Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
อยู่เย็นเป็นสุข
•
ติดตาม
31 มี.ค. 2023 เวลา 08:20 • ถ่ายภาพ
ฮีตสโตรก ภาวะที่ร่างกายอุณภูมิสูงกว่า 41 องศา จนทำให้อวัยวะทำงานล่ม
…….
ภาวะอุณหภูมิของร่างกายสูงขึ้น หรือ hyperthermia เป็นภาวะที่เสี่ยงต่อชีวิต ยิ่งในอากาศร้อเช่นนี้ ต้องควรป้องกันไว้มาก โดยภาวะ hyperthermia มีหลายประเภทได้แก่
1. เป็นตะคริว หรือที่เรียกว่า Heat cramps เป็นภาวะที่เราสูญเสียเกลือแร่ออกจากร่างกาย กล้ามเนื้อเกร็งตัว
2. ลมแดด หรือ Heat exhaustion ภาวะที่ร่างกายมีอุณภูมิสูงถึง 40 องศา มีอาการ ร่างกายเริ่มขาดน้ำ หัวใจเต้นเร็ว
3. ผดร้อน หรือ heat rash เกิดจากเหงื่อออกมาก ในภาวะที่อากาศอบอ้าว ทำให้เกิดการระคายเคืองผิวหนังได้ มักจะพบผดขึ้นตาม รอยพับศอก ใต้ราวนม หน้าอก และลำคอ
4. Heat stress หรือภาวะร่างกายเครียดจากการเจอภาวะร้อนนานๆ
5. ฮีตสโตรก เป็นภาวะขั้นสุดของ hyperthermia เมื่อร่างกายไม่สามารถควบคุมอุณภูมิได้ จนอุณหภูมิภายในสูงกว่า 41 องศา ขึ้นไปภายในเวลา 10-15 นาที จนทำให้ระบบการทำงานของอวัยวะต่างๆล่ม
อุณหภูมิของร่างกาย ถูกควบคุม ผ่านสมองส่วนไฮโปทาลามัส (hypothalamus) เมื่อเราตากแดดเป็นเวลานานๆ จนเกิดภาวะ hyperthermia สมองส่วนนี้จะทำงานรวน ทำให้ไม่สามารถส่งสัญญาณไปควบคุมการทำงานของร่างกายตามปกติได้
อวัยวะต่างๆ ก็ต้องทำหน้าที่ของมันเองแบบไร้การควบคุม จนขาดสมดุล เส้นเลือดขยายตัวมากขึ้น ทำให้ความดันตก ร่างกายขาดน้ำ ทำให้เลือดแห้งและเกาะตัวเป็นลิ่ม ส่งผลต่อระบบการทำงานของหัวใจสูญเสียการทำงาน สารเคมีของร่างกายพวก ไซโตไคม์ เป็นกลุ่มโปรตีนขนาดเล็ก ซึ่งสำคัญในการส่งสัญญาณของเซลล์ ที่เก็บไว้ ถูกปลดปล่อยออกมาอย่างมากมายทำให้ไตเสื่อม จนส่งผลต่อชีวิต
วิธีป้องกัน
1. จิบน้ำบ่อย เพื่อลดการสูญเสียน้ำ
2. จิบเกลือแร่ เพื่อลดการสูญเสียเกลือแร่
3. พยายามเลี่ยงการทำกิจกรรมกลางแดดร้อนๆ เป็นเวลานาน
4. พยายามเช็ดหน้าเช็ดตัวด้วยน้ำเย็นเพื่อระบายความร้อน
5. สวมเสื้อผ้าที่โปร่ง โล่ง ไม่อึดอัด เพื่อช่วยระบายความร้อน
1
ที่มา
https://my.clevelandclinic.org/health/diseases/22111-hyperthermia
https://edition.cnn.com/2017/07/24/health/heat-stroke-explainer/index.html
2 บันทึก
8
6
2
8
6
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย