Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Brand Inside
•
ติดตาม
29 มี.ค. 2023 เวลา 03:06 • สุขภาพ
สธ.พบคนไทยติดหวาน จ่อปรับเกณฑ์สัญลักษณ์ทางเลือกความหวานต้องไม่เกิน 5%
จากสถิติของกระทรวงสาธารณสุขพบว่า คนไทยติดรสชาติหวานมากขึ้นทั้งอาหารและเครื่องดื่ม แต่ก็มีคนจำนวนไม่น้อยหันมาใส่ใจสุขภาพมากขึ้น เลือกลดความหวานจากเครื่องดื่มให้น้อยลง หรือ ใส่สารแทนความหวานจากน้ำตาลแทน ซึ่งนอกจากที่ผู้บริโภคจะปรับตัวแล้ว
โดยกระทรวงสาธารณสุข เตรียมขยับเกณฑ์ความหวานของผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มในประเทศไทยให้เป็นเกณฑ์มาตรฐานเดียวกัน ของการรับรอง “สัญลักษณ์ทางเลือกสุขภาพ” ลดปริมาณความหวานจากเดิมร้อยละ 6 เหลือร้อยละ 5 เทียบเท่ากับเครื่องดื่มชงหวานน้อยสั่งได้ เพื่อลดพฤติกรรมติดหวานและการมีสุขภาพที่ดีของประชาชน
ทางภาคธุรกิจ ภาครัฐเอกชน ก็มีการปรับตัวเช่นกัน ให้ความสำคัญในการผลิตผลิตภัณฑ์ที่เป็นทางเลือกของคนรักสุขภาพมากขึ้น
ซึ่งที่ผ่านมา สาธิต ปิตุเตชะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้ประกาศนโยบาย “หวานน้อยสั่งได้” และมอบให้กรมอนามัยขับเคลื่อน เพื่อลดปริมาณความหวานของร้านเครื่องดื่มชงลงเหลือร้อยละ 5 ส่งผลให้ในขณะนี้มีภาคธุรกิจแฟรนไชส์เครื่องดื่มรายใหญ่เข้าร่วมนโยบาย “หวานน้อยสั่งได้”จำนวน 27 แบรนด์ รวมทั้งร้านค้าที่เป็น Local brand ทั่วประเทศ อีกจำนวน 2,355 ร้าน
นอกจากนี้ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ในฐานะหน่วยงานที่มีบทบาทในการกำกับ ดูแล และส่งเสริมให้มีอาหารมีคุณภาพ ความปลอดภัย มีคุณค่าและสมประโยชน์เพื่อสุขภาพที่ดีของคนไทย ได้มีการดำเนินงานเกี่ยวกับการลดความเสี่ยงของการเกิดโรค NCDs ด้วยการสนับสนุนส่งเสริมการบริโภคอาหารที่ได้รับการรับรองสัญลักษณ์ “ทางเลือกสุขภาพ” ที่ปัจจุบันมีเกณฑ์การรับรองสัญลักษณ์ “ทางเลือกสุขภาพ” จำนวน 14 กลุ่มอาหาร และจำนวนผลิตภัณฑ์อาหารที่ได้รับการรับรองสัญลักษณ์โภชนาการทางเลือกสุขภาพมีจำนวน 2,749 ผลิตภัณฑ์ จาก 444 บริษัท
โดยสถานการณ์ประเทศไทยปี 2559-2563 พบว่า มีอัตราการเสียชีวิต เนื่องมาจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ซึ่งโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่เป็นสาเหตุการตาย 3 อันดับแรก ได้แก่ โรคมะเร็งทุกประเภท โรคหลอดเลือดสมอง และโรคหัวใจขาดเลือด คิดเป็นอัตราการเสียชีวิตเท่ากับ 123.3 47.1 และ 31.8 ต่อประชากรแสนคน ซึ่งสาเหตุหลักมาจากพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่มีความหวาน ความมัน และความเค็มมากเกินเกณฑ์ขาดการออกกำลังกาย เป็นต้น
เครื่องดื่ม
เบาหวาน
โรคอ้วน
2 บันทึก
10
3
2
10
3
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย