Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ลงทุนแมน
ยืนยันแล้ว
•
ติดตาม
3 เม.ย. 2023 เวลา 02:55 • หุ้น & เศรษฐกิจ
ทำไม หุ้นแต่ละตัว มี P/E ไม่เท่ากัน ?
หลายคนอาจจะรู้จักค่า Price-to-Earnings หรือ P/E ที่เป็นอัตราส่วนง่าย ๆ ที่นักลงทุนนิยมใช้ประเมินมูลค่าหุ้น
ยกตัวอย่างบริษัทที่เราคุ้นเคย
- ปตท. P/E 10 เท่า
- โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ P/E 35 เท่า
- ซีพี ออลล์ P/E 42 เท่า
จะเห็นว่า บริษัทเหล่านี้ มี P/E ที่แตกต่างกันพอสมควรเลยทีเดียว
แล้วเคยสงสัยไหมว่ามันมีปัจจัยอะไรบ้าง ที่ทำให้หุ้นแต่ละตัว มี P/E ไม่เท่ากัน ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
Price-to-Earnings หรือ P/E คือการนำเอาราคาหุ้น หารด้วย กำไรต่อหุ้นของบริษัท
หรือคิดอีกอย่างได้ คือ มูลค่าตลาด หารด้วย กำไรสุทธิ
1
ซึ่งความหมายของ P/E หมายถึง นักลงทุนยอมซื้อหุ้นนั้น เป็นกี่เท่าของกำไร
1
ปกติแล้ว หากนักลงทุนให้ค่ากับหุ้นตัวนั้น ๆ ก็มักจะสะท้อนมายังค่า P/E ที่สูงตามไปด้วย
กลับกัน หุ้นที่นักลงทุนไม่ให้ค่า หุ้นนั้นก็มักจะได้ P/E ที่ต่ำ
แล้วอะไรที่ทำให้หุ้นแต่ละตัวมี P/E ไม่เท่ากันบ้าง ?
1. อุตสาหกรรมของบริษัท
ยกตัวอย่าง กลุ่มอุตสาหกรรมที่มักมี P/E สูง เช่น กลุ่มโรงพยาบาล และกลุ่มค้าปลีก
เพราะเป็นอุตสาหกรรมที่ทนทานต่อภาวะเศรษฐกิจได้เป็นอย่างดี ทำให้ผลประกอบการไม่ได้ผันผวนมากนัก แม้ว่าเศรษฐกิจจะดีหรือไม่ดีก็ตาม
โดยการเจ็บป่วย หรือแม้แต่อุบัติเหตุนั้นก็เป็นสิ่งที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ คนก็จำเป็นต้องใช้บริการโรงพยาบาลอยู่ดี
หรืออย่างค้าปลีกที่เกี่ยวข้องกับการอุปโภคบริโภคสินค้าพื้นฐาน ที่คนต้องกินต้องใช้อยู่ทุกวัน
หรือการที่โมเดลธุรกิจค้าปลีกมักมีวงจรเงินสดติดลบ
พูดง่าย ๆ ว่า ติดหนี้เจ้าหนี้การค้าได้นาน แต่เก็บเงินลูกค้าได้ไว ส่งผลให้บริษัทมีกระแสเงินสดที่ดี
ซึ่งก็ทำให้กลุ่มค้าปลีกมักมี P/E ที่สูงได้เช่นกัน
2. การคาดหวังการเติบโตของกำไรในอนาคต
หุ้นที่ถูกคาดหวังว่าจะเติบโตในอนาคต ก็มักจะมี P/E สูงกว่าบริษัทอื่น
ซึ่งถ้าบริษัทสามารถเติบโตได้จริง ก็จะทำให้ในอนาคต P/E จะลดลง จากการที่กำไรเติบโตขึ้น
ยกตัวอย่างเช่น บริษัท A มีกำไรต่อหุ้น 1 บาท และมี P/E 30 เท่า
ซึ่งหากบริษัท A มีกำไรเติบโตที่ 30%
แสดงว่า หากนำมาเทียบกับราคาหุ้นปัจจุบันแล้ว
P/E ในอนาคต จะลดลงมาเหลือ 23 เท่า
แต่อย่าลืมว่า ถ้าการเติบโตในอนาคตไม่เป็นไปตามการคาดการณ์ของนักลงทุน หุ้นตัวนั้น ๆ ก็อาจจะถูกลด P/E จากการที่ราคาหุ้นปรับตัวลดลง เพราะถูกเทขายได้เช่นกัน
3. คุณภาพของบริษัท
โดยคุณภาพของบริษัท ไม่ว่าจะเป็น
- เป็นผู้นำในอุตสาหกรรม
- สิทธิบัตร
- แบรนด์สินค้าและบริการ
- มีองค์ความรู้ยากที่จะเลียนแบบ
- มีอำนาจในการต่อรองกับลูกค้า และซัปพลายเออร์
- มีการประหยัดต่อขนาด (Economies of Scale)
- ความสามารถของผู้บริหาร
1
สิ่งเหล่านี้เอง ที่ทำให้บริษัทมีความได้เปรียบในการแข่งขันเหนือกว่าคู่แข่ง ซึ่งก็มักจะถูกสะท้อนไปยัง P/E ของหุ้นที่สูงขึ้นด้วย
4. สภาพคล่องการซื้อขายหุ้น
เนื่องจากกองทุน นักลงทุนต่างชาติ หรือแม้กระทั่งนักลงทุนรายใหญ่ มีปริมาณการซื้อขายค่อนข้างสูง
ซึ่งหากซื้อหุ้นที่มีสภาพคล่องต่ำ จะมีการซื้อขายลำบาก
ทำให้หุ้นที่มีสภาพคล่องสูง มักจะมี P/E มากกว่าหุ้นสภาพคล่องต่ำด้วย
แต่ต้องหมายเหตุว่า ในบางครั้งหุ้นสภาพคล่องต่ำ แล้วถูกไล่ซื้อ หรือคอร์เนอร์ ก็ทำให้ราคาหุ้นขึ้นไปสูงได้เช่นกัน
มาถึงตรงนี้ เราก็คงเข้าใจกันมากขึ้นแล้วว่า ทำไมหุ้นแต่ละตัวถึงมี P/E ไม่เท่ากัน
อย่างไรก็ตาม ที่กล่าวมานั้นอาจเป็นเพียงสาเหตุส่วนหนึ่งเท่านั้น เพราะในตลาดหุ้น ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่เราอาจยังไม่รู้อีกมาก..
เปิดบัญชีหุ้นกับ Finansia ที่มีชื่อเสียงในการจัดสรรหุ้น IPO ให้กับลูกค้า หากเราอยากลงทุนซื้อหุ้น ร่วมเป็นเจ้าของกิจการในตลาดหุ้นไทย เราสามารถเปิดบัญชี Finansia ง่าย ๆ อนุมัติไวภายใน 8 นาที คลิกได้ที่ลิงก์
bit.ly/FinansiaxLongtunman
หุ้น
การเงิน
การลงทุน
28 บันทึก
40
16
28
40
16
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย