📍หน้าแดงมันมีขุย ศีรษะมีรังแคเยอะ อาจเกิดจากโรคผิวหนังอักเสบจากต่อมไขมัน

เซ็บเดิร์ม Seborrheic dermatitis ได้ครับ https://bit.ly/3X7AU47
เป็นโรคที่พบได้บ่อย มาทำความรู้จักกับโรคนี้กันครับ
🔬โรคผิวหนังอักเสบเซ็บเดิร์ม Seborrheic Dermatitis หรือโรคผื่นแพ้ต่อมไขมัน มีอีกหลายชื่อครับ เช่น โรครังแคบนใบหน้า โรคผื่นแพ้ต่อมน้ำมัน โรคผื่น ผิวหนังอักเสบบริเวณผิวมัน
-เป็นโรคผิวหนังเรื้อรังที่พบบ่อย เป็นเป็นหายหาย แม้จะไม่ใช่โรคติดต่อ อาการไม่รุนแรงมากนัก แต่ก็สร้างความลำบากใจให้กับคนไข้ได้ไม่น้อยครับ
-ผิวหนังมีอาการอักเสบจากต่อมไขมันใต้ผิวหนัง เกิดเป็นผื่นแดง อาจมีขุย หรือสะเก็ดสีขาว ดูคล้ายรังแค สะเก็ดสีเหลือง การอักเสบจะกินบริเวณเป็นวงกว้างโดยเฉพาะบริเวณที่มีต่อมไขมันมาก เช่น ใบหน้า (โดยเฉพาะหัวคิ้ว ข้างจมูก และหลังหู ) หนังศีรษะ ช่วงบนของหน้าอก หลังส่วนบน พบบ้างบริเวณรักแร้ สะดือ และขาหนีบ รวมทั้งมีอาการคัน ทั้งนี้ความรุนแรงของแต่ละคนไม่เท่ากัน
-เกิดได้กับคนทุกเพศทุกวัย
🧬สาเหตุ
การเกิดยังไม่แน่ชัดนัก โดยอาจเกี่ยวข้องกับ
🧬ปัจจัยภายใน
•เกิดจาก เชื้อรา Pityrosporum ovale หรือ เชื้อยีสต์ Malassezia furfur
•ฮอร์โมน ในร่างกายเกิดการเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะฮอร์โมนแอนโดรเจน
•ความผิดปกติของระบบประสาท ทำให้ต่อมไขมันผลิตไขมันออกมามากขึ้น
ความเครียด
พันธุกรรม
การตอบสนองต่อระบบภูมิคุ้มกันในแต่ละคน
🧬ปัจจัยภายนอก
สิ่งแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงของอากาศ เช่น อากาศร้อนจัด อากาศเย็นจัด
การสัมผัสกับสิ่งที่ระคายเคือง
***มักเป็นๆ หายๆ ตามปัจจัยกระตุ้นในแต่ละบุคคล เช่น อากาศ จึงจัดเป็นโรคผิวหนังเรื้อรัง มักไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่สามารถควบคุมอาการได้ถ้าได้รับการดูแลรักษาและดูแลผิวอย่างถูกต้องครับ ***
💊การรักษา
- ควรพบแพทย์เพื่อทำการรักษาให้ถูกวิธี โดยโรคนี้รักษาได้ไม่ยาก และมีการใช้ยาทาเพียง 1-2 ชนิดเท่านั้น ควบคู่ไปกับการปฏิบัติตนให้ถูกต้อง
**ไม่ควรไปซื้อยา สเตียรอยด์ (steroid) ทาเองนะครับโดยเฉพาะบริเวณใบหน้า เนื่องจากมีโอกาสที่จะได้รับสเตียรอยด์ที่มีความแรงสูง และเนื่องจากโรคนี้เป็นโรคที่เป็นเรื้อรัง จึงมีโอกาสเกิดผลข้างเคียงจากยาสเตียรอยด์ได้บ่อย**
-ควรหลีกเลี่ยงการใช้เครื่องสำอาง กรณีที่อยากแต่งหน้าปกปิดผื่นเซ็บเดิร์ม เป็นเรื่องที่ไม่แนะนำให้ทำ เพราะอาจไปกระตุ้นให้อาการแย่ลงหรือกลายเป็นผื่นชนิดอื่น เช่น การแพ้สัมผัสครีมหรือเครื่องสำอางบางตัว และอาจทำให้เกิดสิวได้อีกด้วย
•การใช้แชมพูสระผมช่วยดูแลเซ็บเดิร์มที่หนังศีรษะ https://youtu.be/bMGb6nJvyAI
-หลีกเลี่ยงสภาวะความเครียดและควรพักผ่อนให้เพียงพอ ควรหมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และดื่มน้ำเยอะๆ พยายามทำร่างกายให้แข็งแรง รวมถึงการเลือกผลิตภัณฑ์ดูแลผิวที่มีมาตรฐาน เลือกค่า PH ที่บอกความเป็นกรดด่างไม่ให้มากเกินไป หลีกเลี่ยงการใช้ครีมหรือเครื่องสำอางที่มัน และมีส่วนประกอบระคายเคืองผิว เช่น AHA หรือ วิตามินเอ สำหรับคนที่เป็นเซ็บเดิร์มบริเวณศีรษะ ควรใช้แชมพูสระผมที่ไม่ระคายเคืองหนังศีรษะ
-การรักษาโรคเซ็บเดิร์ม ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่เป็นโรคที่สามารถควบคุมอาการได้ เช่น การใช้ยาเพื่อควบคุมอาการ หากอาการทุเลาลงเป็นเวลา 1-2 ปี เนื่องจากการดูแลรักษาที่ถูกวิธี เมื่อเริ่มมีอาการเกิดขึ้นใหม่ ในกรณีที่เครียดหรือตกอยู่ในภาวะที่ไปกระตุ้นทำให้เกิดโรคขึ้นอีกครั้ง เมื่อรู้ตัวก็สามาถรรีบทายาเพื่อควบคุมอาการไม่ให้เกิดมากหรือลุกลามได้
💊การดูแลอื่นๆ
ไม่ใช้เครื่องสำอางทุกชนิดบริเวณที่เป็นโรค โดยเฉพาะคอนซีลเลอร์ หรือรองพื้นหนาๆ เพื่อปกปิดรอยผื่น เพื่อป้องกันการอุดตันของชั้นผิวหนัง และป้องกันการแพ้ สิวที่อาจเกิดขึ้นได้
หลีกเลี่ยงความเครียด
ดื่มน้ำมากๆ
พักผ่อนให้เพียงพอ
หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
เลือกผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวที่อ่อนโยน ไม่ระคายเคืองผิว
🔬Seborrheic dermatitis is a common skin condition that mainly affects your scalp. It causes scaly patches, inflamed skin and stubborn dandruff. It usually affects oily areas of the body, such as the face, sides of the nose, eyebrows, ears, eyelids and chest. This condition can be irritating but it's not contagious, and it doesn't cause permanent hair loss.
Wash your scalp regularly
If regular shampoo doesn't help with dandruff, try nonprescription dandruff shampoos. They are classified according to the active ingredient they contain:
* Pyrithione zinc (DermaZinc, Head & Shoulders, others), also sold as bar soap
* Selenium sulfide (Head & Shoulders, Selsun Blue, others)
* Ketoconazole 1% (Nizoral A-D)
* Tar (Denorex Extra Strength, DHS Tar, others)
* Salicylic acid (Denorex, DHS Sal, others)
How often you shampoo or apply other antifungal products will depend on your hair-grooming practices and symptoms. Medicated shampoos can be used once a day or 2 to 3 times a week for
several weeks. After your symptoms clear up, use a medicated shampoo just once a week or once every two weeks. This will help prevent a relapse. Shampoo that contains tar or selenium sulfide can discolor light-colored hair.
Sometimes a shampoo that has helped loses its effectiveness over time. If that's the case, try alternating between two or more types. Be sure to leave your shampoo on for the full recommended time — this allows its ingredients to work. Then rinse. These shampoos may be rubbed gently on the face, ears and chest and rinsed off well.
#ผิวหนังอักเสบเซ็บเดิร์ม #เซ็บเดิร์ม #ผิวหนังอักเสบเรื้อรัง #หน้าแดง #รังแค #คันศีรษะ #รักษาผิวหนังอักเสบ #drsuparuj #rujreview #demedclinic
#หมอรุจชวนคุย 👨‍⚕️😉🔬
โฆษณา