27 มี.ค. 2023 เวลา 03:20 • หุ้น & เศรษฐกิจ

แบงก์ใหญ่ในต่างประเทศทยอยกันล้ม หรือนี่คือวิกฤตครั้งใหม่? 😱💥

🔥ในช่วงระยะเวลาแค่ 1 เดือนที่ผ่านมา มีธนาคารใหญ่ ๆ ในอเมริกาล้มไปแล้วถึง 3 ธนาคารด้วยกัน ได้แก่ Silvergate Bank, Signature Bank และ Silicon Valley Bank หรือ SVB ซึ่งเป็นธนาคารที่ใหญ่ที่สุดใน 3 ธนาคารนี้
🥶SVB ใหญ่ถึงขั้นที่ว่า อเมริกามีธนาคารมาหลายร้อยปี แต่การล่มสลายครั้งนี้ใหญ่เป็นอันดับที่ 2 ในประวัติศาสตร์ มูลค่าความเสียหายประมาณ 2 แสนล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 7 ล้านล้านบาท และอาจนำไปสู่วิกฤตครั้งใหม่เหมือนปี 2008 (วิกฤตซับไพรม์ หรือวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์)
🚩เหตุการณ์เกิดขึ้นได้อย่างไร
🔥ย้อนกลับไปในปี 2020 ช่วงที่โควิด-19 เพิ่งเริ่มขึ้น ทำให้หลายประเทศต้องประกาศล็อกดาวน์ คนออกจากบ้านไม่ได้ ทำธุรกิจไม่ได้ แบงก์ชาติและรัฐบาลแต่ละประเทศจึงมี 2 ตัวเลือก คือ 1. ปล่อยไปตามกลไกธรรมชาติ, 2. เข้าแทรกแซง
🥶อเมริกาเลือกตัวเลือกที่ 2 เหมือนหลาย ๆ ประเทศ โดยแทรกแซงทั้งนโยบายการคลัง และการเงิน ในด้านนโยบายการคลังนั้นถูกแทรกแซงโดยรัฐบาล ด้วยการอัดฉีดเงินให้กับประชาชน และธุรกิจทั้งเล็กใหญ่
🔥ส่วนนโยบายการเงิน ธนาคารกลางสหรัฐ หรือ FED (Federal Reserve) ได้เข้าแทรกแซงโดยการลดดอกเบี้ยจนเหลือ 0% เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ
🥶ซึ่งการทำทั้ง 2 อย่างนี้ทำให้เงินเข้าไปสู่ระบบเป็นล้านล้านเหรียญสหรัฐ และสิ่งที่ตามมาก็คือ “ราคาทรัพย์สินเฟ้อ” (Asset Inflation) เนื่องจากคนที่มีความรู้ด้านการเงิน ก็จะนำเงินที่ได้มาไปซื้อทรัพย์สิน สังเกตได้จากในช่วงปี 2020-2021 ราคาทรัพย์สินต่าง ๆ ขึ้นสูงกันหมด ไม่ว่าจะเป็น ที่ดิน หุ้น คริปโตเคอร์เรนซี เป็นต้น เหตุมาจากที่คนจำนวนมากไม่อยากถือเงินสด เพราะมีอัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ 0%
🚩เกี่ยวกับ Silicon Valley Bank ยังไง
🔥SVB เป็นธนาคารที่ใหญ่อันดับ 16 ของสหรัฐอเมริกา เปิดมาแล้วถึง 40 ปี โดยความพิเศษของธนาคารแห่งนี้ คือ ลูกค้าส่วนมากเป็น “รายใหญ่” เช่น Start-Up, Ventures Capital ตัวอย่างลูกค้าเช่น Pinterest บริการแบ่งปันรูปภาพ และโซเชียลมีเดียชื่อดัง, Roku บริษัทสตรีมมิ่ง และ Circle บริษัทผู้ออกเหรียญ Stablecoin อย่าง USDC
🥶เวลาที่บริษัท Start-Up ระดมทุนได้ หมายความว่าบริษัทเหล่านั้นได้รับเงินมหาศาล โดยเงินที่ได้มาต้องนำไปใช้พัฒนาธุรกิจให้ดีขึ้น และจ่ายค่าจ้างพนักงาน เมื่อมีเงินมหาศาลจึงนำไปฝากธนาคารซึ่งธนาคารแห่งนั้นก็คือ Silicon Valley Bank นั่นเอง
🔥ประมาณปี 2020-2021 ธนาคาร SVB ได้เงินสดมามูลค่าประมาณ 2 แสนล้านเหรียญสหรัฐ (7 ล้านล้านบาท) ตัวธนาคารเองก็ไม่อยากเก็บเงินสดไว้เฉย ๆ เพราะอัตราดอกเบี้ยเป็น 0% จึงเลือกลงทุนในทรัพย์สินที่มีความเสี่ยงต่ำ นั่นก็คือ “พันธบัตรรัฐบาล” ระยะยาว 10 ปี มีดอกเบี้ยประมาณ 1.5%
🚩ปัญหาเริ่มเกิดขึ้นในปี 2022
🔥เมื่อเงินจำนวนมหาศาลถูกอัดฉีดเข้าไปในระบบ ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อเริ่มสูงขึ้น โดยอัตราเงินเฟ้อในสหรัฐอเมริกาค่อย ๆ ไต่ระดับจนไปถึงจุดสูงสุดที่ 9% ทำให้ FED มีความจำเป็นจะต้องขึ้นดอกเบี้ย
1
🥶โดย FED ค่อย ๆ ขึ้นดอกเบี้ยจนถึงระดับประมาณ 4.5% และเมื่อดอกเบี้ยสูงขึ้น ทำให้ความต้องการพันธบัตรรัฐบาลต่ำลง ส่งผลให้มูลค่าลดลงตามไปด้วย
🔥และด้วยดอกเบี้ยที่สูงขึ้นทำให้บริษัท Ventures Capital ลดการให้ทุนแก่บริษัท Start-Up บริษัทเหล่านั้นจึงจำเป็นต้องไปถอนเงินจากธนาคารมาใช้ ทำให้ธนาคาร SVB ยอมขายขาดทุนพันธบัตรระยะยาวที่ตนเองได้ซื้อไว้ก่อนหน้า เพื่อให้มีเงินสดมาคืนเมื่อลูกค้าต้องการถอนเงิน
🚩2 ตัวเร่งที่ทำให้ธนาคารล่มสลาย
1. งบการเงินของธนาคาร ระบุว่า ขาดทุนจากการขายพันธบัตรรัฐบาลประมาณ 1.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 6 หมื่นล้านบาท) เมื่อเห็นดังนั้นจึงเกิดความวิตก
1
2. ธนาคารต้องการระดมทุนเพิ่มด้วยการ ‘ขายหุ้นเพิ่ม’
🔥ทำให้ลูกค้าเกิดความไม่ไว้ใจ และแห่กันไปถอนเงินจนเกิดเหตุการณ์ที่เรียกว่า ‘Bank Run’ ส่งผลให้ SVB ล้มละลายจากการขาดสภาพคล่อง หลังจากประสบเหตุการณ์ Bank Run ได้เพียง 2 วัน
🥶หลายคนเชื่อว่าเหตุการณ์จะไม่ได้จบเพียงแค่นี้ เนื่องจากมีธนาคารอื่นที่ทำคล้าย ๆ กับ SVB จึงเกิดเป็นความกังวลว่า เรื่องนี้อาจเป็นชนวนที่ทำให้เกิดวิกฤตครั้งใหม่
🔥นอกจากนี้ ยังมีข่าวอีกว่า ธนาคารเครดิตสวิส (Credit Suisse) ซึ่งเป็นธนาคารอันดับต้น ๆ ของโลก อายุกว่า 170 ปี เกิดปัญหาคล้าย ๆ กัน ทำให้ UBS ซึ่งเป็นธนาคารที่ใหญ่ที่สุดของสวิตเซอร์แลนด์ ตกลงซื้อกิจการ Credit Suisse ที่มูลค่า 3 พันล้านฟรังก์สวิส (ประมาณ 1 แสนล้านบาท)
🚩จะกลายเป็นวิกฤตหรือไม่ และมีผลกับเราอย่างไร
🔥ในเรื่องของอนาคตนั้นไม่สามารถมีใครให้คำตอบที่แน่นอนได้ แต่ทั้งนี้โดยทั่วไปแล้วก็แบ่งออกเป็น 2 ความคิด คือ
1. ความเสียหายจะเกิดขึ้นเพียงเท่านี้ ไม่กระจายตัวต่อ
2. มีโอกาสเป็นวิกฤต ความเสียหายอาจแพร่กระจาย
🥶แต่ไม่ว่าเหตุการณ์จะออกมาในรูปแบบไหน สิ่งสำคัญก็คือ “คุณต้องมีความรู้ด้านการเงิน” เพราะคนที่รอดจากเหตุการณ์ไม่ว่าร้ายหรือดี เขาเหล่านั้นล้วนเป็นผู้ที่ “มีความรู้ด้านการเงิน”
1
ขอขอบคุณข้อมูลจาก FB: Paul Pattarapon พอล ภัทรพล
บทความโดย คุณานันต์ TECHTORO 💙❤️
👉อ่านเพิ่มเติมบนเว็บไซต์ได้ที่นี่:
#Techtoro #มากกว่าสินทรัพย์คือความรู้ #SVB #SiliconValley #Signature #Silvergate #CreditSuisse #Deutsche #Bank #Finance #Bankrun #Bankrupt #Crisis #FinancialCrisis #ธนาคารล้ม #การเงิน #ธนาคาร #วิกฤตการเงิน #วิกฤตธนาคาร
โฆษณา