31 มี.ค. 2023 เวลา 02:17 • สุขภาพ

Heat stroke ร้อนตาย!!! คืออะไร มารู้จักกัน

เห็นข่าวคุณชนม์สวัสดิ์ อัศวเหม เสียชีวิต จาก heat stroke วันนี้เลยอยากมาเล่าสู่กันฟังเรื่องอันตรายของการอยู่ในสิ่งแวดล้อมในช่วงนี้
2
ก่อนอื่นต้องขอแสดงความอาลัยกับครอบครัวด้วยนะคะ
1
อันนี้มีอยู่จริง เคยทุกปี ปีละหลายคน
ยิ่งช่วงนี้อุณหภูมิประเทศไทยเรียกได้ว่าอากาศดี....ดีที่ไม่ตาย
2
คืออากาศร้อนขึ้นมากใกล้เคียงการซ้อมตกนรก
กลไกการเกิดโรค มีดังนี้
เมื่อร่างกายอยู่ในสภาวะที่ร้อนเกินไป ร่างกายจะพยายามปรับตัวโดยไม่ให้อุณหภูมิร่างกายสูงตามมาด้วย เริ่มจากระบบประสาทของเราส่งคำสั่งไปยัง หลอดเลือด ให้เกิดการขยายตัว ต่อมเหงื่อ เพื่อผลิตเหงื่อเพิ่มขึ้น และเพิ่มความต้องการหาที่เย็นๆ เช่น ไปอาบน้ำ หรืออยู่ในที่ร่มๆ เหล่านี้ก็เพื่อระบายความร้อนออกจากร่างกาย
2
ถ้าอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่อุณหภูมิสูง ร่างกายจะปรับตัวโดยให้เลือดไปเลี้ยงยังผิวหนังและกล้ามเนื้อเพิ่มขึ้น ส่วนเรื่องที่มาเลี้ยงอวัยวะภายในนั้นก็จะลดลง
1
ปัญหาจะเกิดก็ตรงนี้แหละ เลือดมาเลี้ยงผิวหนัง กล้ามเนื้อเยอะมากกก จนเลือดไปเลี้ยงยังอวัยวะภายในต่างๆเหล่านั้นไม่เพียงพอ เช่น ไปเลี้ยงตับไม่พอ ตับก็จะบาดเจ็บ รุนแรงมากๆ ก็ตับวาย (จริงๆ ต้องเรียกว่า ร้อนตับวาย ไม่ใช่ร้อนตับแลบ)
ถ้าไปเลี้ยงไตไม่พอ ก็จะไตวาย ไปเลี้ยงสมองไม่พอ ก็จะเกิดภาวะการรับรู้เสียไป
2
ถ้าสาเหตุการล้มเหลวของอวัยวะแบบนี้ เกิดจากความร้อน เราจะเรียกว่า "Heat stroke" หรือ ภาษาไทย เรียกว่าโรคลมร้อน นั่นเอง
“Heat stroke” จะวินิจฉัยเมื่อ อุณหภูมิภายในของร่างกาย (core body temp) > 40 c (คนเราสภาวะปกติไม่มีไข้จะอยู่ที่ 36.5-37.5 c) จะวัดแบบนี้ต้องใช้ปรอทเสียบก้นนะคะ
เอามือไปทาบที่วัดอุณหภูมิ หรือ เอาปืนวัดอุณหภูมิมายิงหน้าผาก คือ เชื่อถือไม่ได้เลยยยย ในการวินิจฉัยภาวะนี้
พอวัดอุณหภูมิสูง ก็มาดูว่ามี อาการทางสมอง เช่น ซึม สับสน หลงๆก๊งๆ ไปจนถึง coma และชัก ที่เคยเจอจากคนไข้ทหารเกณฑ์ ก็จะบอกว่า เดินๆอยู่ ก็เดินออกนอกแถว หรือ อยู่ๆก็พูดไม่รู้เรื่องขึ้นมาซะงั้น หลังจากนั้นไม่นาน ก็จะเป็นมากขึ้น
อาการแสดงอื่นๆเช่น รู้สึกเพลียๆ เหนื่อยๆ ปวดหัว หายใจถี่ หัวใจเต้นเร็ว
ข้อสังเกตที่น่าสนใจคือ คนไข้กลุ่มนี้ ถ้าจับตัวจะพบว่าผิวแห้ง ไม่มีเหงื่อ (ร่างกายไม่ระบายเหงื่อ ความร้อนจึงคั่งภายใน) แต่จับดูจะรู้สึกตัวร้อนๆ ผิวแดงขึ้น ปัสสาวะไม่ออก หรือออกลดลง
Heat stroke ไม่ใช่แค่ ฝึกทหารกลางแจ้ง หรือวิ่งมาราธอน หรือทำกิจกรรมกลางแดดนานๆ แต่จริงๆ แต่ละปี มีคนที่ไม่ได้ทำอะไรหนัก ก็เป็น heat stroke ได้ ที่สำคัญ ตายเยอะด้วยเพราะความที่ไม่ได้คิดถึงภาวะนี้
1
คนที่มีความเสี่ยงเช่น ในคนสูงอายุที่โรคประจำตัวเยอะๆ กลุ่มที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ค่อยได้ นอนติดเตียง หรือคนที่ ไม่ค่อยออกกำลังกาย เพราะกลุ่มคนเหล่านี้จะมีความผิดปกติของการระบายความร้อนออกจากร่างกาย (หลอดเลือดทำงานไม่เก่ง หดขยายปรับตัวช่วยร่างกายไม่เก่ง)
1
ดังนั้น ดูง่ายๆ ว่าใครบ้างที่มีความเสี่ยงต่อการเกิด Heat stroke
1
- โรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเบาหวาน
- โรคอ้วน อันนี้ตัวแสบเลย ยิ่งอ้วนๆไม่ค่อยได้ออกกำลัง ไปทำอะไรตากแดด ร้อนๆนานๆ ต้องระวัง
- คนที่ไม่ค่อยชอบออกกำลังกาย (ร่างกายไม่เคยชินกับการปรับตัว)
- ผู้สูงอายุ หรือ เด็กอายุน้อย เพราะช่วยเหลือตัวเองได้น้อย
- สภาพแวดล้อม: อุณหภูมิสูง ความชื้นสูง อากาศไม่ถ่ายเท ใส่เสื้อผ้าหน้ามิดชิดที่ไม่ระบายเหงื่อ ออกกำลังเยอะ
- ผู้ป่วยที่ทานยาบางชนิดที่มีผลต่อการขับเหงื่อ เช่น ยาแก้แพ้อากาศ
- คนที่มีภาวะขาดน้ำ คือ กินน้ำน้อย นั่นเอง
7
ทำอย่างไรถ้าเจอคนที่สงสัยเป็น Heat stroke
อย่างที่บอกว่าภาวะนี้อันตรายมาก ทำให้ coma หรือ ไตวาย อวัยวะภายในเสียหายได้เลย ดังนั้นถ้าเลี่ยงความเสี่ยงต่างๆที่เล่าให้ฟังไปได้ถือเป็นการป้องกันอันดับแรก แต่ถ้าไปเจอคนที่คิดว่าน่าจะเป็น heat stroke ล่ะ??
1
- รีบโทร 1669 เรียกรถพยาบาล หรือพาผู้ต้องสงสัยนั้นไป รพ. ที่ใกล้ที่สุด
ปฐมพยาบาล ระหว่างรอรถมารับ ดังนี้
- ถ้ามีเสื้อผ้าหนาๆ พยายามเปิดเสื้อผ้า หรือถอดออกเพื่อระบายอากาศให้ได้มากที่สุด
- หาน้ำเย็นๆ หรืออาจเป็นน้ำแข็งก็ได้ช่วยกันเช็ดตัวของผู้ป่วยเพื่อช่วยลดอุณหภูมิลง ถ้าหาไม่ได้ ก็เอาน้ำอะไรก็ได้ ที่ไม่ใช่น้ำร้อน มาเช็ดๆๆๆตัว พร้อมกับเอาพัดลมเป่า ให้น้ำระเหย (คือให้น้ำช่วยพาความร้อนออกจากตัวคนไข้นั่นเอง)
ตามรักแร้ ข้อพับ ก็ต้องเช็ดเยอะเป็นพิเศษ**
1
- ศีรษะ เป็นอีกอย่างที่ต้องให้เย็นไวๆ รีบเอาผ้าเช็ดตามหน้า ตามหัว เอาพัดลมเป่าๆๆๆหัว ถ้าได้น้ำแข็ง ก็รีบโปะหัวด้วย เพราะสมองใกล้สุกมากแล้ว
1
- อย่าพยายามให้ผู้ป่วยกินอะไรตอนนี้ ถ้าเค้าไม่รู้เรื่อง จะพาลสำลักเอาได้
1
-----
นอกจาก heat stroke แล้ว “ความสุก” นี้ก็ยังส่งผลอื่นๆจากร่างกายได้ ไม่ว่าจะเป็น
- Heat rash ผื่นแดงคันขึ้นตามตัว มักเกิดในบริเวณใต้เสื้อผ้า เกิดจากการอักเสบเฉียบพลันของต่อมเหงื่อ
- Heat edema เกิดจากหลอดเลือดขยายจนตอนยืนเลือดพากันไปคั่งที่ปลายขา ทำให้เห็นขาสองข้างบวมตึงขึ้น
- Heat syncope หรือลมแดด อันนี้เห็นกันบ่อยๆ
- Heat cramp เจ็บแบบตะคริวกินอย่างนั้นเลย เกิดจากการหดเกร็งตัวของกล้ามเนื้อฉับพลัน ภาวะนี้อาจมีการสลายของกล้ามเนื้อได้ แนะนำว่าต้องรีบไป รพ. เพื่อตรวจเพิ่มเติมนะคะ (หมอเคยเจอ heat cramp เป็นช่างซ่อมรถกลางแจ้ง ซ่อมๆอยู่ปวดเกร็งขาแต่ไม่ได้มารักษา มาอีกทีไตวายเฉียบพลัน เพราะกล้ามเนื้อสลาย ของเสียในเซลล์กล้ามเนื้อไปทำร้ายไต)
1
- Heat exhaustion อาการคล้ายๆ heat stroke เหมือนกัน เป็นเหนื่อยๆเพลียๆ หัวใจเต้นเร็ว หายใจถี่ แต่จะแตกต่างกันตรงที่ร่างกายยังระบายเหงื่อได้ คนไข้จะเหงื่อชุ่มๆ ตัวร้อนๆ และไม่มีอาการทางระบบประสาท เช่น ซึม สับสน และเช่นเดียวกัน เป็นแบบนี้ก็ควรมา รพ. นะคะ เพราะถ้าปล่อยไว้นานๆร่างกายขาดน้ำจะเป็นอันตรายได้จ้า
1
ดังนั้น ช่วงนี้ กินน้ำให้พอ เลี่ยงการอยู่ที่ร้อนๆนานๆ (ซึ่งก็เลี่ยงอยู่แล้ว) แล้วอย่าลืมมองดูคนที่มีความเสี่ยง ให้พยายามปฏิบัติตัวลดความเสี่ยงกันนะคะ
Cr รพ รามาธิบดี
โฆษณา