชีวิต” และการตัดสินใจในการดำเนินชีวิตของคนเราอยู่ตลอดเวลา
• “ชีวา”
ในที่นี้ผมหมายถึง “ความสุขในการใช้ชีวิต” หรือ
“the love of living”
นั่นคือ “นิยามแห่งความสุขในการใช้ชีวิตที่คุณเป็นผู้นิยามเอง”
มันอาจหมายถึง “งานอดิเรก” หรือ “กิจกรรมสันทนาการ” ที่คุณ “เลือก” ที่จะทำมันเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตคุณด้วยตัวเอง โดยไม่มี “เงื่อนไข” ใดๆเพื่อให้ได้เข้าถึง “ปัจจัยสี่”
ด้วยความจงใจ
1
แต่ในขณะเดียวกัน
“งานอดิเรก” ของคุณ ก็อาจนำมาซึ่ง “รายได้ที่เป็นตัวเงิน” ที่คุณสามารถนำไปใช้แลกเปลี่ยนเป็นปัจจัยสี่
ได้ด้วย!
จะเห็นได้ว่า
การที่เราจะมี “ชีวิต” และ “ชีวา” ได้ครบถ้วนนั้น เป็นทั้งความสามารถและความท้าทายอย่างยิ่ง
ใครหลายๆคนอาจมีเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง
บางคนมี “ชีวิต” แต่ไม่มี “ชีวา” เพราะไม่รู้ว่าตัวเองชอบอะไร และอะไรคือ “ความสุข” หรือ ผมชอบเรียกว่า “ความรู้สึกเติมเต็ม” หรือ “fulfilment” ของตัวเอง
ในขณะที่บางคน มี “ชีวา” แต่เขาก็ยังไม่สามารถใช้ “ชีวิต” ได้อย่างครบถ้วน เพราะ “ชีวา” ของเขายังไม่อาจทำให้เขา “ดำรงชีวิต” ได้อย่างที่ควรจะเป็น
และนี่แหละครับ
ทั้ง “เวลา, โอกาส, และ ทรัพยากร” ก็เปรียบได้กับ “คลื่นลม” แห่งชีวิต ที่พร้อมจะ “พัดพา” คุณให้เคลื่อน “ออกนอกเส้นทาง” (off course)ได้ ตามระดับ “ความรุนแรง” ที่ถาโถมเข้ามาในแต่ละช่วงชีวิตของเรา
แต่ก็มีอีกคำกล่าวหนึ่งที่ว่า
“Things turn out best for the people who make the best of the way things turn out.”
-John Wooden,
ท่าน JW ผู้เป็น Coach ทีมบาสเกตบอลผู้เลื่องชื่อท่านนี้ ได้ให้คำตอบในการใช้ชีวิตไว้ได้อย่างงดงาม
มันเป็นการ “มองหาและสร้างโอกาส” เพื่อให้เราได้มี “ชีวิตชีวา” นั่นเอง!
ผมขอยกตัวอย่างที่เห็นชัดๆคือ
สมัยที่ Steve Jobs ยังเป็นนักศึกษาอยู่นั้น
เขาเองก็ไม่สามารถมองเห็น “Roadmap” ของชีวิตตัวเองได้ว่า หลังจากที่เขาเรียนจบ เขาจะนำสิ่งที่ได้เรียนมาไปสร้าง “ชีวิตชีวา” ให้กับตัวเองอย่างไร?
ถึงแม้เขายังคิดอะไรไม่ออก แต่เขาก็ได้ลงเรียนวิชา
“Typography”
ซึ่งพูดง่ายๆคือวิชาที่ว่าด้วย ทฤษฎีการออกแบบ “Fonts” นั่นเอง!
และแน่นอนว่า SJ ยังมองไม่ออกว่า เขาจะเอาความรู้จาก Typography ไปใช้ชีวิตอย่างไร!
และแล้ว!
เมื่อ SJ สร้าง Apple ขึ้นมาในโรงจอดรถเล็กๆ แถวๆ Palo Alto ใน California
วันหนึ่งเขาก็ได้ใช้ความรู้เรื่อง Typography มาออกแบบ “Fonts” ให้กับเครื่อง Mac ของเขา!
จาก “ชีวา” นำไปสู่ “ชีวิต”
ผมเองเป็นคนชอบศึกษาเรื่องรถยนต์มาตั้งแต่เด็กๆ
มันคือ “ชีวา” ของผม
ทุกวันนี้ผมเองก็ไม่ได้มี “ชีวิต” อยู่บนพื้นฐานของ “ชีวา” นี้แต่อย่างใด
แต่ “ประสบการณ์” ที่ผมได้จาก “ชีวา” นี้ ทำให้ผมมีฐานความรู้เพื่อที่จะได้นำไป “ใช้ชีวิต” จากวงการอื่นๆได้
มีอยู่วันหนึ่งช่วงปลายปี 2022
ผมเปิดทีวีในขณะที่ผมกำลังเตรียมอาหารให้กับ “พระในบ้าน” ของผมอยู่
ช่อง TNN ได้นำเสนอรายการเกี่ยวกับชีวิตของนักลงทุนระดับประเทศท่านหนึ่ง คือ
“คุณมี่”
ซึ่งผมมารู้ทีหลังว่า คุณมี่เคยเป็นพี่วินมอเตอร์ไซค์มาก่อน และเขามีผลการเรียนที่ไม่ดีนัก และจบเพียงชั้น ม.3 เท่านั้น!
เมื่อผมรู้เช่นนั้น ผมรู้สึกนับถือคุณที่เป็นอย่างมาก เพราะเขาต้องพยายามอย่างหนักหนาสาหัส ที่จะสร้างฐานความรู้เพื่อที่จะมาเป็น “นักลงทุนระดับหลายพันล้าน” ได้!
และผมเองซึ่งเรียนจบมามากกว่าระดับชั้นมัธยมต้น ก็สนใจการเป็น “นักลงทุน” ขึ้นมาทันที เพราะเส้นทางสายนักลงทุนแบบ Value Investors อาจนำมาซึ่ง
“ชีวิตชีวา”
ให้กับผมก็เป็นได้!
ผมจึงขอเปรียบเทียบประสบการณ์ในการศึกษาเรื่องรถยนต์ของผมกับการเริ่มศึกษาด้านการลงทุนดังนี้
1) “The Vocabularies”
ในแต่ละวงการก็จะมี “ศัพท์” เฉพาะในวงการนั้นๆ
-ในวงการรถยนต์ ผมจะเจอกับหลากหลายคำศัพท์ เช่น
“DOHC” หรือ Double Overhead Camshafts
ซึ่งหมายถึง เครื่องยนตร์ที่มี “เพลาลูกเบี้ยวราวลิ้น” สองอัน
อันหนึ่งใช้ควบคุม วาล์วไอดี ส่วนอีกอันใช้ควบคุมวาล์วไอเสีย
หรือ ชนิดของช่วงล่างรถยนต์ก็มีหลายแบบ เช่น
“Double Wishbones” หรือระบบกันสะเทือนแบบปีกนก
และระบบกันสะเทือนแบบ
“MacPherson struts”
-ในวงการลงทุนก็จะมีศัพท์เยอะแยะมากมาย เช่น
Asset Allocation, Asset classes, Financial institutions, Financial instruments
Portfolio construction, Portfolio management, Technical Analysis, Fundamental Analysis
พ.ร.บ. หลักทรัพย์ฯ
ฯลฯ
2) “The Ratios”
ratio ในที่นี้คือ “อัตราส่วน” ที่ใช้เป็น “ดัชนี” ในการชี้วัด “ความสามารถหรือคุณค่า” ของเป้าหมายที่เป็นจุดสนใจ
-ในวงการรถยนต์
หากคุณต้องการรู้ “สมรรถนะ” หรือ performance ของรถที่คุณสนใจอย่างง่ายๆ คุณก็สามารถพิจารณาสิ่งที่เรียกว่า
“Weight-to-Power” ratio
โดยการนำ นำ้หนักของตัวรถมาหารด้วยกำลังของเครื่องยนตร์ เช่น
รถหนัก 1,000 kg
เครื่องยนตร์ของรถมีกำลัง 250 kW
(หรือ แรงม้า ของเครื่องยนตร์)
ดังนั้น
W/P ratio ของรถคันนี้คือ
1,000/250 = 4
แปลความหมายได้ว่า
ทุกๆ 1 แรงม้าหรือกำลังของเครื่องยนตร์ 1 kW จะแบกนำ้หนักรถ 4 กิโลกรัม
นั่นคือ รถยนต์ที่มี W/P ratio ตำ่กว่า ก็น่าจะมี “พลัง” มากกว่านั่นเอง เพราะทุกๆ 1 แรงม้า จะแบกรับนำ้หนักของรถน้อยกว่า!
-ในวงการลงทุน
ก็จะมี “อัตราส่วน” ที่เป็นที่กล่าวถึงมากที่สุด เช่น ค่า “P/E”
P/E Ratio ย่อมาจากคำว่า "Price to Earning Ratio" หรือ "ราคาตลาดต่อกำไรสุทธิต่อหุ้น" คืออะไร? มีความสำคัญอย่างไรบ้างสำหรับนักลงทุน
P/E Ratio คืออะไร
P/E Ratio คือ อัตราส่วนเปรียบเทียบระหว่างราคาตลาดของหุ้นต่อกำไรสุทธิต่อหุ้น ที่บริษัททำได้ในรอบปีล่าสุด สามารถนำมาเปรียบเทียบได้ทั้งหุ้นรายตัว และสภาพตลาดโดยรวม
P/E Ratio สำคัญอย่างไร
ค่า P/E หรือ P/E Ratio สามารถใช้การประมาณการจุดคุ้มทุนให้กับนักลงทุนได้ ช่วยให้นักลงทุนมีข้อมูลในการตัดสินใจลงทุนในหุ้นได้แม่นยำมากขึ้น และสามารถประเมินความสามารถในการสร้างผลตอบแทนของบริษัทที่สนใจลงทุนเมื่อเปรียบเทียบกับราคาหุ้นที่ซื้อ
ใช้ค่า P/E Ratio ในการเลือกหุ้นได้อย่างไร
ยกตัวอย่างการประเมินผลตอบแทนของหุ้นโดยใช้การคำนวนหาค่า P/E เช่น หุ้น ABC มีราคาปัจจุบันอยู่ 20 บาท มีกำไรต่อหุ้นเท่ากับ 2 บาท ดังนั้น P/E เท่ากับ 10 เท่า ซึ่งสามารถคาดการณ์ได้ว่า หากนักลงทุนลงทุนในหุ้นตัวดังกล่าวที่ราคาหุ้น 20 บาท นักลงทุนจะได้ทุน 20 บาทคืนเมื่อถือหุ้น ABC ครบ 10 ปี นั่นเอง
หรือหมายความว่าหากอยากลงทุนแล้วได้เงินทุนคืนเร็วๆ ก็ควรซื้อหุ้นที่ค่า P/E ต่ำและขายหุ้นเมื่อหุ้นมีค่า P/E ที่สูงออกไป เป็นต้น
3) “The Curves”
-ในวงการรถยนต์
หากคุณต้องการทราบ “สมรรถนะ” ของเครื่องยนตร์ของรถแบบคร่าวๆ
“Performance curves”
ที่แกนนอนเป็น RPM หรือ อัตราเร็วรอบของเครื่องยนตร์ (Revolution per minute)
แล้วแกนตั้งสองแกน โดยแกนหนึ่งคือ แรงบิด หรือ “torque” และอีกแกนคือ แรงม้า หรือ กำลังเป็น kilowatts (kW) ของเครื่อง
กราฟนี้ช่วยให้คุณมองเห็นภาพของสิ่งที่เครื่องยนตร์สามารถตอบสนองแก่คุณได้
โดยถ้าเป็นผม
ผมชอบเครื่องยนตร์ที่มี performance curves แบบว่า
> ความชันของเส้นกราฟ ทั้ง torque และ แรงม้า มีความชันมาก และเส้นทั้งสองพุ่งสูงขึ้นไปเรื่อยๆ ไม่ตกลงมา และไม่หยุดไต่ โดยเฉพาะ ในย่าน RPM หรือ อัตราเร็วรอบต่ำๆ
เพราะ ณ อัตราเร็วรอบสูงๆ เครื่องยนตร์จะสึกหรอมาก!
-ในวงการลงทุน
ผลตอบแทนที่เป็นแกนตั้ง และแกนนอนที่เป็นค่าของเวลาในการลงทุน
คือกราฟที่นักลงทุนมักจับตามองเป็นอันดับต้นๆ
เป็นต้นว่า
Bond Yield คือ อัตราผลตอบแทนที่ได้รับจากการถือครองพันธบัตร
หลัก ๆ เราจะเจอรูปแบบ Yield Curve อยู่ 3 รูปแบบ คือ
1. Normal curve : Yield ของพันธบัตรระยะสั้น น้อยกว่า Yield ของพันธบัตรระยะยาว ซึ่งพบเจอได้ในสถานการณ์ปกติ หรือช่วงเศรษฐกิจแข็งแกร่ง
2. Inverted curve : Yield ของพันธบัตรระยะสั้น มากกว่า Yield ของพันธบัตรระยะยาว มักเกิดขึ้นในยามที่คนกังวลว่าเศรษฐกิจจะไม่ดี หรือมีการขึ้นอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นอย่างรวดเร็ว เพื่อประคับประคองเงินเฟ้อ หรือควบคุมอสังหาฯ ไม่ให้ฟองสบู่เกินไป
มนุษย์เราเชื่อว่า นี่เป็นสัญญาณ Recession ในอนาคตอันใกล้ 6-12 เดือนข้างหน้า โดยอิงจากข้อมูลสถิติ ซึ่งนาน ๆ ทีจะเกิดขึ้นสักครั้ง (แต่ใช้ไม่ได้กับทุกตลาด)
3. Flat curve : Yield ของพันธบัตรระยะสั้น เท่ากับ Yield ของพันธบัตรระยะยาว เกิดขึ้นในช่วงที่เศรษฐกิจเติบโตอย่างเต็มที่และเตรียมที่จะเข้าสู่ภาวะถดถอย เส้น Yield curve จาก Normal yield curve ที่กำลังเปลี่ยนเป็น Inverted yield curve จะต้องเกิด Flat yield curve ขึ้นก่อน หรือในทางตรงกันข้าม จากวิกฤต ก่อนพลิกไปเป็น steep (normal แบบ กราฟชันมาก ๆ)
โฆษณา