29 มี.ค. 2023 เวลา 03:22 • ประวัติศาสตร์
พนัสนิคม

รู้หมือไร่ ? ชุมชนในพนัสนิคม ถือเป็นชุมชนลาวที่มีอายุเกือบ200ปี!!!

โดยชาวลาวนั้นในพนัสนิคมก่อนหน้า ในตอนแรกมาจากเมืองนครพนม แต่หนีภัยและอพยพกันจำนวน 2000กว่าคน โดยมีแกนนำ คือ อุปฮาดเจ้าเมืองนครพนม อพยพกันลงมาสวามิภักดิ์แก่รัชกาลที่ 2 พระองค์จึงทรงโปรดให้ไปตั้งถิ่นฐาน ณ คลองมหาวงษ์ เมืองสมุทรปราการ และให้ลูกของอุปฮาดขึ้นเป็นพระยาปลัดเมืองสมุทรปราการ เพื่อไม่ให้ใครข่มเหงคนลาว จึงเรียกลาวกลุ่มนี้ว่า “ลาวอาสาปากน้ำ” ต่อมาในรัชกาลที่ 3 เนื่องด้วยเดิมเป็นที่เคยอยู่น้ำจืด เมื่อมาอยู่ปากน้ำที่เป็นน้ำกร่อย น้ำเค็ม นั้นจึงดำรงชีวิตลำบาก
จึงได้ย้ายถิ่นฐานไปยังเมืองพนัสนิคม รวมถึงให้บุตรของอุปฮาดขึ้นเป็นเจ้าเมืองพนัสนิคม ปัจจุบันอำเภอ พนัสนิคม ยังสะท้อนถึงประเพณี วัฒนธรรม ความเชื่อและวิถีชีวิต ที่แสดงให้เห็นรากเหง้าถิ่นกำเนิดที่มาไม่ว่าจะเป็น การรับประทานปลาร้าและการจักสานไม้ไผ่ อันเป็นของขึ้นชื่อ ตำนานพระรถ-เมรี ที่คนลาวเชื่อว่าเป็นบรรพชนของตน ผสมปนเปจนเรียกเมืองโบราณในสมัยทวารดี ว่า เมืองพระรถ
นอกจากนี้ยังมีการยังพบงานศิลปะต่างๆ ในที่นี้ขอยกตัวอย่าง หลวงพ่อติ้ว วัดหัวถนน ที่วัดสร้างขี้นมาตั้งแต่สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ประมาณ 180 กว่าปีที่แล้ว ตามประวัติการสร้างมีอยู่ว่า มีประชาชนชาวลาวเวียงจันทน์ได้อพยพมา ต่อมามีพระภิกษุ 2 รูป ซึ่งได้เดินธุดงค์มาจากนครเวียงจันทร์ เพื่อมาสืบหาพระพุทธรูปองค์หนึ่ง ซึ่งเป็นที่เคารพสักการะของชาวนครเวียงจันทร์ในสมัยนั้น โดยชาวลาวที่อพยพได้อัญเชิญมาด้วย พระพุทธรูปองค์นี้ คือ "หลวงพ่อติ้ว" ซึ่งเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยแกะจากไม้แต้ว (ชาวลาวเรียกไม้ติ้ว)
จนมาพบอยู่ที่หมู่บ้านกลาง ต.หัวถนน อ.พนัสนิคม ทั้ง 2 รูปจะอัญเชิญพระพุทธรูปกลับนครเวียงจันทร์ ประชาชนชาวลาวที่อพยพมาต่างก็ไม่ยอมคืน และขอร้องให้อยู่เป็นมิ่งขวัญชาวลาวที่อพยพมานี้ พระภิกษุทั้ง 2 รูปมีความเห็นใจ จึงไม่ได้อัญเชิญพระพุทธรูปกลับ แต่ได้ชักชวนชาวลาวที่อพยพให้ช่วยกันสร้างวัด เพื่อประดิษฐานพระพุทธรูปองค์นี้ จนสำเร็จเป็นวัดขึ้นมา แล้วต่างก็เรียกว่า “วัดใน“ ต่อมาก็เปลี่ยนชื่อเป็น “วัดศีรษะถนน“ และได้ขึ้นทะเบียนกับกรมศาสนาใช้ชื่อว่า “วัดหัวถนน“ มาตราบทุกวันนี้
โดยลักษณะหลวงพ่อติ้ว วัดถนน ในรูปคือองค์กลางที่มีขนาดเล็ก เป็นพระพุทธรูปที่แกะสลักด้วยไม้แต้ว เป็นวัสดุที่หาด้วยทั่วไป ช่างในพื้นถิ่นสามารถหาได้ อยู่ในท่าปางมารวิชัย ประทับนั่งบนฐานหน้ากระดานเว้า จากวัสดุที่เป็นไม้จึงอายุน่าจะยังไม่นานนัก รวมถึงเป็นการอพยพของลาวอาสาปากน้ำจึง คาดว่าอายุของหลวงพ่อติ้วน่าจะอยู่ในช่วงต้นถึงกลางพุทธศตวรรษที่ 24
โฆษณา