31 มี.ค. 2023 เวลา 06:07 • ข่าว
กรุงเทพมหานคร

#ชนม์สวัสดิ์ อัศวเหม เสียชีวิต จาก#Heat stroke#รู้จักโรค#ป้องกัน

#เอ๋ ชนม์สวัสดิ์ ถูกนำตัวส่งโรงพยาบาลบุรีรัมย์ด่วน เมื่อช่วงบ่าย 30 มี.ค. 66 หลังมีอาการวูบ หมดสติ ด้วยภาวะฮีทสโตรก หรือ โรคลมแดด
2
คุณชนม์สวัสดิ์ อยู่ในอากาศร้อนจัด ขณะซ้อมแข่งรถยนต์ ที่สนามช้างอินเตอร์เนชันแนล เซอร์กิต จังหวัดบุรีรัมย์ จึงป่วยเป็น Heat stroke
2
ซึ่งโรค Heat stroke หรือภาษาไทยเรียกว่า “โรคลมร้อน” เป็นภาวะหรือโรคที่ทำให้เกิดอันตรายถึงแก่ชีวิต
1
#อาการที่ต้องคิดถึงโรคนี้
มีอะไรบ้าง
1. วัดอุณหภูมิได้สูงกว่า 40.5 องศาเซลเชียส
2. มีอาการปวดหัว ปวดเมื่อย หน้ามืด เพลีย อ่อนล้า อาจพบว่าหมดสติ
3. มีชัก เพ้อ พูดจาสับสน
4. มีการเคลื่อนไหวผิดปกติเช่นเดินโซเซ ถามตอบช้าหรือพูดไม่รู้เรื่อง
5. มีผิวหนังตามตัวเป็นสีแดง เพราะต่อมเหงื่อไม่สามารถขับเหงื่อออกได้
6. ปัสสาวะออกมาเป็นสีเข้ม คล้ายสีบรั่นดีหรือสีแดงเลือดหมู จากภาวะ"ไมโอโกลบินนูเรีย(myoglobinuria)”หรือเส้นใยกล้ามเนื้อตายและสลายจำนวนมาก
#เป็นโรคที่พบได้ในต่างประเทศในเขตร้อนชื้น เช่น บังคลาเทศ อินเดีย อินโดนีเซีย อาฟริกา และอื่น ๆ พบโรคนี้มานานแล้ว
👉ในประเทศไทยเดิมพบไม่มากแต่ปัจจุบันเริ่มพบโรคนี้มากขึ้นเรื่อย ๆ จากภาวะดินฟ้าอากาศที่แปรปรวน จนเกิดอากาศร้อนจัด
อากาศในไทยมักค่อย ๆ ไต่ระดับสู่ความร้อนทีละเล็กละน้อย ครั้งละ 1-2 องศาเซลเซียส จาก 35 องศาฯ เป็น 36 องศาฯและจาก 36 องศาฯ เป็น 37 องศาฯ จะไม่เพิ่มขึ้นจาก 35 องศาฯ ทีเดียวไปเป็น 40 องศา ทำให้คนไทยค่อยๆ ปรับตัวกับอากาศร้อนจึงปลอดภัย
อย่างไรก็ตามต้องรู้จักโรคนี้ไว้แล้วเพราะพบคนไทยตายจากโรคนี้ก็ไม่น้อยแล้ว โดยในช่วง 5-6 ปีที่ผ่านมาพบในกลุ่มทหารฝึกหัดที่ต้องฝึกกลางแดด
กลุ่มเสี่ยงที่ต้องระวังอีกก็คือ ทารก เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ หรือคนที่มีความพิการทางสมอง ทางจิตประสาทแปรปรวน หรือเป็นโรคบางอย่างที่ช่วยเหลือตัวเองหรือปรับตัวเองให้เข้ากับอากาศร้อนได้ไม่ดี
นอกจากเรื่อง อุณหภูมิ หรือ ความร้อนของอากาศ ภาวะหรือโรคนี้ขึ้นกับความชื้นในอากาศด้วย
#ความร้อนชื้น สำคัญมาก
👉ถ้าเหงื่อระเหยระบายความร้อนออกไม่ได้ จะทําให้ความร้อนจริงที่ร่างกายสัมผัสอยู่สูงมากขึ้น เช่น ต้องทำกิจกรรมอยู่กลางแดด เล่นกีฬา ในที่ ๆ มีลมร้อนจัด อากาศอ้าว เหงื่อไม่ระเหย..จะอันตรายยิ่งขึ้น
#ข้อควรปฏิบัติถ้าสงสัยว่าจะเกิดโรค Heat stroke
มาดูการแบ่งความรุนแรงโรคนี้ก่อน
แบ่งได้ 4 ระดับดังนี้
1) แดดเผาแล้วเกิดผิวบวม แดง ลอก
2) ระดับที่สอง เริ่มเกิดตะคริวตามน่อง กล้ามเนื้อหน้าท้อง
3) เพลียรุนแรง ใกล้จะช็อก ตัวเย็นชืดชื้น ชีพจรเร็วเบา เป็นลม อาเจียน แต่อุณหภูมิร่างกายยังปกติ
4) Heat stroke ซึ่งเป็นภาวะวิกฤติรุนแรง และฉุกเฉิน
อุณหภูมิร่างกายอาจขึ้นสูงถึง 41 องศาเซลเซียส ผิวจะแห้ง ร้อน ชีพจรเร็ว แรง คนไข้อาจหมดสติ จนถึงขั้นเสียชีวิต เพราะสมองไม่สามารถตอบสนองหรือทำงานได้ต่อไป
ถ้าเป็นระดับที่ 4 ต้องนำส่งคนไข้เข้ารักษาในโรงพยาบาลโดยด่วนอย่างเดียวเลย เพราะการดูแลลดอุณหภูมิ ให้สารน้ำ ดูการทำงานของอวัยวะสำคัญ คือ ไต หัวใจ สมอง ต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ค่ะ
ส่วนระดับ 1-3 การปฐมพยาบาลขั้นต้น เน้นสองข้อ คือ ลดอุณหภูมิ และ ระบายความร้อนก่อน
*ส่วนการให้น้ำ ทำได้แค่การจิบน้ำ และต้องระมัดระวังด้วย
- ให้ประคบเย็นตามซอกตัว เช็ดตัว พัดลมระบายความร้อน
- นอนราบ ยกเท้าสูง หลบ แดด ผึ่งลม ประคบเย็น
- และจิบนํ้า
ต้องระวัง ถ้าอาการหนักมาก การใช้นํ้าเย็นอาจทําให้เกิดตะคริวท้อง ให้นอนราบหรือตะแคง หากมีอาเจียนร่วมด้วย เพื่อป้องกันไม่ให้สำลักอาหารลงปอด
ข้อสำคัญ
👉การดื่มนํ้าจะทําให้เกิดอันตรายได้ กลับเป็นข้อเสีย ต้องระมัดระวัง ให้แค่"จิบน้ำ"ในระดับ 3
โดยเฉพาะถ้ามีอาการในระดับ 4 ห้ามให้นํ้าดื่มเด็ดขาด เพราะจะเกิดอันตรายรุนแรงเสียชีวิตได้
#วิธีป้องกันการเกิดโรคนี้
การป้องกันไม่ให้เกิด heat stroke ไม่ยากและมีประโยชน์มาก คือ หลีกเลี่ยงการทำงานหรือการออกกำลังกลางแจ้งในช่วงเวลากลางวันที่แดดร้อนจัด เช่นตอนเที่ยง
และควรหลบเข้าที่ร่ม ดื่มน้ำ และพัดลม หริอระบายความร้อน ไม่ให้เกิดภาวะ heat stroke จนระบบการควบคุมความร้อนของร่างกายเสีย จนไม่สามารถกลับคืนปกติได้
รายละเอียดควรศึกษาเพิ่มเติม ตามลิ้งค์ที่ฝากไว้ด้านล่างค่ะ
อ้างอิง

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา