31 มี.ค. 2023 เวลา 00:03 • การศึกษา
การศึกษาภาคบังคับของไทยคือ ป.1 – ม.3 ค่ะ เมื่อก่อนนู๊นแค่ ป.6 ด้วยซ้ำ เพิ่งขยายให้เป็น ม.3 เมื่อประมาณ 20 กว่าปีมานี้เอง เพื่อป้องกันขัดขวางการใช้แรงงานเด็ก
ในอดีต เด็กๆเรียนรู้ทักษะอาชีพจากพ่อแม่ผู้ปกครอง พ่อแม่ประกอบอาชีพใด ลูกๆก็ทำได้แค่นั้น และยิ่งถ้าเป็นครอบครัวที่ฐานะยากจน คนรุ่นต่อๆมาก็แทบไม่มีโอกาสลืมตาอ้าปาก ดังนั้นการศึกษาจึงเป็นโอกาสให้สามารถขยับฐานะความเป็นอยู่
นี่พยายามเดาความหมายที่แฝงอยู่ในคำถามของเจ้าของกระทู้ อนุมานได้ดังนี้
– กำลังอยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ อยู่บนทางเลือกว่าจะเรียนต่อหรือหยุดเรียน-ออกมาทำงาน หรือจะเรียนต่อสายอาชีพ
– กำลังเรียน ม.ปลาย เรียนหนักจนสมองเหนื่อยล้า จนรู้สึกสงสัยในเป้าหมายต่อไปว่าการเข้ามหาลัยจะตอบโจทย์ชีวิตได้จริงหรือ
– มองไม่เห็นประโยชน์ของการศึกษา มองไม่ออกจริงๆว่าการศึกษาจะเปลี่ยนชีวิตได้อย่างไร
– อาจเห็นตัวอย่างคนที่ไม่ได้เรียนแต่ประสบความสำเร็จ หรือเห็นคนที่เรียนตามระบบแต่ชีวิตก็ยังลุ่มๆดอนๆ
ไม่แปลกใจเลยที่เจอคำถามแบบนี้บ่อยมาก เพราะระบบการศึกษาของไทยมันก็ชวนกังขาจริงๆนั่นแหละ อีกทั้งในปัจจุบันก็มีผู้ใหญ่หลายคนที่มักออกมาพูดจาด้อยค่าการเรียนการศึกษา ถ้ามองอย่างเป็นกลาง..ทุกคนก็พูดตามชุดประสบการณ์ของตัวเองทั้งนั้น คนที่เรียนหนังสือ-ทำงานทำการ-ชีวิตดีขึ้น ก็จะสนับสนุนการเรียน แต่คนที่ไม่ประสบความสำเร็จในชีวิตก็จะโทษการเรียน เด็กๆเยาวชนก็สับสนกันไป!!
1
หลายเรื่องในชีวิต กว่าที่เราจะเข้าใจมันก็ต้องใช้เวลา ต้องลองผิดลองถูก ฯลฯ แต่ไม่ว่าจะเรียนหรือไม่เรียน หากชีวิตยังย่ำแย่ ยังไม่ดีอย่าที่ฝัน อย่าโทษการเรียนหนังสือค่ะ
1
โฆษณา