29 มี.ค. 2023 เวลา 02:37 • การศึกษา

“เธอ” หรือ “เทอ” เอ๊ะ ! ยังไง

เข้าใจธรรมชาติของภาษา ที่มีการเปลี่ยนแปลง
ทั้งรูปแบบ “การเขียน” และ “การใช้”
.
ตามเงื่อนไขของแต่ละยุคสมัย โดยมีเงื่อนไขการใช้ภาษา คือ คนในสังคมเป็นผู้กำหนดทิศทางธรรมชาติของภาษา
.
ตัวอย่าง คำว่า “เทอ” กับ “เธอ” ที่หมายถึงบุรุษสรรพนามที่ 1 เมื่อก่อน “มีเพียงเธอ”
.
แต่พอเวลาผ่านไป ก็ “มีเทอ” เข้ามาแทรก (ดูเป็นรักสามเส้าอย่างไรงั้นอย่างนั้น ฮ่า ฮาา )
.
ปัจจัยของการมี “เทอ” สันนิษฐาน (ตามเราเอง)
อาจมาจากเราใช้สมาร์ทโฟน เป็นเครื่องมือสื่อสาร
แล้วไม่อยากกดปุ่มลูกศรสลับแป้นพิมพ์ เพื่อความรวดเร็ว และง่ายต่อการส่งข้อความ จึงนิยม “เทอ” มากขึ้น
.
ถ้า “เทอ” ใช้ในบริบท สื่อสารส่วนบุคคล อาจไม่ค่อยมีผลกระทบใจมากเท่าไหร่ เพราะยึด “พ้องเสียง” ไม่ได้เอาความหมาย ก็คงไม่เป็นไรมากหรอก
.
แต่ ”เทอ” ที่อยู่ใน ตัวอย่างข้อสอบ บทความ หรือ content ที่เผยแพร่ ตีพิมพ์ ต่อสาธารณะ ไม่น่าจะใช้ “เทอ”
ในความเห็นส่วนตัว
“เทอ” ไม่ได้มีความหมายเหมือนเช่น “เธอ” เลยนะ
จึงควรเขียนเป็น “เธอ” มากกว่า “เทอ” ตามบริบทการเขียนและรูปแบบระบบความหมายของภาษา
จะได้งามตาและสื่อว่าใช้ภาษาได้เป็นเห็นจะดีกว่า
โฆษณา